สรยุทธ แชร์ทริกทำยังไง เมื่อเจอเพื่อนหวานล้อมชวนขายตรง หรือ ยืมเงิน พูดปฏิเสธอย่างไรไม่ให้เสียมิตรภาพ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
จากข่าวบริษัทชื่อดัง ที่มีการหาเครือข่ายในลักษณะขายตรง และอาจใกล้เคียงกับคำว่า แชร์ลูกโซ่ ส่งผลให้มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความจำนวนมาก ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ได้รับการรู้จักและชักชวนให้เข้าร่วมจากคนใกล้ตัวอีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกรงใจ หรืออยากรักษามิตรภาพไว้
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดในรายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ช่วงหนึ่งได้อ่านคอมเมนต์จากทางบ้านที่ส่งเข้ามาระบายว่า "เสียเพื่อนเพราะขายตรงไปเยอะมาก" มุมหนึ่งก็มองว่ามีส่วนจริง ในมุมของคนที่จะไปขายเขา ก็ต้องมองว่าคนที่ติดต่อไปมีกำลังขายได้จริง ๆ ไม่งั้นคงจะบอก (คนที่อยากซื้อ) ไปแล้วว่า ทำไมไม่ดูตัวเองนะ 2,500 ก็พอนะ ไปเอาทำไม 250,000 อย่างงี้เป็นต้น ใช่ไหม
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
นายสรยุทธ แชร์ทริกปฏิเสธคนรู้จักเข้ามาขอให้ช่วยเหลือต่าง ๆ เริ่มจากถูกเสนอขายสินค้า แนะว่าใจแข็ง ๆ เข้าไว้ แล้วใช้ประโยคอย่างที่บอก เช่น "น้อง ถ้าจะนับถือกันเป็นพี่เป็นน้องต่อ น้องต้องเลิกพูดเรื่องนี้ เพราะมันจะไม่สามารถมานับถือกันได้"
กรณีถูกยืมเงิน ต้องใจแข็ง ๆ ตอบกลับ เช่น "ถ้าเราจะคบกันเป็นเพื่อน เอ็งอย่ายืมเงิน เรายังอยากได้นายเป็นเพื่อนอยู่ ถ้าเราให้นายยืมเงิน เดี๋ยวมันจะทะเลาะกัน เรายังอยากจะนับถือนายเป็นเพื่อนนะ คำว่าเพื่อนมันสำคัญกว่าเงิน"
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ส่วนเมื่อถูกเสนอขายประกัน อาจจะตอบเช่น จริง ๆ ถ้าเราเป็นอะไรไป ยังสามารถยกทรัพย์สมบัติให้นายได้ง่ายกว่าที่จะมาให้ทำประกัน เพราะงั้นคบกันเป็นเพื่อนดีกว่า
เมื่อเราเริ่มรู้สึกผิดที่จะปฏิเสธ แนะว่าเราควรคิดเสมอว่า สิ่งที่เราบอกออกไปเป็นเพราะความปรารถนาดี ที่เราอยากจะเป็นเพื่อนกับเขา ถ้าเราซื้อหรือทำกับเขาเมื่อไหร่ รับรองว่าเราจะเลิกคบกับเขาแน่ ๆ หรือบางคนก็จะใช้เทคนิคแบบว่า โปรแกรมเล็กที่สุดของนายคืออะไร ถ้าทำแล้ว ต่อไปไม่ต้องมาขายอีกนะ เป็นต้น
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
จากข่าวบริษัทชื่อดัง ที่มีการหาเครือข่ายในลักษณะขายตรง และอาจใกล้เคียงกับคำว่า แชร์ลูกโซ่ ส่งผลให้มีผู้เสียหายเข้าแจ้งความจำนวนมาก ส่วนหนึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ได้รับการรู้จักและชักชวนให้เข้าร่วมจากคนใกล้ตัวอีกทอดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นเพราะเกรงใจ หรืออยากรักษามิตรภาพไว้
วันที่ 28 ตุลาคม 2567 นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พูดในรายการกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ช่วงหนึ่งได้อ่านคอมเมนต์จากทางบ้านที่ส่งเข้ามาระบายว่า "เสียเพื่อนเพราะขายตรงไปเยอะมาก" มุมหนึ่งก็มองว่ามีส่วนจริง ในมุมของคนที่จะไปขายเขา ก็ต้องมองว่าคนที่ติดต่อไปมีกำลังขายได้จริง ๆ ไม่งั้นคงจะบอก (คนที่อยากซื้อ) ไปแล้วว่า ทำไมไม่ดูตัวเองนะ 2,500 ก็พอนะ ไปเอาทำไม 250,000 อย่างงี้เป็นต้น ใช่ไหม
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
นายสรยุทธ แชร์ทริกปฏิเสธคนรู้จักเข้ามาขอให้ช่วยเหลือต่าง ๆ เริ่มจากถูกเสนอขายสินค้า แนะว่าใจแข็ง ๆ เข้าไว้ แล้วใช้ประโยคอย่างที่บอก เช่น "น้อง ถ้าจะนับถือกันเป็นพี่เป็นน้องต่อ น้องต้องเลิกพูดเรื่องนี้ เพราะมันจะไม่สามารถมานับถือกันได้"
กรณีถูกยืมเงิน ต้องใจแข็ง ๆ ตอบกลับ เช่น "ถ้าเราจะคบกันเป็นเพื่อน เอ็งอย่ายืมเงิน เรายังอยากได้นายเป็นเพื่อนอยู่ ถ้าเราให้นายยืมเงิน เดี๋ยวมันจะทะเลาะกัน เรายังอยากจะนับถือนายเป็นเพื่อนนะ คำว่าเพื่อนมันสำคัญกว่าเงิน"
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ส่วนเมื่อถูกเสนอขายประกัน อาจจะตอบเช่น จริง ๆ ถ้าเราเป็นอะไรไป ยังสามารถยกทรัพย์สมบัติให้นายได้ง่ายกว่าที่จะมาให้ทำประกัน เพราะงั้นคบกันเป็นเพื่อนดีกว่า
เมื่อเราเริ่มรู้สึกผิดที่จะปฏิเสธ แนะว่าเราควรคิดเสมอว่า สิ่งที่เราบอกออกไปเป็นเพราะความปรารถนาดี ที่เราอยากจะเป็นเพื่อนกับเขา ถ้าเราซื้อหรือทำกับเขาเมื่อไหร่ รับรองว่าเราจะเลิกคบกับเขาแน่ ๆ หรือบางคนก็จะใช้เทคนิคแบบว่า โปรแกรมเล็กที่สุดของนายคืออะไร ถ้าทำแล้ว ต่อไปไม่ต้องมาขายอีกนะ เป็นต้น