สาวรับรางวัลใหญ่ 1.59 ล้าน แต่จ่ายภาษี 3 แสน เปิดโปงเล่ห์จากบริษัท ความซวยของผู้โชคดี

           สาวรับรางวัลไปชมโอลิมปิกที่ปารีส ทั้งตั๋วเครื่องบินชั้นธุรกิจ ทั้งตั๋วเข้าชมพิธีปิด ทั้งเงินติดตัว รวมมูลค่ากว่า 1.59 ล้าน แต่พอไปสืบจริงกับพบว่า ของรางวัลทั้งหมดไม่น่าเกิน 5 แสนบาท หนักไปกว่านั้น ทุกอย่างกลายเป็นรายได้ เธอต้องควักเงินจ่ายภาษีอีก 300,000 บาท จนคนมาบอกเล่ห์บริษัท ทำไมต้องตั้งราคาของรางวัลสูงเกินจริง
ลดหย่อนภาษีบริษัท
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

           ในชีวิตนี้หลายคนคงจะมีความใฝ่ฝันถึงการรับรางวัลใหญ่ เป็นผู้โชคดีจากการชิงโชคของรางวัล แต่หารู้ไม่ว่า อีกด้านของการเป็นผู้โชคดีนั้น เราต้องรับหน้าที่จ่ายภาษีเอง และยิ่งรางวัลใหญ่มากเท่าไร เรายิ่งต้องเสียภาษีมากขึ้นไปเท่านั้น เช่นเดียวกับเรื่องราวล่าสุด ที่มีคนหนึ่งมาเล่าในกลุ่ม พวกเราคือผู้บริโภค เมื่อเธอได้รับรางวัลใหญ่ไปดูมหกรรมกีฬาโอลิมปิก มูลค่ารางวัลกว่า 1.59 ล้านบาท แต่กลับพบว่า ราคานี้ไม่ใช่ราคาจริง แถมเธอยังต้องเสียภาษีไปอ่วม ๆ อีก 300,000 บาท

           ทั้งนี้ ผู้ใช้เฟซบุ๊กท่านหนึ่ง ได้ออกมาเผยว่า เธอเป็นผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลใหญ่จากบัตรเครดิตของธนาคารหนึ่ง ให้เข้าร่วมชมมหกรรมกีฬาโอลิมปิกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในวันที่ 8-12 สิงหาคม 2567 รวมมูลค่ารางวัลกว่า 1.599 ล้านบาท ทั้งหมด 1 รางวัล ต่อ 2 ท่าน ประกอบด้วย

           - ตั๋วเครื่องบินไปกลับ กทม.-ปารีส ชั้นธุรกิจ 2 ที่นั่ง

           - ที่พัก 5 วัน 4 คืน พร้อมอาหารเช้า 2 ท่าน


           - บัตรเข้าชมพิธีปิดโอลิมปิกเกมส์ 2 ที่นั่ง

           - บริการรถรับ-ส่ง สนามบิน, รถรับ-ส่ง สำหรับเดินทางไปกลับ สถานที่จัดงาน, บัตรรถท่องเที่ยวปารีส
TootBus Prepaid Card ราคา 400 ยูโร จำนวน 1 แพ็กเกจสำหรับ 2 ท่าน

           - ไม่รวมค่าธรรมเนียมการยื่นขอวีซ่าเชงเก้นและประกันการเดินทาง

           - ธนาคารช่วยออกภาษี ณ ที่จ่าย 5% (แม้ธนาคารจะออกให้ แต่ถือเป็นเงินได้ของผู้โชคดี และต้องนำมาคิดภาษีทีหลัง)

ลดหย่อนภาษีบริษัท
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

           อย่างไรก็ตาม ทางธนาคารได้ขอสำเนาบัตรประชาชนเพื่อนำไปออกภาษีหัก ณ ที่จ่าย และให้เธอเอาไปยื่นภาษีนิติบุคคลต่อไป

           จากนั้น เธอได้ทำการตรวจสอบราคาของของรางวัลทั้งหมด และพบว่า มีการตั้งมูลค่าของของรางวัลแพงกว่าที่ราคาจริงไปมาก เช่น ตั๋วเครื่องบินของการบินไทย ชั้นธุรกิจ 2 คนอยู่ที่ 150,000 บาท, ค่าโรงแรม 40,000 บาท, ตั๋วบัตรชมพิธีปิดโอลิมปิก 30,000 บาท, ตั๋วขึ้นรถบัสชมเมืองไม่เกิน 50,000 บาท บัตรของขวัญ 400 ยูโร คือ 16,000 บาท รวมเบ็ดเสร็จแล้วไม่เกิน 500,000 บาท

