หมอเจด เตือนอาการที่ต้องระวัง หากเข้าข่ายอาจเป็นมะเร็งใน 6 เดือน ชี้จุดสำคัญคือน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หากมีอาการตามนี้ แนะให้รีบหาหมอ
วันที่ 25 มีนาคม 2568 เฟซบุ๊ก หมอเจด ของ นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ว่าด้วยอาการที่ต้องระวังให้ดี หากเข้าข่ายอาการแบบนี้อาจเป็นมะเร็งใน 6 เดือน
โดยระบุว่า เวลาที่อยู่ ๆ น้ำหนักก็ลดลงแบบไม่ตั้งใจ ทั้งที่ไม่ได้คุมอาหารหรือออกกำลังกายหนักขึ้น บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องดี แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าน้ำหนักลดมากกว่า 5% ของน้ำหนักตัวในช่วง 6-12 เดือน (เช่น จาก 70 กก. เหลือ 66 กก. โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย) อาจมีอะไรมากกว่านั้น
งานวิจัยล่าสุด "Prioritising primary care patients with unexpected weight loss for cancer investigation: diagnostic accuracy study (update) Brian D Nicholson et al. BMJ. 2024." ที่ทำการศึกษาคนกว่า 3 แสนคน พบว่า การที่อยู่ ๆ น้ำหนักลดแบบนี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง โดยเฉพาะถ้าเกิดกับคนที่อายุเกิน 50 ปี หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย มันก็จะดีนะ ถ้าเจอเร็ว ก็มีโอกาสรักษาได้ทัน แต่ความน่ากลัวคือ หลายคนมองข้ามมันไป
- ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- คนที่เคยสูบบุหรี่
- คนที่มีอาการอื่นร่วมกับน้ำหนักลด
สำหรับคนกลุ่มนี้ โอกาสเป็นมะเร็งภายใน 6 เดือนหลังจากเริ่มน้ำหนักลดนั้นสูงกว่า 3% ซึ่งถือว่าเยอะพอที่หมอจะแนะนำให้ตรวจหาโรคมะเร็งแบบจริงจัง
ส่วนคนที่อายุน้อยกว่านั้น ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย โอกาสเป็นมะเร็งก็ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 3%) ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องรีบตรวจหามะเร็งในทันที
น้ำหนักลดเองอาจยังไม่บอกอะไรมาก แต่ถ้ามาพร้อมกับอาการอื่น ๆ โอกาสเป็นมะเร็งจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้พบว่า
ในผู้ชาย มี 17 อาการที่สัมพันธ์กับมะเร็ง เช่น
- อ่อนเพลียตลอดเวลา
- ปวดท้องบ่อย
- ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)
- ไอเรื้อรังแบบไม่มีเหตุผล
- กลืนอาหารลำบาก
- อาเจียนเป็นเลือด
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- คลำเจอก้อนในทวารหนัก
ในผู้หญิง มี 8 อาการที่สัมพันธ์กับมะเร็ง เช่น
- ปวดหลังเรื้อรัง
- ดีซ่าน
- คลำเจอก้อนในอุ้งเชิงกราน
- อาเจียนเป็นเลือด
- ปัสสาวะเป็นเลือด
ถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งพุ่งสูงขึ้นหลายเท่า เช่น ในผู้ชาย ถ้ามีอ่อนเพลียร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 1.43 เท่า แต่ถ้าพบก้อนที่ทวารหนัก โอกาสจะสูงถึง 21 เท่า เลยทีเดียว ส่วนผู้หญิง ถ้ามีปวดหลังร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 1.28 เท่า และถ้ามีก้อนในอุ้งเชิงกราน ความเสี่ยงสูงถึง 19.46 เท่า
นอกจากอาการแล้ว งานวิจัยยังพบว่า ค่าตรวจเลือดบางอย่างผิดปกติอาจเป็นตัวบ่งชี้มะเร็งได้ โดยเฉพาะค่าที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบหรือการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือด เช่น
- อัลบูมินต่ำ (โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 3.24 เท่า)
