นักโบราณคดีกัมพูชา ขุดพบรูปปั้น 12 ผู้อารักขาประตู แห่งพระราชวังหลวงนครธม ในหมู่ปราสาทนครวัด เผยทำจากหินทราย
ภาพจาก องค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา / สำนักข่าวซินหัว
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 สำนักข่าวซินหัว ได้เผยภาพความน่าสนใจ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา เผยว่า คณะนักโบราณคดีได้ขุดค้นพบรูปปั้นผู้อารักขาประตู 12 องค์ ของพระราชวังหลวงโบราณภายในนครธม จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานโบราณคดีอังกอร์ หรือหมู่ปราสาทนครวัดของกัมพูชา
ศร จันทร นักโบราณคดี กล่าวว่า รูปปั้นผู้อารักขาประตู 12 องค์ทำจากหินทราย ถูกค้นพบระหว่างการศึกษาโครงสร้างของประตูและค้นหาหินที่ร่วงหล่น รูปปั้นแต่ละองค์มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 100-110 เซนติเมตร รวมถึงมีใบหน้าและเครื่องประดับผมที่แตกต่างกันด้วย ที่น่าสังเกตคือ รูปปั้นองค์ที่ 12 ถูกพบว่าฝังอยู่ที่ความลึกถึง 140 เซนติเมตร
โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า รูปปั้นผู้อารักขาประตูทั้ง 12 องค์ เป็นตัวอย่างของศิลปะแบบคลัง (Khleang Style) ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาการก่อสร้างพระราชวังหลวงโบราณในศตวรรษที่ 11 โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่กำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนครธม
ภารกิจโบราณคดีครั้งนี้เป็นโครงการร่วมมือระหว่างองค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา และทีมงานของรัฐบาลจีน-กัมพูชาเพื่อการปกป้องนครวัด (CCSA) โดยหลังจากการค้นพบ ทีมโบราณคดีได้บันทึกตำแหน่งเดิมของรูปปั้น ถ่ายรูปภาพ และเตรียมทำความสะอาดพร้อมบูรณะ ก่อนจะวางรูปปั้นกลับสู่ตำแหน่งเดิม
สำหรับอุทยานโบราณคดีอังกอร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา มีเนื้อที่ 401 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดโบราณ 91 แห่ง ซึ่งถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมเกือบ 7 แสนราย สร้างรายได้กว่า 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.09 พันล้านบาท)
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัว
ภาพจาก องค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา / สำนักข่าวซินหัว
วันที่ 29 ตุลาคม 2567 สำนักข่าวซินหัว ได้เผยภาพความน่าสนใจ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา องค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา เผยว่า คณะนักโบราณคดีได้ขุดค้นพบรูปปั้นผู้อารักขาประตู 12 องค์ ของพระราชวังหลวงโบราณภายในนครธม จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานโบราณคดีอังกอร์ หรือหมู่ปราสาทนครวัดของกัมพูชา
ศร จันทร นักโบราณคดี กล่าวว่า รูปปั้นผู้อารักขาประตู 12 องค์ทำจากหินทราย ถูกค้นพบระหว่างการศึกษาโครงสร้างของประตูและค้นหาหินที่ร่วงหล่น รูปปั้นแต่ละองค์มีขนาดและรูปร่างที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ 100-110 เซนติเมตร รวมถึงมีใบหน้าและเครื่องประดับผมที่แตกต่างกันด้วย ที่น่าสังเกตคือ รูปปั้นองค์ที่ 12 ถูกพบว่าฝังอยู่ที่ความลึกถึง 140 เซนติเมตร
โดยผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า รูปปั้นผู้อารักขาประตูทั้ง 12 องค์ เป็นตัวอย่างของศิลปะแบบคลัง (Khleang Style) ซึ่งสอดคล้องกับช่วงเวลาการก่อสร้างพระราชวังหลวงโบราณในศตวรรษที่ 11 โดยมีลักษณะเป็นพื้นที่กำแพงสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในนครธม
ภารกิจโบราณคดีครั้งนี้เป็นโครงการร่วมมือระหว่างองค์การอัปสราแห่งชาติกัมพูชา และทีมงานของรัฐบาลจีน-กัมพูชาเพื่อการปกป้องนครวัด (CCSA) โดยหลังจากการค้นพบ ทีมโบราณคดีได้บันทึกตำแหน่งเดิมของรูปปั้น ถ่ายรูปภาพ และเตรียมทำความสะอาดพร้อมบูรณะ ก่อนจะวางรูปปั้นกลับสู่ตำแหน่งเดิม
สำหรับอุทยานโบราณคดีอังกอร์ ตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา มีเนื้อที่ 401 ตารางกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดโบราณ 91 แห่ง ซึ่งถูกจัดให้เป็นแหล่งมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในช่วงเดือนมกราคม-กันยายน ที่ผ่านมา มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าชมเกือบ 7 แสนราย สร้างรายได้กว่า 32.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 1.09 พันล้านบาท)
ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักข่าวซินหัว