2 วิศวกร ตั้งข้อสังเกต เหล็กที่ใช้สร้างอาคาร สตง. มีพิรุธตรงไหนบ้างจนเกิดเหตุถล่ม แค่ดูด้วยตาก็พอจับได้ทันที

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Watchara Buapetch
หนึ่งในประเด็นที่หลายคนสนใจหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว นั่นคือ สาเหตุการถล่มของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แห่งใหม่ มูลค่า 2,000 ล้าน ว่าเกิดจากอะไร วัสดุก่อสร้างมีปัญหาหรือไม่
วันที่ 31 มีนาคม 2568 เฟซบุ๊ก Watchara Buapetch ของนายวัชระ บัวเพชร วิศวกรจิตอาสา เคยทำงานที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ โครงการ BTS & MRTA & สนามบินสุวรรณภูมิ มีการโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยตั้งสมมติฐานต่าง ๆ ไว้ดังนี้

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Watchara Buapetch
อาคาร สตง. ใช้เหล็ก DB. 32 SD.50 ซึ่งเป็นเหล็กมีปัญหา คือ ตั้งแต่ผมทำงานรถไฟฟ้าใต้ดิน เหล็กชนิดนี้ ค่าผล Test จาก Lab ผลทดสอบค่า Yield ต่ำ แต่ค่า strength จะผ่าน ได้ผลทดสอบเกิน 5,000 kg/cm2 แต่ค่า Bending จะมีปัญหาปริแตก เป็นเหล็ก 2 ชั้น แข็งนอก อ่อนใน และรอยขาดจะเป็นกรวยดั่งรูป หากเหล็กถูกบิดไปมาจะปริแตก ร้าวเข้าในพื้นที่หน้าตัด ทำให้หน้าตัดเหล็ก (AS) ลดลง ค่า STRENGTH จะหายไปทันที คือเหล็กเกรดนี้ไม่เหมาะกับอาคารสูงที่มีการขยับตัว

ภาพจาก เฟซบุ๊ก คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ
เหล็กเส้น อาคาร สตง. มีชนิดสัญลักษณ์ ตัว T
สัญลักษณ์ T หมายถึงเหล็กเส้นข้ออ้อยที่ผ่านกระบวนการ
ไม่ได้ปล่อยให้เย็นตัวตามปกติ มีการสเปรย์น้ำ
มีการผ่านกระบวนการทางความร้อนเพิ่มเติม ทำให้โครงสร้างของเหล็ก T
ไม่เป็นเนื้อเดียวกันทั้งหมด ความแข็งแรงไม่เท่ากันตลอดหน้าตัด
ดังนั้น การทดสอบเหล็กชนิดนี้ทาง มอก. ไม่อนุญาตให้กลึงลดขนาดเพื่อทดสอบได้
ซึ่งต่างจากเหล็กที่มีสัญลักษณ์ Non T ที่ทาง
มอก. อนุญาตให้กลึงลดขนาดเพื่อทดสอบได้ เพราะไม่ทำให้ผลทดสอบผิดเพี้ยนไป
การผลิตเหล็กประเภทนี้จะต้องแสดงสัญลักษณ์ตัว T บนเนื้อเหล็กและป้ายสินค้าด้วย เช่น SD40T SD50T ปัจจุบัน มอก. 24 - 2559 (เหล็กเส้นข้ออ้อย) ได้ระบุให้ผู้ผลิตเหล็กเส้นใส่สัญลักษณ์ T เป็นตัวนูนบนเนื้อเหล็กและบนป้ายสินค้าด้วย เพื่อแสดงวิธีการผลิตเหล็กเส้นให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน
เหล็กประเภทมี ตัว T อาจไม่เหมาะกับอาคารสูงที่ต้องรับสภาพการแกว่ง หรือเคลื่อนไหว ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว
การผลิตเหล็กประเภทนี้จะต้องแสดงสัญลักษณ์ตัว T บนเนื้อเหล็กและป้ายสินค้าด้วย เช่น SD40T SD50T ปัจจุบัน มอก. 24 - 2559 (เหล็กเส้นข้ออ้อย) ได้ระบุให้ผู้ผลิตเหล็กเส้นใส่สัญลักษณ์ T เป็นตัวนูนบนเนื้อเหล็กและบนป้ายสินค้าด้วย เพื่อแสดงวิธีการผลิตเหล็กเส้นให้ผู้บริโภคทราบชัดเจน
เหล็กประเภทมี ตัว T อาจไม่เหมาะกับอาคารสูงที่ต้องรับสภาพการแกว่ง หรือเคลื่อนไหว ในกรณีเกิดแผ่นดินไหว

ภาพจาก เฟซบุ๊ก คนสู้ชีวิต อดีตไม่สวยหลอกนะ
วิศวกรอีกราย สังเกตการขาดของเหล็กมีปัญหา
คุณโน้ต วิศวกรอีกราย ให้มุมมองว่า การดูสาเหตุตึกถล่มต้องดูหลาย ๆ จุด
ทั้งการออกแบบ วัสดุที่ใช้ เหล็ก เพราะช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว
อาคารมีการบิดตัว การออกแบบต่าง ๆ ต้องออกแบบเพื่อให้ต้านแผ่นดินไหวได้ด้วย
ทว่าเมื่อสังเกตจากลักษณะการขาดของเหล็ก น่าจะเป็นเหล็กที่ต่ำกว่ามาตรฐาน
และเหล็กปลอกเสา ไม่ได้ทำตามหลักการการป้องกันแผ่นดินไหว