ตำรวจสอบสวนกลาง เตือนประชาชนระวังมิจฉาชีพ อ้างเป็นกรมสรรพากร หลอกคืนเงินภาษี พร้อมแนะจุดสังเกตและวิธีป้องกัน
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนระวังมิจฉาชีพ อ้างเป็นกรมสรรพากร หลอกคืนเงินภาษี ผ่าน SMS หรืออีเมล พร้อมแนะนำวิธีสังเกตและตรวจสอบก่อนตกเป็นเหยื่อ
ปัจจุบันมีมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นกรมสรรพากร หลอกว่าจะคืนเงินภาษีให้ ผ่าน SMS หรืออีเมล โดยมิจฉาชีพจะส่งข้อความอ้างว่า คุณมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนภาษี พร้อมแนบลิงก์ปลอมให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี บัญชีธนาคาร เบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่าน โดยอ้างว่า จะได้รับเงินโอนคืนทันที ซึ่งหากหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะนำข้อมูลของคุณไปใช้ในการกระทำความผิด
- ใช้ชื่อเว็บไซต์แปลก ๆ เช่น https://www.rd-go-th.xyz, https://www.rd-go- th.co, https://www.rd-go-th.top และ https://www.rd-go-th.org เป็นต้น
- หนังสือราชการที่ใช้ข่มขู่ ไม่เป็นไปตามแบบฟอร์มและภาษาของทางราชการ
- กรมสรรพากรไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
- ตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนกดลิงก์ หรือก่อนให้ข้อมูลส่วนตัวทุกครั้ง
- ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้องของกรมสรรพากร
- กรมสรรพากรมี 2 ช่องทางติดต่อ คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาและทางออนไลน์ ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร
- หากต้องการดาวน์โหลดเว็บไซต์ของทางราชการหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ควรดาวน์โหลดจาก Appstore และ Play Store
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอเตือนภัย ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว และหากท่านตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ สามารถแจ้งเข้ามาที่ศูนย์ AOC 1441 เพื่อทำการอายัดบัญชีคนร้าย และดำเนินคดีตามกฎหมายกับมิจฉาชีพ
ขอบคุณข้อมูลจาก ตำรวจสอบสวนกลาง

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) เตือนระวังมิจฉาชีพ อ้างเป็นกรมสรรพากร หลอกคืนเงินภาษี ผ่าน SMS หรืออีเมล พร้อมแนะนำวิธีสังเกตและตรวจสอบก่อนตกเป็นเหยื่อ
ปัจจุบันมีมิจฉาชีพ แอบอ้างเป็นกรมสรรพากร หลอกว่าจะคืนเงินภาษีให้ ผ่าน SMS หรืออีเมล โดยมิจฉาชีพจะส่งข้อความอ้างว่า คุณมีสิทธิ์ได้รับเงินคืนภาษี พร้อมแนบลิงก์ปลอมให้กรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ-นามสกุล เลขบัตรประชาชน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี บัญชีธนาคาร เบอร์โทรศัพท์ หรือรหัสผ่าน โดยอ้างว่า จะได้รับเงินโอนคืนทันที ซึ่งหากหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะนำข้อมูลของคุณไปใช้ในการกระทำความผิด

จุดสังเกตมิจฉาชีพ
- ใช้ชื่อเว็บไซต์แปลก ๆ เช่น https://www.rd-go-th.xyz, https://www.rd-go- th.co, https://www.rd-go-th.top และ https://www.rd-go-th.org เป็นต้น
- หนังสือราชการที่ใช้ข่มขู่ ไม่เป็นไปตามแบบฟอร์มและภาษาของทางราชการ
- กรมสรรพากรไม่มีนโยบายส่งลิงก์ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว
วิธีป้องกัน
- ตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนกดลิงก์ หรือก่อนให้ข้อมูลส่วนตัวทุกครั้ง
- ตรวจสอบชื่อเว็บไซต์ที่ถูกต้องของกรมสรรพากร
- กรมสรรพากรมี 2 ช่องทางติดต่อ คือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาและทางออนไลน์ ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร
- หากต้องการดาวน์โหลดเว็บไซต์ของทางราชการหรือแอปพลิเคชันต่างๆ ควรดาวน์โหลดจาก Appstore และ Play Store
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) จึงขอเตือนภัย ให้ระมัดระวังมิจฉาชีพในลักษณะดังกล่าว และหากท่านตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ สามารถแจ้งเข้ามาที่ศูนย์ AOC 1441 เพื่อทำการอายัดบัญชีคนร้าย และดำเนินคดีตามกฎหมายกับมิจฉาชีพ

ขอบคุณข้อมูลจาก ตำรวจสอบสวนกลาง