- เกล็ดเลือดสูง (3.48 เท่า)
- เม็ดเลือดขาวสูง (3.01 เท่า)
- ค่า C-reactive protein (CRP) สูง (3.13 เท่า)
แต่ไม่มีค่าตรวจเลือดไหนที่สามารถบอกได้ชัวร์ ๆ ว่าคุณไม่มีมะเร็ง เพราะฉะนั้นถ้าผลเลือดปกติ แต่ยังมีอาการที่น่าสงสัย หมออาจยังต้องตรวจเพิ่มเติม
ถ้าแค่ผอมลงเพราะออกกำลังกายหรือกินน้อยลง ก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย แนะนำให้รีบไปหาหมอ
- น้ำหนักลด >5% ภายใน 6-12 เดือน โดยไม่มีเหตุผล
- รู้สึกอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือเบื่ออาหาร
- ปวดท้อง ไอเรื้อรัง กลืนลำบาก ดีซ่าน อาเจียนเป็นเลือด
- คลำเจอก้อนที่ผิดปกติ เช่น ที่อุ้งเชิงกราน หรือทวารหนัก
- ผลตรวจเลือดผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูง CRP สูง
สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าคุณอายุ 50 ปีขึ้นไป (หรือ 60 ปีขึ้นไปในผู้หญิง) และน้ำหนักลดแบบไม่มีเหตุผล พร้อมอาการแปลก ๆ ควรไปพบหมอเพื่อตรวจหามะเร็ง อย่ารอให้สายเกินไป เพราะการเจอเร็ว ช่วยเพิ่มโอกาสรักษาหายได้สูง
ส่วนคนอายุน้อยกว่านี้ ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย โอกาสเป็นมะเร็งยังต่ำอยู่ แต่ถ้ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่น้ำหนักลดจะเป็นมะเร็ง อาจมีสาเหตุอื่น เช่น โรคเรื้อรัง การเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือความเครียด แนะนำไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุ ดีกว่าเสียใจทีหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก หมอเจด

วันที่ 25 มีนาคม 2568 เฟซบุ๊ก หมอเจด ของ นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ หรือ หมอเจด รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพ ว่าด้วยอาการที่ต้องระวังให้ดี หากเข้าข่ายอาการแบบนี้อาจเป็นมะเร็งใน 6 เดือน
โดยระบุว่า เวลาที่อยู่ ๆ น้ำหนักก็ลดลงแบบไม่ตั้งใจ ทั้งที่ไม่ได้คุมอาหารหรือออกกำลังกายหนักขึ้น บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องดี แต่จริง ๆ แล้ว ถ้าน้ำหนักลดมากกว่า 5% ของน้ำหนักตัวในช่วง 6-12 เดือน (เช่น จาก 70 กก. เหลือ 66 กก. โดยที่ไม่ได้ทำอะไรเลย) อาจมีอะไรมากกว่านั้น
งานวิจัยล่าสุด "Prioritising primary care patients with unexpected weight loss for cancer investigation: diagnostic accuracy study (update) Brian D Nicholson et al. BMJ. 2024." ที่ทำการศึกษาคนกว่า 3 แสนคน พบว่า การที่อยู่ ๆ น้ำหนักลดแบบนี้ อาจเป็นสัญญาณของโรคมะเร็ง โดยเฉพาะถ้าเกิดกับคนที่อายุเกิน 50 ปี หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย มันก็จะดีนะ ถ้าเจอเร็ว ก็มีโอกาสรักษาได้ทัน แต่ความน่ากลัวคือ หลายคนมองข้ามมันไป
ใครบ้างที่เสี่ยงที่สุด ?
- ผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป
- คนที่เคยสูบบุหรี่
- คนที่มีอาการอื่นร่วมกับน้ำหนักลด
สำหรับคนกลุ่มนี้ โอกาสเป็นมะเร็งภายใน 6 เดือนหลังจากเริ่มน้ำหนักลดนั้นสูงกว่า 3% ซึ่งถือว่าเยอะพอที่หมอจะแนะนำให้ตรวจหาโรคมะเร็งแบบจริงจัง
ส่วนคนที่อายุน้อยกว่านั้น ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย โอกาสเป็นมะเร็งก็ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่า 3%) ซึ่งหมายความว่าไม่จำเป็นต้องรีบตรวจหามะเร็งในทันที
อาการอะไรบ้างที่ต้องจับตา ?
