ไทยเตรียมขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT จาก 7% เป็น 15% จริงไหม หากทำแล้วจะมีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร
จากกรณีที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาล โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากอัตราเดิม 7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในหลายประเทศทั่วโลก ที่จัดเก็บ VAT ในช่วง 15-25%
จ่อศึกษา ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% หลังทั่วโลกทำกันหมด แต่ต้องฟังความเห็นรอบด้าน
นายพิชัย ระบุว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ระบบภาษีของไทยสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งยกตัวอย่างมาตรการต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา เช่น
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งที่ผ่านมามีการพิจารณา Global Minimum Tax (GMT) ที่ทำให้มีการปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละประเทศ โดยไทยจะศึกษาการจัดเก็บจาก 20% เป็น 15%
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะมีการศึกษาเพื่อจูงใจการทำงานในประเทศไทย อาจมีการพิจารณาจาก 35% เหลือ 15%
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือภาษีบริโภคน้อย โดยทั่วโลกมีการเก็บระหว่าง 15-25% ในขณะที่ไทยเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากอัตราที่กำหนดไว้ 10% ส่วนสิงคโปร์จัดเก็บที่ 9% และประเทศในยุโรปมีการจัดเก็บที่ 20%
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
นายพิชัย ยอมรับว่า การปรับเพิ่ม VAT แม้จะเป็นมาตรการที่อ่อนไหวและส่งผลโดยตรงต่อประชาชน แต่ก็สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในระยะยาวได้
นายพิชัย กล่าวถึงแนวคิดการปรับขึ้นภาษี VAT เป็น 15% ว่าแค่บอกว่าแนวโน้มโลกเขาทำกันอย่างไร แค่ขอไปศึกษาเท่านั้นเอง พร้อมย้ำว่า แค่ศึกษา เราจะตัดสินใจอะไรก็ต้องดูเรื่องผลประโยชน์ให้กับส่วนรวม ยอมรับว่าจะต้องรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน เนื่องจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ภาษี VAT เป็นภาษีที่เก็บจากทุกคน ถ้ามีการเก็บเพิ่ม ในมิติหนึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ที่มีรายได้ต่ำ เป็นการแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างคนที่มีรายได้สูงกับรายได้ต่ำให้ลดลง เพราะจะส่งผลให้มีเงินกองกลางเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาดำเนินมาตรการต่าง ๆ ให้กับคนที่มีรายได้น้อย เช่น สาธารณสุข ที่พักอาศัย การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น
เปรียบเทียบภาษี VAT ของไทย กับประเทศอื่น ๆ ต่ำกว่าประเทศในอาเซียน
สำหรับ ภาษี VAT ของไทย เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน พบว่า ไทยมีอัตราเก็บภาษีที่ต่ำ คือ 7% ขณะที่ เวียดนาม กัมพูชา และลาว จัดเก็บในอัตรา 10% ฟิลิปปินส์ 12% อินโดนีเซีย 11% และมีแผนเพิ่มเป็น 12% ในปี 2568 ส่วนสิงคโปร์ เก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) ที่ 9% มาเลเซีย แยกจัดเก็บเป็นภาษีการขาย 10% และภาษีบริการ 8% มีเพียงเมียนมา ที่จัดเก็บต่ำกว่าที่ 5% ส่วนบรูไนและฮ่องกง ไม่มีการจัดเก็บ VAT และ GST
ขณะที่ เกาหลีใต้ เก็บ VAT 10%, จีน แยกเก็บตามประเภทสินค้า ทั้ง 6% / 9% และ 13% ญี่ปุ่นเก็บ 10% เยอรมนี 19% สหราชอาณาจักร 20% สหรัฐอเมริกา แตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐ ส่วน ออสเตรเลีย เก็บ 10%
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ไทย ออกประกาศลดภาษี VAT เหลือ 7% ทุกปี ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 28 ปีแล้ว โดยที่ภาษี VAT จำนวน 1 ใน 9 ที่เก็บได้จะส่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่เหลือจะโอนให้แก่รัฐบาลกลาง
