หญิงจีนถูกผลักตกเขาที่ผาแต้ม ถูกผัวเรียกเงิน 140 ล้าน ชดเชยค่าหย่า หลังพยายามฆ่าเมีย อึ้งคำพูดแม่ผัว โทษสะใภ้ผิดเองที่รวย !
ภาพจาก Douyin
จากคดีหญิงจีนถูกสามีวางแผนฆ่าด้วยการผลักตกเขาที่ผาแต้ม เมื่อปี 2562 ทำให้เหยื่อที่ขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน สูญเสียลูกในท้อง ซึ่งต่อมาเธอรอดชีวิตและยังกลับมาขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานผาแต้มที่เคยช่วยเหลือและมูฟออนใช้ชีวิต จนเพิ่งจะคลอดลูกชายเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น
อ่านข่าว : หญิงจีนที่ถูกสามีผลักตกผาแต้ม คลอดลูกชายแล้ว หลังเสียลูกในท้องไปเมื่อ 5 ปีก่อน
ล่าสุด (6 ธันวาคม 2567) เว็บไซต์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า นางหวัง หนาน ต้องเผชิญความท้าทายที่เกิดจากสามีของตัวเองอีกครั้ง เมื่อ นายยู เสี่ยวตง วัย 38 ปี สามีที่พยายามฆ่าเธอและขณะนี้กำลังรับโทษจำคุกอยู่ในประเทศไทย ได้ออกมาเรียกร้องเงินชดเชย 30 ล้านหยวน (ราว 140 ล้านบาท) เพื่อการหย่าร้าง
ภาพจาก Douyin
รายงานเผยว่า นายยู เสี่ยวตง ถูกศาลไทยตัดสินจำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ในขณะที่ นางหวัง หนาน ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานสารพัด โดยเธอได้รับบาดเจ็บสาหัส กระดูกหัก 17 แห่ง ต้องรับการผ่าตัด ใส่หมุดเหล็กกว่า 100 ชิ้น เย็บกว่า 200 เข็ม รวมถึงสูญเสียลูกในครรภ์ โดยแพทย์ชี้ว่าเธออาจไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้อีก
แม้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นางหวัง หนาน จะสามารถให้กำเนิดลูกชายได้ด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว แต่เธอยอมรับว่ายังต้องใส่ชื่อของนายยู เสี่ยวตง เป็นพ่อของเด็กในเอกสาร เนื่องจากสถานะสมรสระหว่างเธอกับเขายังมีผลทางกฎหมาย อีกทั้งเธอยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการหย่าร้าง
ภาพจาก Douyin
ระหว่างการไลฟ์สตรีมครั้งหนึ่ง นางหวัง หนาน เปิดเผยว่า สามีได้เรียกร้องเงินจากเธอ 30 ล้านหยวน เป็นค่าชดเชยสำหรับการหย่า ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นความสูญเสียทางอารมณ์และความเยาว์วัย
นายยูกับแม่ของเขาอ้างว่า เงินจำนวนนี้มีไว้ชดเชยความทุกข์ทางใจของเขา แม่ของนายยูยังโยนความผิดให้ฉัน โดยบอกว่า "ถ้าธุรกิจของแกไม่ประสบความสำเร็จขนาดนี้ ก็คงไม่ล่อลวงให้ลูกชายฉันทำผิดพลาดแบบนี้หรอก"
อนึ่ง การที่สามียังถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทยนั้น ทำให้กระบวนการยุติธรรมของจีนมีความซับซ้อน และกลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้นางหวัง หนาน ยังไม่สามารถหย่าร้างได้
ภาพจาก Douyin
ด้าน นายจาง หยงฉวน อดีตอัยการซึ่งปัจจุบันเป็นหุ้นส่วนบริษัทกฎหมาย Grandall Law Firm เผยกับ SCMP โดยอธิบายคดีของนางหวัง หนาน ว่าเป็นเหมือนทางตัน และเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ จากความท้าทายสำคัญทั้งกฎหมายสมรสของจีนที่เรียกร้องให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายมาปรากฏตัวที่ศาลด้วยตัวเอง ตลอดจนความซับซ้อนของกระบวนการทางกฎหมายอันเกิดขึ้นจากการถูกคุมขังในต่างแดน
