เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบบริษัทจีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ถล่มหลังแผ่นดินไหว เพจดังแฉยับที่ตั้งตึกแถว แต่รับงานพันล้าน

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
จากกรณี อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารสูง 30 ชั้น มูลค่าก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท ถล่มลงมาหลังเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งผู้สูญหายอีกจำนวนมากที่ยังติดอยู่ใต้ซากอาคาร ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการค้นหาและช่วยชีวิต
ล่าสุด (30 มีนาคม 2568) Thai PBS News รายงานว่า เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ได้เข้าตรวจสอบที่ตั้งบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด หรือ China Railway Number 10 (Thailand) บริเวณย่านทุ่งครุ กทม. ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่ร่วมลงทุนสร้างตึก สตง. โดยพบว่า บริษัทตั้งทำการอยู่ในตึกแถวอาคารพาณิชย์ แต่ปิดทำการ และไม่มีพนักงานหรือบุคคลมาแสดงตัว ลักษณะอาคารคล้ายโกดังจัดเก็บสินค้า มีกล้องวงจรปิดติดตั้งจำนวนมาก อีกทั้งด้านหน้าอาคารมีป้ายชื่อของบริษัทอื่น ๆ ติดอยู่ด้วย ทั้งนี้ พบว่าบริษัทแห่งนี้มีการจ้างบริษัทรายย่อยอีก 17 แห่ง
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
ด้านตัวแทนเจ้าของอาคาร อ้างว่าพนักงานทุกคนในบริษัทนี้ย้ายออกไปประมาณ 3 เดือนแล้ว เนื่องจากมีโครงการทำถนนภายในซอย ทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน
ขณะที่ทางเพจดังอย่าง Drama-addict เผยว่า ที่ตั้งของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ ที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบนั้น เป็นที่ตั้งที่จดทะเบียนไว้ในฐานข้อมูลของเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่น ๆ อย่างน้อย 9 บริษัท โดยหลายบริษัทในจำนวนนี้มีชื่อกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น เป็นคนเดียวกับที่ถือหุ้นของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบข้อมูลของบริษัทแห่งนี้บน Google กลับพบว่า เป็นสำนักงานอีกแห่งตรงย่านรัชดาภิเษก
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
ขณะเดียวกัน ทางเฟซบุ๊กเพจ CSI LA ได้เปิดภาพและข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของบริษัทดังกล่าว ภายหลังจากมีทีมงานของทางเพจไปลงสำรวจด้วยตัวเอง โดยพบข้อมูลว่า ตึกที่ทำการชั้นล่างนั้นมีลักษณะทำเป็นชิปปิ้งส่งของจากจีน ส่วนชั้น 2 ทำธุรกรรมเกี่ยวกับประมูลโครงการต่าง ๆ ของรัฐ โดยจากภาพอาคารสำนักงานตามที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่า เป็นตึกแถวธรรมดา และสภาพค่อนข้างทรุดโทรม
นอกจากนี้ เพจ CSI LA ได้เผยภาพป้ายชื่อของบริษัท 2 แผ่นที่ติดอยู่ที่ด้านหน้าของอาคาร แสดงให้เห็นว่ามีการสะกดชื่อผิด ในส่วนสำคัญที่เป็นชื่อประเทศของเจ้าของบริษัท โดยสะกดว่า "CHAINA" แทนที่จะเป็น "CHINA" ด้วยลักษณะแวดล้อมภายนอกทั้งหมดนี้ ชวนให้น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า สภาพบริษัทเช่นนี้ แต่เหตุใดถึงสามารถรับงานก่อสร้างมูลค่ามหาศาลระดับพันล้านจากภาครัฐในประเทศไทยได้
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับบริษัทและโครงการดังกล่าว
ก่อนหน้านี้มีรายงานว่า ทางบริษัทได้โพสต์รูปภาพโปรโมตความสำเร็จ "พิธีฉลองสิ้นสุดงานโครงสร้าง" ผ่านช่องทางออนไลน์ และโซเชียลมีเดีย
ภายหลังจากเทคอนกรีตชั้นสุดท้ายสำเร็จ โดยระบุว่า "โครงสร้างหลักของอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว"
เข้าสู่ขั้นตอนของการก่อสร้างตกแต่ง
ซึ่งนับเป็นโครงการอาคารสูงพิเศษแห่งแรกในต่างประเทศของบริษัท
ทั้งยังได้นำเทคโนโลยีการก่อสร้างสมัยใหม่ที่ซับซ้อนมาใช้หลายด้าน
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเหล่านี้ได้ถูกลบหายไปจนเกือบหมด
ภายหลังจากเกิดเหตุตึกถล่ม
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก GoalFore Advisory
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก GoalFore Advisory
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
![ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง. ตรวจสอบ บ.จีน ร่วมทุนสร้างตึก สตง.]()
ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiPBS , เฟซบุ๊ก Drama-addict, CSI LA

