รีวิวบิดหนี้ กยศ. 5 แสน ในกลุ่มทนาย ทำยังไงถึงไม่โดนยึดทรัพย์ โดนปรับ ทั้งโอนย้ายทรัพย์สิน ซื้อทรัพย์สินในชื่อคนอื่น และคนค้ำประกันตายแล้ว ชาวเน็ตสวด ใจทำด้วยอะไร
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมออนไลน์ หลังที่กลุ่มเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกฎหมาย มีคนมารีวิวประสบการณ์การบิดหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 5 แสนบาท ทำยังไงถึงไม่ให้โดนยึดทรัพย์ โดยมีการรีวิวไว้ดังนี้
1. ควรย้ายทรัพย์สินที่เป็นชื่อตัวเองก่อนถูกฟ้อง มิเช่นนั้นจะโดนคดีอาญา ซึ่งคนบิดหนี้เล่าว่า ได้ย้ายทรัพย์สิน คือ บ้าน 1 หลัง โอนมาเป็นชื่อป้า เนื่องจากลูกสาวยังอายุไม่ครบ 20 ปี แต่เมื่อลูกสาวอายุ 21 ก็ให้ป้าโอนกลับมาเป็นชื่อลูกสาวแทน
2. สินทรัพย์ใหม่ที่ซื้อหลังจากการวางแผนบิดหนี้ ก็ซื้อในชื่อของลูก เงินต่าง ๆ ที่รับเข้าบัญชี ก็ให้โอนเข้าบัญชีลูก และพยายามเก็บทองคำแท่งเอาไว้ให้มาก
3. ถ้าหากเราบิดหนี้ ทาง กยศ. จะไปทวงหนี้กับคนค้ำประกันแทน ซึ่งคนค้ำประกันของคนบิดหนี้ก็เสียชีวิตไปแล้ว ไม่เหลือมรดกอะไรให้ลูก ทายาทคนค้ำประกันก็ไม่ต้องชดใช้อะไรด้วย
4. เรื่องนี้ไม่มีอะไรที่น่าห่วง เพราะ กยศ. ทวงไม่ได้ ถ้าทุกคนรวมใจกันบิด ไม่นานองค์กรแบบนี้ก็ล้มไปเอง ถ้ากล้าปรับก็กล้าบิด
ความเห็นชาวเน็ต ฉะยับ
หลายคนที่เห็นเรื่องดังกล่าว ต่างวิจารณ์คนบิดหนี้ว่าทำไปเพื่ออะไร ทั้งที่องค์กรนี้ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีเงินเรียนหนังสือ แต่กลับต้องการให้องค์กรล้ม และไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐที่พยายามช่วยเหลือคนบิดหนี้ จนมีเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีที่เป็นไวรัล ไม่ได้อยู่ที่คนบิดหนี้เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงญาติคนบิดหนี้ด้วยที่ช่วยเหลือคนทำผิดในการทำผิด เป็นเรื่องจิตสำนึกที่ไม่ดีทั้งตระกูล
ขณะเดียวกัน ก็มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนเบี้ยวหนี้ กยศ. กันเยอะ เป็นเพราะรัฐไม่เอาจริงในการตามลูกหนี้ ยิ่งถ้ามีคนค้ำประกันยิ่งปล่อยลูกหนี้ลอยตัว ทั้งที่รัฐมีข้อมูลในมือทุกอย่าง สามารถทำให้ติดเครดิตบูโร, สมัครงานไม่ได้, เปิดบัญชีธนาคารไม่ได้, ซื้อทรัพย์สินที่เป็นชื่อตัวเองไม่ได้ ฯลฯ ถ้ามีการลงโทษที่หนัก ยังไงคนก็ไม่กล้าเบี้ยวหนี้ พอมีคนเบี้ยวหนี้ได้ 1 คน คนอื่น ๆ ก็อาจจะคิดได้ว่า จะจ่ายหนี้ทำไม ถ้าคนอื่นไม่จ่ายแล้วยังไม่มีปัญหา