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ธนกร ชี้ขึ้น VAT 15% ซ้ำเติมประชาชน เพิ่มค่าครองชีพ ฉุดเศรษฐกิจ
นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้ความคิดเห็นถึงกรณีนี้ว่า การเพิ่มอัตราภาษี VAT แม้ว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐอย่างมาก แต่จะกระทบต่อค่าครองชีพ การเพิ่ม VAT จะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่จำเป็น เช่น อาหารและพลังงาน ทำให้ภาระค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องใช้รายได้ส่วนใหญ่ในการบริโภค
การเพิ่ม VAT ลดกำลังซื้อของประชาชน ส่งผลให้การบริโภคในประเทศชะลอตัวและกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมองว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัว ยังเติบโตไม่เต็มที่ ประชาชนมีรายได้ต่ำ มีหนี้ครัวเรือนสูง ไม่ควรไปเพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน จึงควรพิจารณาการปรับ VAT อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในภาพรวม
ศิริกัญญา ชี้ขึ้นภาษี VAT 15% มากเกินไป ห่วงชนชั้นกลางแบกภาษีอ่วม
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้ความเห็นถึงกรณีนี้ว่า ที่ผ่านมาไทยเคยมีแนวคิดจะขึ้น VAT 10% มายาวนานแล้ว แต่การเพิ่มเป็น 15% ไม่เคยได้ยินมาก่อน เป็นการขึ้นมากเกินไปจนทำให้ผู้คนเห็นข่าวแล้วตกใจ จริง ๆ มองว่าไม่ต้องเยอะขนาดนี้ก็ได้ เพราะหลาย ๆ ประเทศเน้นเพิ่มการเก็บภาษีเงินได้มากกว่า
สำหรับการจัดเก็บ VAT มองว่ากลุ่มที่จะกระทบมากสุดคือคนชนชั้นกลาง ทั้งภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็น 2.8% เมื่อเทียบกับรายได้ จึงต้องคำนึงเรื่องความเป็นธรรมมากกว่านี้ในการออกแบบระบบภาษีใหม่ ซึ่งจากแนวทางที่เห็นนั้นอาจจะเป็นการทำให้คนรวยจ่ายภาษีน้อยลง แต่ชนชั้นกลางต้องแบกเพิ่ม
จากกรณีที่ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีเพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐบาล โดยหนึ่งในมาตรการที่ถูกพูดถึงมากที่สุดคือ การปรับเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากอัตราเดิม 7% ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในหลายประเทศทั่วโลก ที่จัดเก็บ VAT ในช่วง 15-25%
จ่อศึกษา ขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% หลังทั่วโลกทำกันหมด แต่ต้องฟังความเห็นรอบด้าน
นายพิชัย ระบุว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ระบบภาษีของไทยสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลก พร้อมทั้งยกตัวอย่างมาตรการต่าง ๆ ที่กำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา เช่น
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งที่ผ่านมามีการพิจารณา Global Minimum Tax (GMT) ที่ทำให้มีการปรับภาษีเงินได้นิติบุคคลของแต่ละประเทศ โดยไทยจะศึกษาการจัดเก็บจาก 20% เป็น 15%
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งจะมีการศึกษาเพื่อจูงใจการทำงานในประเทศไทย อาจมีการพิจารณาจาก 35% เหลือ 15%
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือภาษีบริโภคน้อย โดยทั่วโลกมีการเก็บระหว่าง 15-25% ในขณะที่ไทยเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากอัตราที่กำหนดไว้ 10% ส่วนสิงคโปร์จัดเก็บที่ 9% และประเทศในยุโรปมีการจัดเก็บที่ 20%
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
นายพิชัย ยอมรับว่า การปรับเพิ่ม VAT แม้จะเป็นมาตรการที่อ่อนไหวและส่งผลโดยตรงต่อประชาชน แต่ก็สามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำในระยะยาวได้
