ผู้เชี่ยวชาญการบินตั้งคำถาม ลั่นเหตุใดไม่มี จนท. คอยดูแลตอนเครื่องบินเจจูแอร์ ลงจอดฉุกเฉิน - ทำไมถึงมีกำแพงปลายรันเวย์ จนเครื่องชนแล้วระเบิด
ภาพจาก YONHAP / AFP
วันที่ 29 ธันวาคม 2567 เว็บไซต์ abc.net.au รายงานข้อมูลเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมเจจูแอร์ (Jeju Air) เที่ยวบิน 7C 2216 ซึ่งประสบเหตุขัดข้องขณะพยายามลงจอดที่สนามบินมูอัน จนเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ พุ่งชนรั้วจนเกิดไฟลุกไหม้ โดยพบว่ามีผู้รอดชีวิตเพียง 2 ราย จากผู้โดยสารและลูกเรือ 181 ชีวิต โดยกลุ่มญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินดังกล่าว ได้มารวมตัวกันในห้องประชุมภายในสนามบินมูอันด้วยดวงตาแดงก่ำและโศกเศร้า รอฟังความคืบหน้าจากทางการ ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้อ่านรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ละคน เท่าที่สามารถระบุตัวตนได้
เนื่องจากสภาพของเครื่องบินที่ระเบิดเสียหาย ทำให้การเก็บกู้ศพและระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตเป็นเรื่องยาก จึงทำให้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการระบุตัวตนอย่างเป็นทางการ แม้จะมีข้อมูลคาดว่าทุกคนที่อยู่บนเครื่องบิน (ยกเว้น 2 คน) เสียชีวิตหมดทั้งลำ
เหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ นับเป็นภัยพิบัติทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดบนแผ่นดินเกาหลีใต้ ซึ่งผู้โดยสารบนเครื่องบางส่วนเป็นครอบครัวที่เดินทางมากับเด็ก รวมถึงกลุ่มวัยรุ่น ที่กำลังกลับจากการใช้วันหยุดในประเทศไทย โดยวานนี้ (29 ธันวาคม) ทางการเกาหลีใต้ประกาศให้มีการไว้อาลัยทั่วประเทศนาน 7 วัน
มีภาพบันทึกนาทีเกิดเหตุ เผยให้เห็นว่าเครื่องบินไถลลื่นไปตามรันเวย์ ก่อนชนปะทะเข้ากับกำแพงที่อยู่ตรงปลายรันเวย์ จากนั้นจึงเกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งแม้จะยังไม่มีการเผยสาเหตุอย่างเป็นทางการ แต่มีข้อมูลยืนยันว่า landing gear ของเครื่องบินทำงานผิดปกติ และจะมีการสืบสวนต่อว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อย่าง การชนนก หรือสภาพอากาศเลวร้าย ที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมนี้หรือไม่
ภาพจาก YONHAP / AFP
ด้าน เจฟฟรีย์ โธมัส ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบิน ได้ออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมองว่ายังมีคำถามมากมายที่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ โดยเขามองว่า หากเครื่องบินต้องลงจอดโดยที่ล้อไม่กาง เหตุใดทีมดับเพลิงจึงไม่ฉีดโฟมบนพื้นรันเวย์ เหตุใดไม่มีคนเข้ามาดูแลตอนที่เครื่องบินแตะพื้น เหตุใดเครื่องบินจึงแตะพื้นในระยะไกลจนไม่มีโอกาสหยุดเครื่องก่อนทะลุออกจากรันเวย์ และเหตุใดจึงมีกำแพงอิฐตั้งอยู่ตรงปลายรันเวย์
เขามองว่าปัญหาชนนกและล้อไม่กางนั้น ไม่ใช่เครื่องแปลกอะไร มันเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่ทั่วไปแล้วจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องบิน แต่ตอนนี้สิ่งที่ทุกคนยังไม่รู้อะไรเลยคือ สถานการณ์ภายในห้องนักบิน
ภาพจาก YONHAP / AFP
ขณะที่ Shanghai Daily รายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (30 ธันวาคม) เครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 737-800 อีกลำของเจจูแอร์ ก็ต้องวกกลับมายังสนามบินต้นทาง หลังพบปัญหากับ landing gear เช่นเดียวกับเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุเมื่อวานนี้ (29 ธันวาคม) โดยพบว่าเที่ยวบิน 7C101 ได้บินขึ้นจากสนามบินกิมโป ทางตะวันของกรุงโซล ในเวลา 06.37 น. ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อมุ่งหน้าไปเกาะเจจู แต่พบปัญหาดังกล่าวในเวลาไม่นานหลังเทกออฟ จึงทำการแจ้งผู้โดยสารให้ทราบและนำเครื่องกลับมาถึงสนามบินกิมโป ตอนเวลา 07.25 น.