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 กำลังเป็นที่ถกเถียงกันในสังคมออนไลน์ หลังที่กลุ่มเฟซบุ๊กเกี่ยวกับกฎหมาย มีคนมารีวิวประสบการณ์การบิดหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จำนวน 5 แสนบาท ทำยังไงถึงไม่ให้โดนยึดทรัพย์ โดยมีการรีวิวไว้ดังนี้
1. ควรย้ายทรัพย์สินที่เป็นชื่อตัวเองก่อนถูกฟ้อง มิเช่นนั้นจะโดนคดีอาญา ซึ่งคนบิดหนี้เล่าว่า ได้ย้ายทรัพย์สิน คือ บ้าน 1 หลัง โอนมาเป็นชื่อป้า เนื่องจากลูกสาวยังอายุไม่ครบ 20 ปี แต่เมื่อลูกสาวอายุ 21 ก็ให้ป้าโอนกลับมาเป็นชื่อลูกสาวแทน
2. สินทรัพย์ใหม่ที่ซื้อหลังจากการวางแผนบิดหนี้ ก็ซื้อในชื่อของลูก เงินต่าง ๆ ที่รับเข้าบัญชี ก็ให้โอนเข้าบัญชีลูก และพยายามเก็บทองคำแท่งเอาไว้ให้มาก
3. ถ้าหากเราบิดหนี้ ทาง กยศ. จะไปทวงหนี้กับคนค้ำประกันแทน ซึ่งคนค้ำประกันของคนบิดหนี้ก็เสียชีวิตไปแล้ว ไม่เหลือมรดกอะไรให้ลูก ทายาทคนค้ำประกันก็ไม่ต้องชดใช้อะไรด้วย
4. เรื่องนี้ไม่มีอะไรที่น่าห่วง เพราะ กยศ. ทวงไม่ได้ ถ้าทุกคนรวมใจกันบิด ไม่นานองค์กรแบบนี้ก็ล้มไปเอง ถ้ากล้าปรับก็กล้าบิด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
ความเห็นชาวเน็ต ฉะยับ
หลายคนที่เห็นเรื่องดังกล่าว ต่างวิจารณ์คนบิดหนี้ว่าทำไปเพื่ออะไร ทั้งที่องค์กรนี้ตั้งมาเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่มีเงินเรียนหนังสือ แต่กลับต้องการให้องค์กรล้ม และไม่เห็นด้วยกับนโยบายต่าง ๆ ของรัฐที่พยายามช่วยเหลือคนบิดหนี้ จนมีเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นจากกรณีที่เป็นไวรัล ไม่ได้อยู่ที่คนบิดหนี้เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงญาติคนบิดหนี้ด้วยที่ช่วยเหลือคนทำผิดในการทำผิด เป็นเรื่องจิตสำนึกที่ไม่ดีทั้งตระกูล
ขณะเดียวกัน ก็มีการวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่คนเบี้ยวหนี้ กยศ. กันเยอะ เป็นเพราะรัฐไม่เอาจริงในการตามลูกหนี้ ยิ่งถ้ามีคนค้ำประกันยิ่งปล่อยลูกหนี้ลอยตัว ทั้งที่รัฐมีข้อมูลในมือทุกอย่าง สามารถทำให้ติดเครดิตบูโร, สมัครงานไม่ได้, เปิดบัญชีธนาคารไม่ได้, ซื้อทรัพย์สินที่เป็นชื่อตัวเองไม่ได้ ฯลฯ ถ้ามีการลงโทษที่หนัก ยังไงคนก็ไม่กล้าเบี้ยวหนี้ พอมีคนเบี้ยวหนี้ได้ 1 คน คนอื่น ๆ ก็อาจจะคิดได้ว่า จะจ่ายหนี้ทำไม ถ้าคนอื่นไม่จ่ายแล้วยังไม่มีปัญหา