เปิดเหตุผลที่ชาวนาไม่เอาปุ๋ยคนละครึ่ง ขอเรียกร้องโครงการเดิม ไร่ละ 1,000 บาท ด้านนายกฯ แจงเหตุผล ปุ๋ยคนละครึ่งดีกว่ายังไงบ้าง
หนึ่งในกลุ่มอาชีพที่รัฐบาลต้องดูแลด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ นั่นคือ กลุ่มอาชีพชาวนา เพราะข้าวถือเป็นผลผลิตหลักในการส่งออก สร้างรายได้ต่อประเทศ แต่ในตอนนี้รัฐบาลกำลังเผชิญกับคำวิจารณ์จากชาวนา หลังจากเตรียมคลอดมาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ข่าวช่องวัน รายงานว่า มีการสรุปถึงโครงการดังกล่าวว่า ทำไมโครงการปุ๋ยคนละครึ่งถึงถูกวิจารณ์เป็นวงกว้าง
ตอนนี้รัฐบาลมีโครงการเดิมที่ดีอยู่แล้วคือ ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ไร่ เท่ากับว่า จะได้เงินรวมสูงสุดประมาณ 20,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้จะไปเป็นต้นทุนในการซื้อของเพื่อลงทุนปลูกข้าวต่อไป
ส่วนโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ชาวนามองว่า แต่ละคน แต่ละพื้นที่จะมีการใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป รวมถึงการซื้อปุ๋ยก็ต้องไปซื้อปุ๋ยที่เข้าร่วมโครงการ ก็ไม่รู้ว่าจะใช่ปุ๋ยในสเป็คที่ต้องการไหม อีกข้อหนึ่งที่สำคัญคือ ชาวนาต้องออกเงินค่าปุ๋ยก่อนครึ่งหนึ่ง ทั้งที่ชาวนาไม่มีเงินสด และโครงการปุ๋ยก็ได้เงินน้อยกว่าโครงการเดิม
ที่ประชุม ครม. มีการเสนอความเห็นในมุมต่าง ๆ หลังจากถูกต่อต้าน จนนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจว่า เอาโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพราะโครงการเดิม ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท เป็นโครงการที่ช่วยในช่วงภาวะวิกฤตราคาข้าวตกต่ำที่ 7-8 พันบาทต่อตัน ปัจจุบันราคาข้าวดีขึ้นแล้ว ก็ใช้โครงการปุ๋ยคนละครึ่งมาทดแทน เพื่อช่วยลดต้นทุน ส่งผลดีต่อระยะยาวมากกว่าในแง่ผลผลิต และมีการพูดคุยกับหลายภาคส่วนแล้ว
หนุ่ม อนุวัต ผู้สื่อข่าวช่องวัน อธิบายถึงสถานการณ์ในตอนนี้ว่า สาเหตุที่ชาวนาวิจารณ์โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินสดครึ่งหนึ่งในการซื้อปุ๋ย แต่ในความจริงคือ ชาวนาไม่มีเงิน ฉะนั้นโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาทตอบโจทย์มากกว่า และเคยชินมากกว่า
นอกจากนี้ การให้ข่าวของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการ ทำให้ชาวนาสับสนว่า ตกลงจะโครงการไหนกันแน่ เพราะนายกรัฐมนตรีบอกไว้ว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่งเอามาแทนโครงการไร่ละ 1,000 บาท แต่ถ้าหากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหรือเกิดภัยพิบัติ โครงการไร่ละ 1,000 บาท ก็สามารถนำกลับมาได้อีกครั้ง
สิ่งที่ชาวนากังวลอีกอย่างหนึ่งคือ โครงการที่ออกมา จะทันกับช่วงที่ผลผลิตออกหรือไม่ รวมถึงไม่มั่นใจแน่คุณภาพของปุ๋ยในโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ว่าจะมีคุณภาพเหมือนที่ตัวเองซื้อไหม
ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า เบื้องต้นโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง จะมีงบประมาณรวม 2.9 หมื่นล้านบาท โดยช่วยเหลือเกษตรกรไม่เกินครัวเรือนละ 500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาท รวมมูลค่าปุ๋ยทั้งหมดไม่เกิน 20,000 บาท เชื่อว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง จะช่วยให้เงินถึงมือเกษตรกรได้มากกว่าโครงการแจกเงิน 1,000 บาท
ส่วนโครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละ 20,000 บาท โครงการนี้จะใช้เงินในการดำเนินโครงการ 5.6 หมื่นล้านบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน, ฐานเศรษฐกิจ
