หลักเกณฑ์ตั้งแผงลอยในกรุงเทพฯ ต้องมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือบัตรคนจน และต้องมีการเสียภาษี ถึงจะขออนุญาตได้ และต้องเป็นคู่สัญญาซื้อบ้านกับการเคหะแห่งชาติ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 19 กันยายน 2567 กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขพื้นที่ทำการค้า เบื้องต้นต้องมี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ดังนี้
1. ถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 3 ช่องทางขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นเดินรถทางเดียวหรือสวนทาง ต้องจัดแผงค้าแบบมีที่ว่างให้ประชาชนได้สัญจรไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำนักงานเขตจะต้องทบทวนความจำเป็นและเหมาะสมของพื้นที่ทุก 2 ปี
2. ถนนที่มีช่องจราจรน้อยกว่า 3 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเดินรถทางเดียวหรือสวนทาง ต้องจัดแผงค้า แล้วมีที่ว่างให้ประชาชนสัญจรไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และสำนักงานเขตจะต้องทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมของพื้นที่ทุก 1 ปี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตร มีความลึกไม่เกิน 1.5 เมตร และจัดวางแผงค้าได้เพียงฝั่งเดียว ชิดกับด้านถนนและต้องห่างจากผิวจราจรอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพื่อให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่มาจากท้องถนน
นอกจากนี้ ทุก 10 แผงค้า ต้องเว้นระยะห่าง 3 เมตร เพื่อเป็นทางเข้าออกและทางฉุกเฉิน ส่วนสิ่งที่ประกอบแผงค้าเช่นร่ม หลังคา ต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
- จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
- ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เป็นคู่สัญญาในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยกับการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและยังมีภาระผูกพันในการชำระหนี้
- เป็นบุคคลที่ได้รับเงินสวัสดิการจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- เป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี โดยอ้างอิงจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายประกอบธุรกิจตามหลักฐานการยื่นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ผู้ทำการค้าต้องแจ้งความประสงค์ต่อสำนักงานเขตที่กำหนดให้มีพื้นที่ทำการค้า
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 19 กันยายน 2567 กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีการประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดพื้นที่ทำการค้าและการขาย หรือจำหน่ายสินค้าบนถนนหรือสถานสาธารณะ โดยมีการกำหนดเงื่อนไขพื้นที่ทำการค้า เบื้องต้นต้องมี บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือ บัตรคนจน ดังนี้
1. ถนนที่มีช่องจราจรตั้งแต่ 3 ช่องทางขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นเดินรถทางเดียวหรือสวนทาง ต้องจัดแผงค้าแบบมีที่ว่างให้ประชาชนได้สัญจรไม่น้อยกว่า 2 เมตร และสำนักงานเขตจะต้องทบทวนความจำเป็นและเหมาะสมของพื้นที่ทุก 2 ปี
2. ถนนที่มีช่องจราจรน้อยกว่า 3 ช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นเดินรถทางเดียวหรือสวนทาง ต้องจัดแผงค้า แล้วมีที่ว่างให้ประชาชนสัญจรไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และสำนักงานเขตจะต้องทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมของพื้นที่ทุก 1 ปี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
ขนาดของพื้นที่แผงลอย กทม.
ต้องมีขนาดไม่เกิน 3 ตารางเมตร มีความลึกไม่เกิน 1.5 เมตร และจัดวางแผงค้าได้เพียงฝั่งเดียว ชิดกับด้านถนนและต้องห่างจากผิวจราจรอย่างน้อย 50 เซนติเมตร เพื่อให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่มาจากท้องถนน
นอกจากนี้ ทุก 10 แผงค้า ต้องเว้นระยะห่าง 3 เมตร เพื่อเป็นทางเข้าออกและทางฉุกเฉิน ส่วนสิ่งที่ประกอบแผงค้าเช่นร่ม หลังคา ต้องมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
คุณสมบัติผู้ทำการค้าและแผงค้า กทม.
- จะต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทย
- ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- เป็นคู่สัญญาในการซื้อบ้านที่อยู่อาศัยกับการเคหะแห่งชาติในโครงการบ้านมั่นคงของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนและยังมีภาระผูกพันในการชำระหนี้
- เป็นบุคคลที่ได้รับเงินสวัสดิการจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- เป็นผู้มีรายได้ไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี โดยอ้างอิงจากเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายประกอบธุรกิจตามหลักฐานการยื่นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วิธีการลงทะเบียน
ผู้ทำการค้าต้องแจ้งความประสงค์ต่อสำนักงานเขตที่กำหนดให้มีพื้นที่ทำการค้า
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร