สัตวแพทย์ย้ำ แม่หยัว วางยาสลบแมว ต้องทำโดยสัตวแพทย์เท่านั้น ซัดโดยจรรยาบรรณจะไม่ทำเพื่อความบันเทิง จี้ถาม ผู้เชี่ยวชาญที่อ้างคือใคร ทำไมปล่อยให้ทำ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
จากดราม่ากรณีซีรีส์ แม่หยัว มีการใช้แมวดำแสดงในฉาก โดยมีการวางยาสลบแมวจนเกิดอาการคล้ายน็อกยา นำมาสู่การตั้งคำถามในแง่จรรยาบรรณ กฎหมาย ใครเป็นคนดูแล ซึ่งแม้ทาง สันต์ ศรีแก้วหล่อ ผู้กำกับซีรีส์ จะออกมาชี้แจงว่าเป็นการถ่ายทำภายใต้การดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ และแมวยังปกติดี สังคมยังคงจี้ถามต่อว่าผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวเป็นใคร ใช่สัตวแพทย์หรือไม่
ภาพจาก ช่อง one31
โดยวานนี้ (9 พฤศจิกายน 2567) เพจ Drama-addict โพสต์ถึงกรณีนี้ว่า จากการสอบถามสัตวแพทย์ว่า สมมติคนที่ฉีดยาสลบให้สัตว์ไม่ใช่สัตวแพทย์ แต่เป็นเจ้าหน้าที่อื่น เช่น เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้ช่วยสัตวแพทย์ สามารถทำได้หรือไม่
ได้คำตอบว่า "การฉีดยาให้สัตว์ทุกกรณีต้องทำโดยผู้ประกอบการวิชาชีพสัตวแพทย์ หรือถ้าเป็นกรมปศุสัตว์เองเจ้าหน้าที่ต้องกระทำภายใต้การสั่งและการดูแลโดยสัตวแพทย์ชั้น 1 และการกระทำนั้นต้องเกี่ยวเนื่องกับงานในราชการด้วย"
สรุปคือ "ทำไม่ได้" ต้องเป็นสัตวแพทย์หรืออยู่ภายใต้การกำกับของสัตวแพทย์ชั้น 1 และต่อให้อยู่ภายใต้การกำกับของสัตวแพทย์ ก็ต้องเกี่ยวข้องกับงานในราชการเท่านั้น และทางสัตวแพทยสภา จะมีความคืบหน้าของประเด็นนี้ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน
ขณะที่ทางเพจวิภาวดีสัตวแพทย์ ก็ได้ยืนยันว่า "โดยจรรยาบรรณ สัตวแพทย์จะไม่วางยาสลบสัตว์เพื่อสร้างความบันเทิง" พร้อมตั้งคำถามว่า เนื่องจากการวางยาสลบสัตว์จะต้องกระทำการโดยสัตวแพทย์ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.วิชาชีพการสัตวแพทย์ ทีมงานได้มีการวางยาสลบแมวโดยการควบคุมของสัตวแพทย์หรือไม่ แมวได้รับการรักษาและยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
"ทุกการวางยาสลบมีความเสี่ยง.. เป็นประโยคที่สัตวแพทย์มักพูดเสมอเมื่อพูดคุยเรื่องการผ่าตัดกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง
ในบางช่วงชีวิตของสุนัข แมว กระต่าย หรือสัตว์เลี้ยงทุกชนิด อาจต้องมีโอกาสเข้ารับการผ่าตัดและวางยาสลบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางยาเพื่อผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงเกิดขึ้นแน่นอน จึงมีความจะเป็นที่จะต้องเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงให้ดีก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง"
ความเสี่ยงในการวางยาสลบ
- ความดันตก
- อุณหภูมิร่างกายตก
- การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
- รบกวนการหายใจ
- แพ้ยาสลบ
- ฟื้นช้าหรือไม่ฟื้นจากการสลบ
โดยก่อนการวางยาสลบเพื่อผ่าตัดสัตว์เลี้ยง ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ต้องนำสัตว์มาตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อนประเมินสภาพร่างกาย ว่ามีความพร้อมต่อการวางยาสลบหรือไม่ ต้องเตรียมตัวงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด และในการวางยาสลบ ต้องมีอุปกรณ์ ยา กู้ชีพ รอช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉินทุกครั้ง และต้องมีสัตวแพทย์ดูแลสัตว์ตัวนั้นจนกว่าจะฟื้นจากการวางยาสลบ