หนึ่งในกลุ่มอาชีพที่รัฐบาลต้องดูแลด้วยการออกมาตรการช่วยเหลือมากเป็นพิเศษ นั่นคือ กลุ่มอาชีพชาวนา เพราะข้าวถือเป็นผลผลิตหลักในการส่งออก สร้างรายได้ต่อประเทศ แต่ในตอนนี้รัฐบาลกำลังเผชิญกับคำวิจารณ์จากชาวนา หลังจากเตรียมคลอดมาตรการปุ๋ยคนละครึ่ง
วันที่ 10 กรกฎาคม 2567 ข่าวช่องวัน รายงานว่า มีการสรุปถึงโครงการดังกล่าวว่า ทำไมโครงการปุ๋ยคนละครึ่งถึงถูกวิจารณ์เป็นวงกว้าง
ทำไมชาวนาถึงไม่เห็นด้วย
ตอนนี้รัฐบาลมีโครงการเดิมที่ดีอยู่แล้วคือ ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ไร่ เท่ากับว่า จะได้เงินรวมสูงสุดประมาณ 20,000 บาท ซึ่งเงินก้อนนี้จะไปเป็นต้นทุนในการซื้อของเพื่อลงทุนปลูกข้าวต่อไป
ส่วนโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ชาวนามองว่า แต่ละคน แต่ละพื้นที่จะมีการใช้ปุ๋ยแตกต่างกันไป รวมถึงการซื้อปุ๋ยก็ต้องไปซื้อปุ๋ยที่เข้าร่วมโครงการ ก็ไม่รู้ว่าจะใช่ปุ๋ยในสเป็คที่ต้องการไหม อีกข้อหนึ่งที่สำคัญคือ ชาวนาต้องออกเงินค่าปุ๋ยก่อนครึ่งหนึ่ง ทั้งที่ชาวนาไม่มีเงินสด และโครงการปุ๋ยก็ได้เงินน้อยกว่าโครงการเดิม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
ครม. ถกด่วนเอายังไงต่อ
ที่ประชุม ครม. มีการเสนอความเห็นในมุมต่าง ๆ หลังจากถูกต่อต้าน จนนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตัดสินใจว่า เอาโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพราะโครงการเดิม ช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาท เป็นโครงการที่ช่วยในช่วงภาวะวิกฤตราคาข้าวตกต่ำที่ 7-8 พันบาทต่อตัน ปัจจุบันราคาข้าวดีขึ้นแล้ว ก็ใช้โครงการปุ๋ยคนละครึ่งมาทดแทน เพื่อช่วยลดต้นทุน ส่งผลดีต่อระยะยาวมากกว่าในแง่ผลผลิต และมีการพูดคุยกับหลายภาคส่วนแล้ว
หนุ่ม อนุวัต ผู้สื่อข่าวช่องวัน อธิบายถึงสถานการณ์ในตอนนี้ว่า สาเหตุที่ชาวนาวิจารณ์โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เพราะเป็นโครงการที่ต้องใช้เงินสดครึ่งหนึ่งในการซื้อปุ๋ย แต่ในความจริงคือ ชาวนาไม่มีเงิน ฉะนั้นโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวไร่ละ 1,000 บาทตอบโจทย์มากกว่า และเคยชินมากกว่า
นอกจากนี้ การให้ข่าวของรัฐบาลเกี่ยวกับโครงการ ทำให้ชาวนาสับสนว่า ตกลงจะโครงการไหนกันแน่ เพราะนายกรัฐมนตรีบอกไว้ว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่งเอามาแทนโครงการไร่ละ 1,000 บาท แต่ถ้าหากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำหรือเกิดภัยพิบัติ โครงการไร่ละ 1,000 บาท ก็สามารถนำกลับมาได้อีกครั้ง
สิ่งที่ชาวนากังวลอีกอย่างหนึ่งคือ โครงการที่ออกมา จะทันกับช่วงที่ผลผลิตออกหรือไม่ รวมถึงไม่มั่นใจแน่คุณภาพของปุ๋ยในโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง ว่าจะมีคุณภาพเหมือนที่ตัวเองซื้อไหม
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
หลักการปุ๋ยคนละครึ่ง ช่วยสูงสุด 10,000 บาทต่อครัวเรือน
ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า เบื้องต้นโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง จะมีงบประมาณรวม 2.9 หมื่นล้านบาท โดยช่วยเหลือเกษตรกรไม่เกินครัวเรือนละ 500 บาทต่อไร่ ไม่เกิน 20 ไร่ หรือไม่เกิน 10,000 บาท รวมมูลค่าปุ๋ยทั้งหมดไม่เกิน 20,000 บาท เชื่อว่า โครงการปุ๋ยคนละครึ่ง จะช่วยให้เงินถึงมือเกษตรกรได้มากกว่าโครงการแจกเงิน 1,000 บาท
ส่วนโครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละ 20,000 บาท โครงการนี้จะใช้เงินในการดำเนินโครงการ 5.6 หมื่นล้านบาท
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่องวัน, ฐานเศรษฐกิจ