ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ แถมเตะโหด 8 นัดใน 1 เดือน ไม่ห่วงนักบอล

          ไขปริศนา ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ แถมต้องเตะโหดถึง 8 นัดถึงจะคว้าแชมป์ได้ หนักกว่าฟุตบอลโลก ทุกอย่างมีที่มาที่ไป

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          หนึ่งในคำถามของแฟนบอลหลาย ๆ คน เมื่อเห็นโปรแกรมสุดโหดของบอลไทย ในฟุตบอลมิตซูบิชิ คัพ 2024 หรือ อาเซียน คัพ 2024 กว่าจะไปคว้าแชมป์ได้ ต้องเตะ 8 นัดใน 1 เดือน โหดไปไหน โหดกว่าฟุตบอลโลกอีก


          "ทำไมไม่มีเจ้าภาพ?"

          ประเด็นนี้ กระปุกดอทคอมก็ได้ค้นหาคำตอบมาให้ แล้วจะเข้าใจทันทีว่า ระบบการแข่งขันบอลอาเซียน กว่าจะมาสู่ระบบการแข่งขันในรูปแบบปัจจุบัน ต้องผ่านอะไรมาบ้างถึงออกมาเป็นรูปแบบนี้ ทุกอย่างล้วนมีเหตุมีผลของมัน

ย้อนอดีตบอลอาเซียน คัพ ยุคแรก

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          ฟุตบอลอาเซียน คัพ เริ่มต้นจัดครั้งแรกในปี 1996 หรือ พ.ศ. 2539 หรือเรียกว่า ไทเกอร์ คัพ ตามชื่อสปอนเซอร์ ใช้ระบบมีเจ้าภาพรับหน้าที่จัดการแข่งขันทุกนัด ปัญหาที่พบคือ ในเกมการแข่งขันที่ไม่ใช่เจ้าภาพลงเล่น บรรยากาศค่อนข้างกร่อย คนไปดูในสนามน้อยมาก จนสปอนเซอร์หดหาย ยิ่งถ้าเจ้าภาพตกรอบเร็วยิ่งดูไม่จืด สนามแทบไม่มีคนดู แข่งกันไป 4 ครั้งก็ต้องหาวิธีปฏิรูปการแข่งขันให้น่าสนใจใหม่อีกครั้ง

บอลอาเซียน คัพ ยุค 2

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          ดังนั้นในปี 2004 หรือ พ.ศ. 2547 จึงมีการปฏิรูปการแข่งขันใหม่ โดยในรอบแบ่งกลุ่มแต่ละกลุ่ม จะมีเจ้าภาพจัดการแข่งขันเฉพาะกลุ่มนั้น ๆ ส่วนในรอบตัดเชือกกับรอบชิงชนะเลิศ ใช้ระบบการแข่งขันแบบเหย้า-เยือน 2 นัดของทีมที่เข้ารอบ

          ผลของการเปลี่ยนรูปแบบในครั้งนี้ ทำให้บอลอาเซียนคัพมีความน่าสนใจมากขึ้น มีคนไปดูที่สนามมากขึ้นจากระบบเหย้า-เยือน และทำให้มีซูซูกิ เข้ามาเป็นสปอนเซอร์การแข่งขันอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา (จนถึง 2020) หลังจากที่ปี 2007 ต้องแข่งขันแบบไร้สปอนเซอร์

          อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องคนดูก็ยังไม่ได้แก้ไขได้อย่างเด็ดขาดทั้งหมด โดยเฉพาะในรอบแรก คู่ที่ไม่ใช่เจ้าภาพ แทบไม่มีคนดู

สรุปยอดคนดูฟอร์แมตใหม่เป็นอย่างไร

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          ยกตัวอย่างจาก ปี 2016 ในรอบแรกไทยอยู่ในกลุ่มที่มีฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ แต่กลายเป็นว่า นัดที่ไทยลงแข่งขัน กลับมีคนดูไม่เยอะ นัดที่พบกับอินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นเกมใหญ่ แต่มีคนดูในสนามประมาณ 1,000 คนเท่านั้น แถมบางคู่ที่ไม่ใช่ไทยเตะ เป็นคู่เล็ก ๆ คนดูหลัก 500 คน

          ในมุมกลับกัน เมื่อเข้าสู่รอบรองชนะเลิศที่เตะแบบเหย้า-เยือน ความนิยมก็พุ่งเป็นเท่าตัว เช่น เกมรอบรองชนะเลิศ ปี 2016 ไทยไปเยือนเมียนมา มีคนดูในสนามถึง 30,000 คน และเมื่อกลับมาเตะที่ราชมังคลากีฬาสถาน ก็มีคนดูถึง 40,000 คน ต่างจากรอบแรกแบบสุดกู่

