ไวรัล สาวเดินผ่านร้านขนมหวาน ตกใจมากกับเมนูดัง บิโกหมอย และยิ่งแยกบรรทัดให้คำว่า หมอยออกมาแบบนี้ ยิ่งต้องลอง พร้อมเผยที่มาของชื่อนี้ ทำไมไม่ตั้งชื่ออื่นที่ทำให้ลูกค้ากล้าสั่ง
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก Tisiny Misasaki Oranwatcharasiri ได้ไปเที่ยวภูเก็ต และเดินผ่านร้านขนมหวานที่ทำสแตนดี้ขายขนมหวานของดีเมื่องภูเก็ต คือ โอ้เอ๋ว, น้ำส้มควาย และบิโกหมอย โดยเฉพาะการจัดฟอนต์ที่แยกคำว่า "บิโก" และ "หมอย" ออกมา ใครเดินผ่านก็ต้องตาค้าง อยากจะลิ้มลองรสชาติให้ได้รู้กันไป ว่าแต่ลูกค้าต่างถิ่นเวลาสั่งอาจจะตะขิดตะขวงใจ กล้าพูดแค่คำว่า บิโก อย่างเดียว
ภาพจาก Tisiny Misasaki Oranwatcharasiri
ทั้งนี้ บิโกหมอย ไม่ใช่การแปลผิด เขียนผิด แต่เป็นชื่อขนมหวานของดีเมืองภูเก็ต เป็นเมนูไอศกรีมกะทิจับคู่กับข้าวเหนียวดำ ซึ่งข้าวเหนียวดำจะเป็นข้าวเหนียวราดน้ำกะทิ ส่วนไอศกรีมกะทิจะมีกลิ่นอัญชัญเข้ามา ซึ่งคำว่า บิโก ในภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า ข้าวเหนียว ส่วน หมอย ในภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า ต้ม เมื่อนำมารวมกันก็กลายเป็นชื่อพื้นเมืองของข้าวเหนียวเปียกดำนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การกินบิโกหมอย ปัจจัยหลักอยู่ที่ข้าวเหนียวดำสามารถจับคู่กินได้กับของหวานหลากหลาย ซึ่งบางร้านในภูเก็ต อาจจะจับขายคู่ไอศกรีม แต่บางร้านอาจจะจับข้าวเหนียวดำขายกับมะม่วงราดน้ำกะทิ แล้วแต่สูตรของร้าน
คนไทยกับของหวาน ดูเหมือนจะเป็นของคู่กัน นอกจากขนมหวานที่หากินได้ทั่วไปแล้ว หากได้มีโอกาสท่องเที่ยวไปตามที่ต่าง ๆ อาจจะพบกับขนมหวานท้องถิ่นที่หากินไม่ได้จากที่อื่น เช่นเดียวกับล่าสุด 26 พฤศจิกายน 2567 ที่มีสาวคนหนึ่งไปเที่ยวภูเก็ต และเดินผ่านร้านขนมหวานร้านหนึ่ง แต่ถึงกับต้องตะลึงตา กับป้ายร้านที่ขายขนมหวานชื่อดัง ตกใจมากนึกว่าอ่านผิด
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก Tisiny Misasaki Oranwatcharasiri ได้ไปเที่ยวภูเก็ต และเดินผ่านร้านขนมหวานที่ทำสแตนดี้ขายขนมหวานของดีเมื่องภูเก็ต คือ โอ้เอ๋ว, น้ำส้มควาย และบิโกหมอย โดยเฉพาะการจัดฟอนต์ที่แยกคำว่า "บิโก" และ "หมอย" ออกมา ใครเดินผ่านก็ต้องตาค้าง อยากจะลิ้มลองรสชาติให้ได้รู้กันไป ว่าแต่ลูกค้าต่างถิ่นเวลาสั่งอาจจะตะขิดตะขวงใจ กล้าพูดแค่คำว่า บิโก อย่างเดียว
ภาพจาก Tisiny Misasaki Oranwatcharasiri
ทั้งนี้ บิโกหมอย ไม่ใช่การแปลผิด เขียนผิด แต่เป็นชื่อขนมหวานของดีเมืองภูเก็ต เป็นเมนูไอศกรีมกะทิจับคู่กับข้าวเหนียวดำ ซึ่งข้าวเหนียวดำจะเป็นข้าวเหนียวราดน้ำกะทิ ส่วนไอศกรีมกะทิจะมีกลิ่นอัญชัญเข้ามา ซึ่งคำว่า บิโก ในภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า ข้าวเหนียว ส่วน หมอย ในภาษาจีนฮกเกี้ยนแปลว่า ต้ม เมื่อนำมารวมกันก็กลายเป็นชื่อพื้นเมืองของข้าวเหนียวเปียกดำนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การกินบิโกหมอย ปัจจัยหลักอยู่ที่ข้าวเหนียวดำสามารถจับคู่กินได้กับของหวานหลากหลาย ซึ่งบางร้านในภูเก็ต อาจจะจับขายคู่ไอศกรีม แต่บางร้านอาจจะจับข้าวเหนียวดำขายกับมะม่วงราดน้ำกะทิ แล้วแต่สูตรของร้าน