ภาพจาก YONHAP / AFP
ขอบคุณข้อมูลจาก abc.net.au, Shanghai Daily
ภาพจาก YONHAP / AFP
วันที่ 29 ธันวาคม 2567 เว็บไซต์ abc.net.au รายงานข้อมูลเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมเจจูแอร์ (Jeju Air) เที่ยวบิน 7C 2216 ซึ่งประสบเหตุขัดข้องขณะพยายามลงจอดที่สนามบินมูอัน จนเครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์ พุ่งชนรั้วจนเกิดไฟลุกไหม้ โดยพบว่ามีผู้รอดชีวิตเพียง 2 ราย จากผู้โดยสารและลูกเรือ 181 ชีวิต โดยกลุ่มญาติของผู้โดยสารบนเที่ยวบินดังกล่าว ได้มารวมตัวกันในห้องประชุมภายในสนามบินมูอันด้วยดวงตาแดงก่ำและโศกเศร้า รอฟังความคืบหน้าจากทางการ ขณะที่เจ้าหน้าที่ได้อ่านรายชื่อผู้เสียชีวิตที่ละคน เท่าที่สามารถระบุตัวตนได้
เนื่องจากสภาพของเครื่องบินที่ระเบิดเสียหาย ทำให้การเก็บกู้ศพและระบุตัวตนของผู้เสียชีวิตเป็นเรื่องยาก จึงทำให้ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการระบุตัวตนอย่างเป็นทางการ แม้จะมีข้อมูลคาดว่าทุกคนที่อยู่บนเครื่องบิน (ยกเว้น 2 คน) เสียชีวิตหมดทั้งลำ
เหตุโศกนาฏกรรมครั้งนี้ นับเป็นภัยพิบัติทางการบินที่ร้ายแรงที่สุดบนแผ่นดินเกาหลีใต้ ซึ่งผู้โดยสารบนเครื่องบางส่วนเป็นครอบครัวที่เดินทางมากับเด็ก รวมถึงกลุ่มวัยรุ่น ที่กำลังกลับจากการใช้วันหยุดในประเทศไทย โดยวานนี้ (29 ธันวาคม) ทางการเกาหลีใต้ประกาศให้มีการไว้อาลัยทั่วประเทศนาน 7 วัน
มีภาพบันทึกนาทีเกิดเหตุ เผยให้เห็นว่าเครื่องบินไถลลื่นไปตามรันเวย์ ก่อนชนปะทะเข้ากับกำแพงที่อยู่ตรงปลายรันเวย์ จากนั้นจึงเกิดการระเบิดขึ้น ซึ่งแม้จะยังไม่มีการเผยสาเหตุอย่างเป็นทางการ แต่มีข้อมูลยืนยันว่า landing gear ของเครื่องบินทำงานผิดปกติ และจะมีการสืบสวนต่อว่ามีปัจจัยอื่น ๆ อย่าง การชนนก หรือสภาพอากาศเลวร้าย ที่นำไปสู่โศกนาฏกรรมนี้หรือไม่
ผู้เชี่ยวชาญตั้งคำถาม
ภาพจาก YONHAP / AFP
ด้าน เจฟฟรีย์ โธมัส ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมการบิน ได้ออกมาตั้งคำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยมองว่ายังมีคำถามมากมายที่จำเป็นต้องได้รับคำตอบ โดยเขามองว่า หากเครื่องบินต้องลงจอดโดยที่ล้อไม่กาง เหตุใดทีมดับเพลิงจึงไม่ฉีดโฟมบนพื้นรันเวย์ เหตุใดไม่มีคนเข้ามาดูแลตอนที่เครื่องบินแตะพื้น เหตุใดเครื่องบินจึงแตะพื้นในระยะไกลจนไม่มีโอกาสหยุดเครื่องก่อนทะลุออกจากรันเวย์ และเหตุใดจึงมีกำแพงอิฐตั้งอยู่ตรงปลายรันเวย์
เขามองว่าปัญหาชนนกและล้อไม่กางนั้น ไม่ใช่เครื่องแปลกอะไร มันเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว แต่ทั่วไปแล้วจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องบิน แต่ตอนนี้สิ่งที่ทุกคนยังไม่รู้อะไรเลยคือ สถานการณ์ภายในห้องนักบิน
เจจูแอร์อีกลำ รุ่นเดียวกัน พบปัญหาเช้านี้
ภาพจาก YONHAP / AFP
ขณะที่ Shanghai Daily รายงานว่า เมื่อช่วงเช้าวันนี้ (30 ธันวาคม) เครื่องบินโดยสารรุ่นโบอิ้ง 737-800 อีกลำของเจจูแอร์ ก็ต้องวกกลับมายังสนามบินต้นทาง หลังพบปัญหากับ landing gear เช่นเดียวกับเครื่องบินที่เกิดอุบัติเหตุเมื่อวานนี้ (29 ธันวาคม) โดยพบว่าเที่ยวบิน 7C101 ได้บินขึ้นจากสนามบินกิมโป ทางตะวันของกรุงโซล ในเวลา 06.37 น. ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อมุ่งหน้าไปเกาะเจจู แต่พบปัญหาดังกล่าวในเวลาไม่นานหลังเทกออฟ จึงทำการแจ้งผู้โดยสารให้ทราบและนำเครื่องกลับมาถึงสนามบินกิมโป ตอนเวลา 07.25 น.
ภาพจาก YONHAP / AFP
ขอบคุณข้อมูลจาก abc.net.au, Shanghai Daily