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
จากกรณี อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ ซึ่งเป็นอาคารสูง 30 ชั้น มูลค่าก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท ถล่มลงมาหลังเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา จนเป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งผู้สูญหายอีกจำนวนมากที่ยังติดอยู่ใต้ซากอาคาร ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการค้นหาและช่วยชีวิต
ล่าสุด (30 มีนาคม 2568) Thai PBS News รายงานว่า เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนกองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 ได้เข้าตรวจสอบที่ตั้งบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด หรือ China Railway Number 10 (Thailand) บริเวณย่านทุ่งครุ กทม. ซึ่งเป็นบริษัทสัญชาติจีนที่ร่วมลงทุนสร้างตึก สตง. โดยพบว่า บริษัทตั้งทำการอยู่ในตึกแถวอาคารพาณิชย์ แต่ปิดทำการ และไม่มีพนักงานหรือบุคคลมาแสดงตัว ลักษณะอาคารคล้ายโกดังจัดเก็บสินค้า มีกล้องวงจรปิดติดตั้งจำนวนมาก อีกทั้งด้านหน้าอาคารมีป้ายชื่อของบริษัทอื่น ๆ ติดอยู่ด้วย ทั้งนี้ พบว่าบริษัทแห่งนี้มีการจ้างบริษัทรายย่อยอีก 17 แห่ง

ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
ด้านตัวแทนเจ้าของอาคาร อ้างว่าพนักงานทุกคนในบริษัทนี้ย้ายออกไปประมาณ 3 เดือนแล้ว เนื่องจากมีโครงการทำถนนภายในซอย ทำให้ไม่สะดวกในการทำงาน
ขณะที่ทางเพจดังอย่าง Drama-addict เผยว่า ที่ตั้งของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ ที่เจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบนั้น เป็นที่ตั้งที่จดทะเบียนไว้ในฐานข้อมูลของเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (Department of Business Development) และยังเป็นที่ตั้งของบริษัทอื่น ๆ อย่างน้อย 9 บริษัท โดยหลายบริษัทในจำนวนนี้มีชื่อกรรมการบริษัทหรือผู้ถือหุ้น เป็นคนเดียวกับที่ถือหุ้นของบริษัท ไชน่า เรลเวย์ฯ อย่างไรก็ดี หากตรวจสอบข้อมูลของบริษัทแห่งนี้บน Google กลับพบว่า เป็นสำนักงานอีกแห่งตรงย่านรัชดาภิเษก

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
ขณะเดียวกัน ทางเฟซบุ๊กเพจ CSI LA ได้เปิดภาพและข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้งของบริษัทดังกล่าว ภายหลังจากมีทีมงานของทางเพจไปลงสำรวจด้วยตัวเอง โดยพบข้อมูลว่า ตึกที่ทำการชั้นล่างนั้นมีลักษณะทำเป็นชิปปิ้งส่งของจากจีน ส่วนชั้น 2 ทำธุรกรรมเกี่ยวกับประมูลโครงการต่าง ๆ ของรัฐ โดยจากภาพอาคารสำนักงานตามที่ปรากฏ แสดงให้เห็นว่า เป็นตึกแถวธรรมดา และสภาพค่อนข้างทรุดโทรม
นอกจากนี้ เพจ CSI LA ได้เผยภาพป้ายชื่อของบริษัท 2 แผ่นที่ติดอยู่ที่ด้านหน้าของอาคาร แสดงให้เห็นว่ามีการสะกดชื่อผิด ในส่วนสำคัญที่เป็นชื่อประเทศของเจ้าของบริษัท โดยสะกดว่า "CHAINA" แทนที่จะเป็น "CHINA" ด้วยลักษณะแวดล้อมภายนอกทั้งหมดนี้ ชวนให้น่าประหลาดใจเป็นอย่างยิ่งว่า สภาพบริษัทเช่นนี้ แต่เหตุใดถึงสามารถรับงานก่อสร้างมูลค่ามหาศาลระดับพันล้านจากภาครัฐในประเทศไทยได้


ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA

ภาพจาก GoalFore Advisory

ภาพจาก GoalFore Advisory


ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA

ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA

ภาพจาก เฟซบุ๊ก CSI LA
ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiPBS , เฟซบุ๊ก Drama-addict, CSI LA