นายพิชัย กล่าวถึงแนวคิดการปรับขึ้นภาษี VAT เป็น 15% ว่าแค่บอกว่าแนวโน้มโลกเขาทำกันอย่างไร แค่ขอไปศึกษาเท่านั้นเอง พร้อมย้ำว่า แค่ศึกษา เราจะตัดสินใจอะไรก็ต้องดูเรื่องผลประโยชน์ให้กับส่วนรวม ยอมรับว่าจะต้องรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน เนื่องจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ภาษี VAT เป็นภาษีที่เก็บจากทุกคน ถ้ามีการเก็บเพิ่ม ในมิติหนึ่งจะเป็นผลดีกับผู้ที่มีรายได้ต่ำ เป็นการแก้ปัญหาช่องว่างระหว่างคนที่มีรายได้สูงกับรายได้ต่ำให้ลดลง เพราะจะส่งผลให้มีเงินกองกลางเพิ่มขึ้น เพื่อนำมาดำเนินมาตรการต่าง ๆ ให้กับคนที่มีรายได้น้อย เช่น สาธารณสุข ที่พักอาศัย การรักษาพยาบาล การศึกษา เป็นต้น
เปรียบเทียบภาษี VAT ของไทย กับประเทศอื่น ๆ ต่ำกว่าประเทศในอาเซียน
สำหรับ ภาษี VAT ของไทย เปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน พบว่า ไทยมีอัตราเก็บภาษีที่ต่ำ คือ 7% ขณะที่ เวียดนาม กัมพูชา และลาว จัดเก็บในอัตรา 10% ฟิลิปปินส์ 12% อินโดนีเซีย 11% และมีแผนเพิ่มเป็น 12% ในปี 2568 ส่วนสิงคโปร์ เก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) ที่ 9% มาเลเซีย แยกจัดเก็บเป็นภาษีการขาย 10% และภาษีบริการ 8% มีเพียงเมียนมา ที่จัดเก็บต่ำกว่าที่ 5% ส่วนบรูไนและฮ่องกง ไม่มีการจัดเก็บ VAT และ GST
ขณะที่ เกาหลีใต้ เก็บ VAT 10%, จีน แยกเก็บตามประเภทสินค้า ทั้ง 6% / 9% และ 13% ญี่ปุ่นเก็บ 10% เยอรมนี 19% สหราชอาณาจักร 20% สหรัฐอเมริกา แตกต่างกันไปตามแต่ละรัฐ ส่วน ออสเตรเลีย เก็บ 10%
อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ไทย ออกประกาศลดภาษี VAT เหลือ 7% ทุกปี ต่อเนื่องกันมาเป็นเวลา 28 ปีแล้ว โดยที่ภาษี VAT จำนวน 1 ใน 9 ที่เก็บได้จะส่งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนที่เหลือจะโอนให้แก่รัฐบาลกลาง
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ธนกร ชี้ขึ้น VAT 15% ซ้ำเติมประชาชน เพิ่มค่าครองชีพ ฉุดเศรษฐกิจ
นายธนกร วังบุญคงชนะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้ความคิดเห็นถึงกรณีนี้ว่า การเพิ่มอัตราภาษี VAT แม้ว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ของรัฐอย่างมาก แต่จะกระทบต่อค่าครองชีพ การเพิ่ม VAT จะส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าและบริการที่จำเป็น เช่น อาหารและพลังงาน ทำให้ภาระค่าครองชีพของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่ต้องใช้รายได้ส่วนใหญ่ในการบริโภค
การเพิ่ม VAT ลดกำลังซื้อของประชาชน ส่งผลให้การบริโภคในประเทศชะลอตัวและกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยมองว่าในสภาวะเศรษฐกิจที่อยู่ระหว่างการฟื้นตัว ยังเติบโตไม่เต็มที่ ประชาชนมีรายได้ต่ำ มีหนี้ครัวเรือนสูง ไม่ควรไปเพิ่มภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน จึงควรพิจารณาการปรับ VAT อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนในภาพรวม
ศิริกัญญา ชี้ขึ้นภาษี VAT 15% มากเกินไป ห่วงชนชั้นกลางแบกภาษีอ่วม
น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคประชาชน ให้ความเห็นถึงกรณีนี้ว่า ที่ผ่านมาไทยเคยมีแนวคิดจะขึ้น VAT 10% มายาวนานแล้ว แต่การเพิ่มเป็น 15% ไม่เคยได้ยินมาก่อน เป็นการขึ้นมากเกินไปจนทำให้ผู้คนเห็นข่าวแล้วตกใจ จริง ๆ มองว่าไม่ต้องเยอะขนาดนี้ก็ได้ เพราะหลาย ๆ ประเทศเน้นเพิ่มการเก็บภาษีเงินได้มากกว่า
สำหรับการจัดเก็บ VAT มองว่ากลุ่มที่จะกระทบมากสุดคือคนชนชั้นกลาง ทั้งภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม คิดเป็น 2.8% เมื่อเทียบกับรายได้ จึงต้องคำนึงเรื่องความเป็นธรรมมากกว่านี้ในการออกแบบระบบภาษีใหม่ ซึ่งจากแนวทางที่เห็นนั้นอาจจะเป็นการทำให้คนรวยจ่ายภาษีน้อยลง แต่ชนชั้นกลางต้องแบกเพิ่ม
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่อง 3, TNN, ฐานเศรษฐกิจ, เรื่องเล่าเช้านี้