           เมื่อเป็นแบบนี้ เธอจึงไปสอบถามกับธนาคารว่าธนาคารจะยื่นภาษีเป็นราคาจริง (500,000 บาท) หรือยื่นภาษีราคาโฆษณา (1.5 ล้านบาท) และขอให้ธนาคารช่วยแจกแจงของรางวัลว่าแต่ละอันราคาเท่าไร แต่ธนาคารกลับไม่สามารถแจกแจงออกมาได้ ยืนยันว่าจะยื่นภาษีเป็นราคา 1.5 ล้านบาท และจำนวนนี้คือเป็นเงินก่อนภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ธนาคารออกให้ด้วย หากรวมกับภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% จะเท่ากับว่ามูลค่าจริงที่เธอได้รับคือ 1,683,466.32 บาท

           หากยื่นภาษีราคานี้ เท่ากับว่า เธอในฐานะผู้โชคดี จะมีรายได้ต่อปีเพิ่มขึ้น และเธอต้องเอาไปรวมกับรายได้ส่วนบุคคล และเสียภาษีบุคคลธรรมดาอีก 300,000 กว่าบาท หากเป็นคนที่ไม่มีรายได้ประจำจะเสียภาษีเพิ่มราว ๆ 100,000-200,000 บาท

           เรื่องนี้ทำให้เธอเกิดข้อสงสัย ว่าในเมื่อรางวัลที่เธอได้รับ ไม่ตรงกับมูลค่าของจริง ทำไมต้องโดนภาษีส่วนบุคคลเกินจริงด้วย ซึ่งของรางวัลนี้เธอเลือกจะรับหรือไม่รับก็ได้ และเป็นอุทาหรณ์เตือนใจให้คนที่คิดว่าเป็นผู้โชคดี รับรางวัลใหญ่ แต่สุดท้ายควักเนื้อตัวเองจ่ายภาษีอ่วม

คนออกมาเผยทริก ทำไมบริษัท - ห้างร้านต่าง ๆ ต้องตั้งมูลค่าของรางวัลเกินจริง ทำมานาน เพิ่งรู้มีแบบนี้ด้วย


           อย่างไรก็ตาม ได้มีคนเข้ามาบอกว่า การชิงโชคใด ๆ ต้องมีเลขจดจับ และในเลขจดจับจะมีการอธิบายของรางวัลพร้อมมูลค่า ไม่ว่าจะราคาไหน บริษัทต้องแจ้งสรรพากรด้วยตาราคาทุน ทุกอย่างสามารถตรวจสอบและขอข้อมูลได้ ในกรณีนี้ที่เธอมองว่าราคาของของรางวัลแพงกว่ามาก ให้ติดต่อสำนักงานเขตที่ออกเลขจดจับเพื่อสอบถามรายละเอียด หากผิดจริงและไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ผู้โชคดีสามารถฟ้องได้และอาจจะได้มากกว่า และมีคนมาบอกว่า อาจจะเป็นไปได้ที่ธนาคารไปจ้างเอเจนซี่ให้ทำ และราคาทุนนั้นคือยอดที่เอเจนซี่ส่งมา

           ในขณะที่บางคนก็บอกว่า นี่คือเทคนิคการลดหย่อนภาษีของบริษัท โดยการตั้งราคาของรางวัลสูง ๆ เพื่อนำไปเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัท เมื่อยื่นภาษี บริษัทก็จะยื่นภาษีน้อยลง และภาษีที่ต้องจ่ายนั้น ก็จะถูกผลักมาเป็นภาระของผู้โชคดีที่ต้องจ่ายภาษีแทน

           ในขณะที่อีกคนได้ออกมาบอกเช่นกันว่า เธอเคยได้รับกระเป๋าเดินทาง 1 ใบเป็นรางวัลจากบัตรเครดิต ส่งพัสดุมาให้เธอที่บ้าน ซึ่งเมื่อถึงตอนที่ยื่นภาษี ก็ขึ้นรายการทันทีว่า มีรายได้ 2,950 บาท ทั้งที่มูลค่าของกระเป๋าไม่น่าเกิน 500-800 บาทและ เหตุที่ธนาคารตั้งมูลค่าของรางวัลสูงเกินจริง เพื่อนำไปหักค่าใช้จ่ายในบริษัท แต่ผลักภาระภาษีให้ให้เสียเงินเกินจริงมาที่ผู้ได้รับรางวัลแทน

ลดหย่อนภาษีบริษัท

ลดหย่อนภาษีบริษัท

ลดหย่อนภาษีบริษัท

ลดหย่อนภาษีบริษัท


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สาวรับรางวัลใหญ่ 1.59 ล้าน แต่จ่ายภาษี 3 แสน เปิดโปงเล่ห์จากบริษัท ความซวยของผู้โชคดี อัปเดตล่าสุด 12 มิถุนายน 2567 เวลา 10:00:15 59,604 อ่าน
TOP
x close