น้ำหนักลดเองอาจยังไม่บอกอะไรมาก แต่ถ้ามาพร้อมกับอาการอื่น ๆ โอกาสเป็นมะเร็งจะเพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้พบว่า
ในผู้ชาย มี 17 อาการที่สัมพันธ์กับมะเร็ง เช่น
- อ่อนเพลียตลอดเวลา
- ปวดท้องบ่อย
- ดีซ่าน (ตัวเหลือง ตาเหลือง)
- ไอเรื้อรังแบบไม่มีเหตุผล
- กลืนอาหารลำบาก
- อาเจียนเป็นเลือด
- ปัสสาวะเป็นเลือด
- คลำเจอก้อนในทวารหนัก
ในผู้หญิง มี 8 อาการที่สัมพันธ์กับมะเร็ง เช่น
- ปวดหลังเรื้อรัง
- ดีซ่าน
- คลำเจอก้อนในอุ้งเชิงกราน
- อาเจียนเป็นเลือด
- ปัสสาวะเป็นเลือด
ถ้ามีอาการเหล่านี้ร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งพุ่งสูงขึ้นหลายเท่า เช่น ในผู้ชาย ถ้ามีอ่อนเพลียร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 1.43 เท่า แต่ถ้าพบก้อนที่ทวารหนัก โอกาสจะสูงถึง 21 เท่า เลยทีเดียว ส่วนผู้หญิง ถ้ามีปวดหลังร่วมกับน้ำหนักลด โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 1.28 เท่า และถ้ามีก้อนในอุ้งเชิงกราน ความเสี่ยงสูงถึง 19.46 เท่า
ตรวจเลือดช่วยบอกอะไรได้บ้าง ?
นอกจากอาการแล้ว งานวิจัยยังพบว่า ค่าตรวจเลือดบางอย่างผิดปกติอาจเป็นตัวบ่งชี้มะเร็งได้ โดยเฉพาะค่าที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบหรือการเปลี่ยนแปลงของเม็ดเลือด เช่น
- อัลบูมินต่ำ (โอกาสเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้น 3.24 เท่า)
- เกล็ดเลือดสูง (3.48 เท่า)
- เม็ดเลือดขาวสูง (3.01 เท่า)
- ค่า C-reactive protein (CRP) สูง (3.13 เท่า)
แต่ไม่มีค่าตรวจเลือดไหนที่สามารถบอกได้ชัวร์ ๆ ว่าคุณไม่มีมะเร็ง เพราะฉะนั้นถ้าผลเลือดปกติ แต่ยังมีอาการที่น่าสงสัย หมออาจยังต้องตรวจเพิ่มเติม
แล้วเราควรทำยังไงต่อ ?
ถ้าแค่ผอมลงเพราะออกกำลังกายหรือกินน้อยลง ก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ และมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วย แนะนำให้รีบไปหาหมอ
- น้ำหนักลด >5% ภายใน 6-12 เดือน โดยไม่มีเหตุผล
- รู้สึกอ่อนเพลียเรื้อรัง หรือเบื่ออาหาร
- ปวดท้อง ไอเรื้อรัง กลืนลำบาก ดีซ่าน อาเจียนเป็นเลือด
- คลำเจอก้อนที่ผิดปกติ เช่น ที่อุ้งเชิงกราน หรือทวารหนัก
- ผลตรวจเลือดผิดปกติ เช่น เกล็ดเลือดสูง เม็ดเลือดขาวสูง CRP สูง
สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าคุณอายุ 50 ปีขึ้นไป (หรือ 60 ปีขึ้นไปในผู้หญิง) และน้ำหนักลดแบบไม่มีเหตุผล พร้อมอาการแปลก ๆ ควรไปพบหมอเพื่อตรวจหามะเร็ง อย่ารอให้สายเกินไป เพราะการเจอเร็ว ช่วยเพิ่มโอกาสรักษาหายได้สูง
ส่วนคนอายุน้อยกว่านี้ ถ้าไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย โอกาสเป็นมะเร็งยังต่ำอยู่ แต่ถ้ามีอาการที่กล่าวมาข้างต้น ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนที่น้ำหนักลดจะเป็นมะเร็ง อาจมีสาเหตุอื่น เช่น โรคเรื้อรัง การเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน หรือความเครียด แนะนำไปหาหมอเพื่อหาสาเหตุ ดีกว่าเสียใจทีหลัง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก หมอเจด