"แม่หมอวางยาสลบหมาแมว มาเกือบ 25 ปี ยังตื่นตัว ตื่นเต้นและไม่เคยละสายตาจากสัตว์ตัวน้ันเลย แม่หมอหวังว่า น้องแมวสีดำตัวนั้นในละครใช้ในการถ่ายทำยังคงอยู่รอดปลอดภัยนะคะ"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sant Srikaewlaw
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
ภาพจาก ช่อง one31
โดยวานนี้ (9 พฤศจิกายน 2567) เพจ Drama-addict โพสต์ถึงกรณีนี้ว่า จากการสอบถามสัตวแพทย์ว่า สมมติคนที่ฉีดยาสลบให้สัตว์ไม่ใช่สัตวแพทย์ แต่เป็นเจ้าหน้าที่อื่น เช่น เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้ช่วยสัตวแพทย์ สามารถทำได้หรือไม่
ได้คำตอบว่า "การฉีดยาให้สัตว์ทุกกรณีต้องทำโดยผู้ประกอบการวิชาชีพสัตวแพทย์ หรือถ้าเป็นกรมปศุสัตว์เองเจ้าหน้าที่ต้องกระทำภายใต้การสั่งและการดูแลโดยสัตวแพทย์ชั้น 1 และการกระทำนั้นต้องเกี่ยวเนื่องกับงานในราชการด้วย"
สรุปคือ "ทำไม่ได้" ต้องเป็นสัตวแพทย์หรืออยู่ภายใต้การกำกับของสัตวแพทย์ชั้น 1 และต่อให้อยู่ภายใต้การกำกับของสัตวแพทย์ ก็ต้องเกี่ยวข้องกับงานในราชการเท่านั้น และทางสัตวแพทยสภา จะมีความคืบหน้าของประเด็นนี้ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน
ขณะที่ทางเพจวิภาวดีสัตวแพทย์ ก็ได้ยืนยันว่า "โดยจรรยาบรรณ สัตวแพทย์จะไม่วางยาสลบสัตว์เพื่อสร้างความบันเทิง" พร้อมตั้งคำถามว่า เนื่องจากการวางยาสลบสัตว์จะต้องกระทำการโดยสัตวแพทย์ ตามกฎหมาย พ.ร.บ.วิชาชีพการสัตวแพทย์ ทีมงานได้มีการวางยาสลบแมวโดยการควบคุมของสัตวแพทย์หรือไม่ แมวได้รับการรักษาและยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
"ทุกการวางยาสลบมีความเสี่ยง.. เป็นประโยคที่สัตวแพทย์มักพูดเสมอเมื่อพูดคุยเรื่องการผ่าตัดกับเจ้าของสัตว์เลี้ยง
ในบางช่วงชีวิตของสุนัข แมว กระต่าย หรือสัตว์เลี้ยงทุกชนิด อาจต้องมีโอกาสเข้ารับการผ่าตัดและวางยาสลบ และปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางยาเพื่อผ่าตัดนั้นมีความเสี่ยงเกิดขึ้นแน่นอน จึงมีความจะเป็นที่จะต้องเตรียมตัวสัตว์เลี้ยงให้ดีก่อนที่จะทำการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง"
ความเสี่ยงในการวางยาสลบ
- ความดันตก
- อุณหภูมิร่างกายตก
- การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
- รบกวนการหายใจ
- แพ้ยาสลบ
- ฟื้นช้าหรือไม่ฟื้นจากการสลบ
โดยก่อนการวางยาสลบเพื่อผ่าตัดสัตว์เลี้ยง ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัด ต้องนำสัตว์มาตรวจสุขภาพเบื้องต้นเพื่อนประเมินสภาพร่างกาย ว่ามีความพร้อมต่อการวางยาสลบหรือไม่ ต้องเตรียมตัวงดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด และในการวางยาสลบ ต้องมีอุปกรณ์ ยา กู้ชีพ รอช่วยชีวิตกรณีฉุกเฉินทุกครั้ง และต้องมีสัตวแพทย์ดูแลสัตว์ตัวนั้นจนกว่าจะฟื้นจากการวางยาสลบ
"แม่หมอวางยาสลบหมาแมว มาเกือบ 25 ปี ยังตื่นตัว ตื่นเต้นและไม่เคยละสายตาจากสัตว์ตัวน้ันเลย แม่หมอหวังว่า น้องแมวสีดำตัวนั้นในละครใช้ในการถ่ายทำยังคงอยู่รอดปลอดภัยนะคะ"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Sant Srikaewlaw