นายจาง
หยงฉวน อธิบายว่า
การพิจารณาคดีทุกครั้งจำเป็นต้องมีบุคคลที่เกี่ยวข้องมาปรากฏตัวด้วย
หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งถูกคุมขังอาจจำเป็นต้องมีทนายความท้องถิ่นหรือบุคคลที่ได้รับการรับรองทางกฎหมายไปเรือนจำเพื่อรับรองเอกสาร
จากนั้นต้องส่งเอกสารทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปยังศาลจีนผ่านช่องทางทางการทูต
อีกทางเลือกคือการใช้การพิจารณาคดีทางออนไลน์ แต่วิธีการนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ตัวอย่างเช่น หากเป็นคดีหย่าร้างระหว่างพลเมืองอเมริกันและจีน การพิจารณาคดีทางออนไลน์บนแผ่นดินสหรัฐฯ อาจก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินการทางตุลาการของจีน ที่อาจไปละเมิดอำนาจอธิปไตยของตุลาการสหรัฐฯ
ภาพจาก Weibo
ผู้พิพากษาบางคนอาจไปเรือนจำเพื่อทำการไต่สวนได้ก็จริง เนื่องจากเรือนจำหลายแห่งมีห้องพิจารณาคดีที่กำหนดไว้ แต่วิธีการนี้อาจไม่เหมาะสำหรับเรือนจำในต่างประเทศ เนื่องจากค่าใช้จ่ายและปัญหาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของตุลาการ
ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายตลอดจนข้อเรียกร้องของฝ่ายสามีจุดชนวนให้เกิดการถกเถียงมากมายบนโซเชียลมีเดียของจีน โดยมีคนแสดงความคิดเห็น เช่น "เรียกร้องเงินชดเชยหลังพยายามฆ่าเนี่ยนะ ไร้ความละอายขนาดนี้ได้ยังไง" และ "พ่อแม่เป็นคนแบบไหน ลูกที่เลี้ยงมาก็เป็นคนแบบนั้น"
นอกจากนี้ยังมีคนเรียกร้องให้จีนมีการปฏิรูปกฎหมาย โดยมองว่าเหยื่อไม่ควรต้องทนทุกข์จากช่องโหว่ทางกฎหมาย หากคู่สมรสกระทำความผิดร้ายแรงอย่างการพยายามฆ่า ศาลควรเร่งรัดการหย่าร้างได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้กระทำผิด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ขอบคุณข้อมูลจาก SCMP
ภาพจาก Douyin
จากคดีหญิงจีนถูกสามีวางแผนฆ่าด้วยการผลักตกเขาที่ผาแต้ม เมื่อปี 2562 ทำให้เหยื่อที่ขณะนั้นตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน สูญเสียลูกในท้อง ซึ่งต่อมาเธอรอดชีวิตและยังกลับมาขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานผาแต้มที่เคยช่วยเหลือและมูฟออนใช้ชีวิต จนเพิ่งจะคลอดลูกชายเมื่อกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมานั้น
อ่านข่าว : หญิงจีนที่ถูกสามีผลักตกผาแต้ม คลอดลูกชายแล้ว หลังเสียลูกในท้องไปเมื่อ 5 ปีก่อน
ล่าสุด (6 ธันวาคม 2567) เว็บไซต์เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ รายงานว่า นางหวัง หนาน ต้องเผชิญความท้าทายที่เกิดจากสามีของตัวเองอีกครั้ง เมื่อ นายยู เสี่ยวตง วัย 38 ปี สามีที่พยายามฆ่าเธอและขณะนี้กำลังรับโทษจำคุกอยู่ในประเทศไทย ได้ออกมาเรียกร้องเงินชดเชย 30 ล้านหยวน (ราว 140 ล้านบาท) เพื่อการหย่าร้าง
ภาพจาก Douyin