เข้าสู่ยุครูปแบบที่ 3 ไม่มีเจ้าภาพอีกต่อไป

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          ในปี 2018 หรือ พ.ศ. 2561 มีการปรับรูปแบบใหม่ของอาเซียน คัพ อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้คนดูเต็มสนาม โดยไม่มีระบบเจ้าภาพ แต่จะเล่นระบบเหย้าเยือนตั้งแต่รอบแรก ผลปรากฏว่า สามารถกระตุ้นความฟีเว่อร์ของคนท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี คนมาดูที่สนามเพียบ แม้กระทั่งคู่เล็ก ๆ อย่างกัมพูชา เปิดบ้านพบ ลาว ก็มีคนดูในสนามถึง 25,000 คน

          ถ้านับตัวอย่างที่ใกล้ตัวสุดคือ ฟุตบอลอาเซียน คัพ 2024 ไทย พบ เวียดนาม เตะที่ราชมังคลากีฬาสถาน วันที่ 5 มกราคม 2568 เวลา 20.00 น. ตั๋วขายหมดเกลี้ยงแล้ว ลองนึกภาพตามว่าถ้าเตะในประเทศที่เป็นกลาง คนดูคงไม่แน่นขนาดนี้

          ทว่าข้อเสียของระบบนี้คือ การเดินทางของนักฟุตบอลสุดหฤโหด ที่ต้องเดินทางเข้า ๆ ออก ๆ ประเทศแทบจะทุก 3 วันตลอด 1 เดือน อย่างการแข่งขันปี 2024 หลังจากจบเกมการแข่งขันไทย พบ ฟิลิปปินส์ วันที่ 30 ธันวาคม 2567 แต่วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ก็ต้องเดินทางไปที่เวียดนาม เพื่อเตรียมแข่งนัดชิงชนะเลิศ วันที่ 2 มกราคม 2568 แล้ว โดยไม่มีเวลาพักฟื้นฟูร่างกายเต็มที่


ทำไมมีเจ้าภาพแล้วไม่เวิร์ก เตะบ้านใครบ้านมันเวิร์กกว่า ?

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          หลัก ๆ คือ เรื่องรายได้ของชาวอาเซียนส่วนใหญ่ที่ไม่มีกำลังทรัพย์มากพอบินไปดูฟุตบอลที่ประเทศเพื่อนบ้านได้นาน 1 เดือน ดังนั้น การจัดแบบบ้านใครบ้านมันจึงเหมาะสมกับภูมิภาคนี้มากกว่า คอบอลสามารถทำงานปกติได้ด้วย แล้วก็ดูบอลถึงสนามได้ด้วย

มีหนทางลดโปรแกรมไหม ?

ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ช้างศึก - ฟุตบอลทีมชาติไทย

          ฟุตบอลอาเซียนคัพ รูปแบบปัจจุบัน หากจะเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศต้องเตะ 8 เกมใน 1 เดือน แบ่งเป็นดังนี้

          - รอบแรก 4 เกม (เหย้า 2 นัด, เยือน 2 นัด)

          - รอบรองชนะเลิศ 2 เกม (เหย้า-เยือน)

          - นัดชิงชนะเลิศ 2 เกม (เหย้า-เยือน)

          ถ้าหากต้องการลดโปรแกรมการแข่งขันให้ทีมที่เข้าชิงชนะเลิศเหลือการแข่งขันแค่ 6 เกม ก็พอทำได้อยูุ่ด้วยการตัดโปรแกรมการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ให้เหลือ 1 นัด เล่นที่สนามของทีมอันดับที่ 1 ของกลุ่ม เพื่อทำให้อันดับ 1 ของกลุ่มมีความหมาย

          ส่วนรอบชิงชนะเลิศก็เหลือ 1 นัด เล่นในสนามของทีมที่ทำผลงานในรอบแรกดีกว่า เพื่อกระตุ้นให้ทุกทีมทำผลงานรอบแรกให้ดีที่สุด ไม่ปล่อยจอย เพียงเท่านี้ ความแน่นของโปรแกรมการแข่งขันก็จะลดลงแล้ว

          แต่ประเด็นคือ ผู้จัดจะยอมทำตามเสียงเรียกร้องแฟนบอล รวมถึงนักเตะไหม ที่จะลดความโหดของการแข่งขันลง ลดรายได้ เพื่อรักษาสุขภาพนักฟุตบอลมากขึ้น มีแต่องค์กรอย่าง AFF เท่านั้นที่จะให้คำตอบได้


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ทำไมฟุตบอลอาเซียนคัพ ถึงไม่มีเจ้าภาพ แถมเตะโหด 8 นัดใน 1 เดือน ไม่ห่วงนักบอล อัปเดตล่าสุด 3 มกราคม 2568 เวลา 17:26:26 7,683 อ่าน
TOP
x close