ดราม่า ฟังบรรยายเรื่องการเงิน ขึ้นหัวข้อ อายุเท่านี้ ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ วัย 45 ควรต้องมี 7.5 ล้าน ชาวเน็ตแห่เมนต์เอกฉันท์ ความจริงทำได้ไหม
หากพูดถึงเรื่อง การเก็บเงิน เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ใช้ชีวิตในวัยเริ่มทำงานอาจจะหลงลืมและไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากมีภาระหลายอย่างต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว จนมองว่าการเร่งให้มีเงินเก็บจำนวนมากนั้นเป็นเรื่องไกลตัวพอสมควร
วันที่ 9 กันยายน 2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Truss Atthachon เผยภาพช่วงหนึ่งขณะมีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการเงิน หัวข้อเรื่อง "อายุเท่านี้ ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่" ซึ่งระบุว่าคนที่อายุ 25 ปี มีเงินที่ควรออม จำนวน 210,000 บาท ส่วนคนวัย 45 ปี มีเงินที่ควรออม จำนวน 7,590,000 บาท เลยทีเดียว
หลังภาพนี้ถูกเผยแพร่ไป ปรากฏว่ากลายเป็นไวรัลที่มีการแชร์ไปกว่า 5.7 พันครั้ง โดยส่วนใหญ่ต่างมองว่าสูตรคำนวณดังกล่าวดูจะทำจริงได้ยาก เนื่องจากไม่ค่อยสมเหตุสมผล เช่น อัตราเงินเดือนเริ่มต้น ส่วนใหญ่ยืนยันว่าในช่วงปีแรก ๆ ที่ทำงานได้เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาทแน่นอน
นอกจากนี้ ที่หลายคนมองว่าไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงคือ ไม่มีการบวกเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเข้าไปด้วย รวมทั้งฐานเงินเดือนที่นำมาอ้างอิงก็ไม่สามารถใช้อ้างได้กับทุกอย่างชีพ มันอาจจะไม่ตรงกับความจริงตั้งแต่เริ่ม ไหนจะเรื่องอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย จึงทำให้ผลลัพธ์ยิ่งไปไกลจนเกินตามทัน ดังนั้นที่อ้างว่าอายุ 45 ควรมีเงินเก็บ 7.5 ล้าน มันอาจแทบเป็นไปไม่ได้
จากการตรวจสอบต้นทางของการคำนวณเงินดังกล่าว
มีการอธิบายโดยอ้างอิงเงินเดือนเริ่มต้น จากรายงาน Thailand Salary Guide
2022 ของ Adecco Thailand โดยมีสูตรคำนวณเงินออมดังนี้
2 x (อายุตอนนี้ – อายุที่เริ่มทำงาน) x (เงินเดือนตอนนี้ + เงินเดือนที่เริ่มทำงาน) = จำนวนเงินที่ควรออม
ตัวอย่างเช่น
นาย A ทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 10,000 บาท
ตอนนี้ A อายุ 35 ปี เงินเดือน 40,000 บาท
ดังนั้น เงินเก็บที่ A ควรจะมี = 2 x (35 – 22) x (40,000 + 15,000) = 1,300,000 บาท
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสูตรคำนวณเงินออมด้านบนจะเป็นหลักสากลที่เหล่านักวางแผนการเงินใช้คำนวณให้ลูกค้า ประกอบไปด้วย อายุตอนนี้, อายุที่เริ่มทำงาน, เงินเดือนตอนนี้ และ เงินเดือนตอนที่เพิ่งเริ่มทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนเงินออมของทุกคนย่อมต้องแตกต่างกันไปตามสายอาชีพ ดังนั้นจึงไม่ควรกดดันตัวเองเกินไป และใช้ไว้เพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายในการออมเงินคร่าว ๆ เพียงเท่านั้น
หากพูดถึงเรื่อง การเก็บเงิน เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ใช้ชีวิตในวัยเริ่มทำงานอาจจะหลงลืมและไม่ได้ให้ความสำคัญมากนัก เนื่องจากมีภาระหลายอย่างต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว จนมองว่าการเร่งให้มีเงินเก็บจำนวนมากนั้นเป็นเรื่องไกลตัวพอสมควร
วันที่ 9 กันยายน 2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊ก Truss Atthachon เผยภาพช่วงหนึ่งขณะมีการบรรยายให้ความรู้เรื่องการเงิน หัวข้อเรื่อง "อายุเท่านี้ ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่" ซึ่งระบุว่าคนที่อายุ 25 ปี มีเงินที่ควรออม จำนวน 210,000 บาท ส่วนคนวัย 45 ปี มีเงินที่ควรออม จำนวน 7,590,000 บาท เลยทีเดียว
หลังภาพนี้ถูกเผยแพร่ไป ปรากฏว่ากลายเป็นไวรัลที่มีการแชร์ไปกว่า 5.7 พันครั้ง โดยส่วนใหญ่ต่างมองว่าสูตรคำนวณดังกล่าวดูจะทำจริงได้ยาก เนื่องจากไม่ค่อยสมเหตุสมผล เช่น อัตราเงินเดือนเริ่มต้น ส่วนใหญ่ยืนยันว่าในช่วงปีแรก ๆ ที่ทำงานได้เงินเดือนไม่ถึง 20,000 บาทแน่นอน
นอกจากนี้ ที่หลายคนมองว่าไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงคือ ไม่มีการบวกเรื่องของค่าใช้จ่ายที่จำเป็นเข้าไปด้วย รวมทั้งฐานเงินเดือนที่นำมาอ้างอิงก็ไม่สามารถใช้อ้างได้กับทุกอย่างชีพ มันอาจจะไม่ตรงกับความจริงตั้งแต่เริ่ม ไหนจะเรื่องอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นตามช่วงวัย จึงทำให้ผลลัพธ์ยิ่งไปไกลจนเกินตามทัน ดังนั้นที่อ้างว่าอายุ 45 ควรมีเงินเก็บ 7.5 ล้าน มันอาจแทบเป็นไปไม่ได้
2 x (อายุตอนนี้ – อายุที่เริ่มทำงาน) x (เงินเดือนตอนนี้ + เงินเดือนที่เริ่มทำงาน) = จำนวนเงินที่ควรออม
ตัวอย่างเช่น
นาย A ทำงานมาตั้งแต่อายุ 22 ปี เงินเดือนเริ่มต้น 10,000 บาท
ตอนนี้ A อายุ 35 ปี เงินเดือน 40,000 บาท
ดังนั้น เงินเก็บที่ A ควรจะมี = 2 x (35 – 22) x (40,000 + 15,000) = 1,300,000 บาท
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่าสูตรคำนวณเงินออมด้านบนจะเป็นหลักสากลที่เหล่านักวางแผนการเงินใช้คำนวณให้ลูกค้า ประกอบไปด้วย อายุตอนนี้, อายุที่เริ่มทำงาน, เงินเดือนตอนนี้ และ เงินเดือนตอนที่เพิ่งเริ่มทำงาน แต่ในความเป็นจริงแล้ว จำนวนเงินออมของทุกคนย่อมต้องแตกต่างกันไปตามสายอาชีพ ดังนั้นจึงไม่ควรกดดันตัวเองเกินไป และใช้ไว้เพื่อเป็นการตั้งเป้าหมายในการออมเงินคร่าว ๆ เพียงเท่านั้น