รายงานเผยว่า นายยู เสี่ยวตง ถูกศาลไทยตัดสินจำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อเดือนมิถุนายน 2566 ในขณะที่ นางหวัง หนาน ต้องเผชิญกับความทุกข์ทรมานสารพัด โดยเธอได้รับบาดเจ็บสาหัส กระดูกหัก 17 แห่ง ต้องรับการผ่าตัด ใส่หมุดเหล็กกว่า 100 ชิ้น เย็บกว่า 200 เข็ม รวมถึงสูญเสียลูกในครรภ์ โดยแพทย์ชี้ว่าเธออาจไม่สามารถตั้งครรภ์ตามธรรมชาติได้อีก
แม้ในเดือนกันยายนที่ผ่านมา นางหวัง หนาน จะสามารถให้กำเนิดลูกชายได้ด้วยวิธีทำเด็กหลอดแก้ว แต่เธอยอมรับว่ายังต้องใส่ชื่อของนายยู เสี่ยวตง เป็นพ่อของเด็กในเอกสาร เนื่องจากสถานะสมรสระหว่างเธอกับเขายังมีผลทางกฎหมาย อีกทั้งเธอยังต้องเผชิญกับความท้าทายมากมายในการหย่าร้าง
ภาพจาก Douyin
ระหว่างการไลฟ์สตรีมครั้งหนึ่ง นางหวัง หนาน เปิดเผยว่า สามีได้เรียกร้องเงินจากเธอ 30 ล้านหยวน เป็นค่าชดเชยสำหรับการหย่า ซึ่งเขาอ้างว่าเป็นความสูญเสียทางอารมณ์และความเยาว์วัย
นายยูกับแม่ของเขาอ้างว่า เงินจำนวนนี้มีไว้ชดเชยความทุกข์ทางใจของเขา แม่ของนายยูยังโยนความผิดให้ฉัน โดยบอกว่า "ถ้าธุรกิจของแกไม่ประสบความสำเร็จขนาดนี้ ก็คงไม่ล่อลวงให้ลูกชายฉันทำผิดพลาดแบบนี้หรอก"
อนึ่ง การที่สามียังถูกคุมขังอยู่ในประเทศไทยนั้น ทำให้กระบวนการยุติธรรมของจีนมีความซับซ้อน และกลายเป็นช่องโหว่ทางกฎหมายที่ทำให้นางหวัง หนาน ยังไม่สามารถหย่าร้างได้
ภาพจาก Douyin
ด้าน นายจาง หยงฉวน อดีตอัยการซึ่งปัจจุบันเป็นหุ้นส่วนบริษัทกฎหมาย Grandall Law Firm เผยกับ SCMP โดยอธิบายคดีของนางหวัง หนาน ว่าเป็นเหมือนทางตัน และเป็นสถานการณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ จากความท้าทายสำคัญทั้งกฎหมายสมรสของจีนที่เรียกร้องให้คู่กรณีทั้ง 2 ฝ่ายมาปรากฏตัวที่ศาลด้วยตัวเอง ตลอดจนความซับซ้อนของกระบวนการทางกฎหมายอันเกิดขึ้นจากการถูกคุมขังในต่างแดน
อีกทางเลือกคือการใช้การพิจารณาคดีทางออนไลน์ แต่วิธีการนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ตัวอย่างเช่น หากเป็นคดีหย่าร้างระหว่างพลเมืองอเมริกันและจีน การพิจารณาคดีทางออนไลน์บนแผ่นดินสหรัฐฯ อาจก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการดำเนินการทางตุลาการของจีน ที่อาจไปละเมิดอำนาจอธิปไตยของตุลาการสหรัฐฯ
ภาพจาก Weibo
ผู้พิพากษาบางคนอาจไปเรือนจำเพื่อทำการไต่สวนได้ก็จริง เนื่องจากเรือนจำหลายแห่งมีห้องพิจารณาคดีที่กำหนดไว้ แต่วิธีการนี้อาจไม่เหมาะสำหรับเรือนจำในต่างประเทศ เนื่องจากค่าใช้จ่ายและปัญหาเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยของตุลาการ
ปัญหาเรื่องข้อกฎหมายตลอดจนข้อเรียกร้องของฝ่ายสามีจุดชนวนให้เกิดการถกเถียงมากมายบนโซเชียลมีเดียของจีน โดยมีคนแสดงความคิดเห็น เช่น "เรียกร้องเงินชดเชยหลังพยายามฆ่าเนี่ยนะ ไร้ความละอายขนาดนี้ได้ยังไง" และ "พ่อแม่เป็นคนแบบไหน ลูกที่เลี้ยงมาก็เป็นคนแบบนั้น"
นอกจากนี้ยังมีคนเรียกร้องให้จีนมีการปฏิรูปกฎหมาย โดยมองว่าเหยื่อไม่ควรต้องทนทุกข์จากช่องโหว่ทางกฎหมาย หากคู่สมรสกระทำความผิดร้ายแรงอย่างการพยายามฆ่า ศาลควรเร่งรัดการหย่าร้างได้โดยไม่จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากผู้กระทำผิด
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช