กระทรวงแรงงาน จ่อขยายสิทธิ 3 กลุ่มอาชีพ เข้าประกันสังคม ม.33 มีสิทธิรักษาพยาบาล เงินชดเชยต่าง ๆ ชี้นายจ้างก็ได้รับประโยชน์
โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ลูกจ้างใน 3 กลุ่มอาชีพ เข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่
- กลุ่มลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มลูกจ้างในครัวเรือนที่ทำงานในฐานะนายจ้างส่วนบุคคล เช่น แม่บ้าน ผู้ประกอบอาหาร คนรับใช้ส่วนตัว หัวหน้าผู้รับใช้ คนซักรีด คนสวน คนเฝ้าประตู ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง คนขับรถ คนเฝ้าบ้าน เป็นต้น
- กลุ่มลูกจ้างในกิจการค้าแผงลอย ที่มีสถานที่ตั้งชัดเจน มีเลขที่แผง และมีสัญญาเช่า เช่น สัญญาเช่าแผงกับตลาด ศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า
โดยเมื่อลูกจ้างในกลุ่มอาชีพดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 33 จะได้รับสิทธิประกันสังคม ที่ช่วยสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น สิทธิรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วย เงินชดเชยกรณีต่าง ๆ เช่น เงินค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินบำนาญชราภาพ เงินว่างงาน เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ และเงินกรณีเสียชีวิต
นอกจากนี้ นายจ้างจะได้รับประโยชน์จากการขยายความคุ้มครองครั้งนี้ เช่น คลายความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกจ้าง หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรวมถึงเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบและดูแลสวัสดิการของลูกจ้าง หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 หรือ www.sso.go.th
ขอบคุณข้อมูลจาก NBT Connext

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้่อหา
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2568 NBT Connext รายงานว่า นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับ การขยายความคุ้มครองให้แก่นายจ้างและลูกจ้างที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดกิจการหรือลูกจ้างอื่นที่ไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม พ.ศ. 2560 โดยการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ลูกจ้างใน 3 กลุ่มอาชีพ เข้าสู่ระบบประกันสังคมมาตรา 33 ได้แก่
- กลุ่มลูกจ้างในกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ และเลี้ยงสัตว์
- กลุ่มลูกจ้างในครัวเรือนที่ทำงานในฐานะนายจ้างส่วนบุคคล เช่น แม่บ้าน ผู้ประกอบอาหาร คนรับใช้ส่วนตัว หัวหน้าผู้รับใช้ คนซักรีด คนสวน คนเฝ้าประตู ผู้ดูแลสัตว์เลี้ยง คนขับรถ คนเฝ้าบ้าน เป็นต้น
- กลุ่มลูกจ้างในกิจการค้าแผงลอย ที่มีสถานที่ตั้งชัดเจน มีเลขที่แผง และมีสัญญาเช่า เช่น สัญญาเช่าแผงกับตลาด ศูนย์การค้า หรือห้างสรรพสินค้า
โดยเมื่อลูกจ้างในกลุ่มอาชีพดังกล่าวได้รับความคุ้มครองตาม มาตรา 33 จะได้รับสิทธิประกันสังคม ที่ช่วยสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิต ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เช่น สิทธิรักษาพยาบาล เมื่อเจ็บป่วย เงินชดเชยกรณีต่าง ๆ เช่น เงินค่าคลอดบุตร เงินสงเคราะห์บุตร เงินบำนาญชราภาพ เงินว่างงาน เงินทดแทนกรณีทุพพลภาพ และเงินกรณีเสียชีวิต
นอกจากนี้ นายจ้างจะได้รับประโยชน์จากการขยายความคุ้มครองครั้งนี้ เช่น คลายความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการดูแลลูกจ้าง หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยรวมถึงเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบและดูแลสวัสดิการของลูกจ้าง หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 หรือ www.sso.go.th
ขอบคุณข้อมูลจาก NBT Connext