สตง. ไม่รู้มีบริษัทจีนร่วมสร้างตึก ชี้มีมติบอกเลิกสัญญาผู้รับเหมาแล้ว แต่ตึกถล่มก่อน แจงทำไมต้องสร้างใหญ่โต ซัดคนที่บอกมี 500 คน คือไม่มีความรู้

ภาพจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
วันที่ 10 เมษายน 2568 เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ และ นางพิมพา วภักดิ์เพชร รองผู้ว่า สตง. พร้อมคณะ ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เข้าชี้แจงกรณีตึก สตง. แห่งใหม่ถล่ม ต่อคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระฯ สภาผู้แทนราษฎร (ช่วงเช้า) และคณะกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ของสภาผู้แทนราษฎร (ช่วงบ่าย) หลังจากที่ นายสัญญา นิลสุพรรณ ในฐานะประธาน กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระฯ ได้เชิญผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มาชี้แจง หลังเกิดปัญหาด้านภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ พร้อมถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส
โดย นายสุทธิพงษ์ รองผู้ว่า สตง. กล่าวว่า ตนยินดีชึ้แจง เพราะมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถนนสุดสายวิ่งมาที่ สตง. แมลงวันบินผ่านก็ด่าได้ วันนี้อยากพูดข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น
สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่พิเศษ ฉะนั้นการก่อสร้างทั้งหมดต้องจ้างออกแบบ และจ้างควบคุมงาน แต่เรื่องการป้องกันแผ่นดินไหวต้องไปถามคนออกแบบ ซึ่งเขาก็บอกว่าดำเนินการแล้ว
![สตง. ลั่นไม่รู้มี บ.จีน ร่วมสร้างตึก สตง. ลั่นไม่รู้มี บ.จีน ร่วมสร้างตึก]()
ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่า มีคนแค่ 500 คน ทำไมต้องสร้างตึกใหญ่โต แสดงว่าคนที่พูดไม่มีความรู้ จริง ๆ สตง. มีพนักงาน 4,000 คน จึงต้องสร้างตึกสูงแบบนี้ เห็นเมื่อไรก็เสียใจทุกครั้ง เพราะตอนนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว
ยืนยันว่าการดำเนินการทุกอย่างยึดหลักกฎหมาย ตั้งแต่จ้างผู้ออกแบบ มีการแต่งตั้งกรรมการจ้างออกแบบ ส่งหนังสือเชิญผู้ให้บริการมา 24 ราย แต่มายื่นข้อเสนอ 3 ราย จากนั้นคณะกรรมการพิจารณาตามเกณฑ์คะแนน พบว่า บริษัท บจก.ฟอ-รัม อาร์คิเทค และ บจก.ไมนฮาร์ท ประเทศไทย ได้รับคะแนน 91.12 คะแนน จึงอนุมัติจ้างออกแบบ ในวงเงิน 73 ล้านบาท
จากนั้นคัดเลือกบริษัทควบคุมงาน
คณะกรรมการได้ส่งหนังสือเชิญผู้ให้บริการ จำนวน 19 ราย มี 5
รายที่ส่งข้อเสนอมา ระหว่างนั้น สตง.ได้ขอเข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรมด้วย
แต่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต แจ้งไม่คัดเลือกตึก
สตง.เข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรม
ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้าง ก็เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีผู้เข้าประกวดราคา 16 ราย แต่ "กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี" เป็นผู้ชนะการประกวดราคา โดยไม่พบช่องว่ามีการฮั้ว
![สตง. ลั่นไม่รู้มี บ.จีน ร่วมสร้างตึก สตง. ลั่นไม่รู้มี บ.จีน ร่วมสร้างตึก]()
ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
คำตอบที่ได้รับ คือบริษัทดังกล่าวมีทุน และเทคโนโลยีจากจีน อีกทั้งบริษัทก็อ้างว่าทำงานได้ นอกจากนี้เพื่อความโปร่งใส สตง.ยังได้ทำ MOU กับ ACT องค์การต่อต้านคอรัปชั่น ประเทศไทย เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบร่วมด้วย
สำหรับระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี มีการขยาย 2 ครั้งเนื่องจากโควิดและมีการปรับรูปแบบ ผ่านไป 4 ปีเพิ่งได้ 33% เพราะผู้รับเหมาก่อสร้างมีปัญหาเรื่องทุน คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ จึงมีมติบอกเลิกสัญญา ในวันที่ 15 มกราคม 2568 โดยอยู่ระหว่างการเสนอผู้มีอำนาจดำเนินการ แต่ปรากฏว่ามาเกิดเหตุเสียก่อน
ยืนยันว่า หน่วยงานไม่เคยรู้เรื่องบริษัทจีนที่มาร่วม เพราะอิตาเลียนไทยออกหน้ามาตลอด สตง. ยังดีใจอยู่เลยที่ได้บริษัทที่มีระดับเบอร์ 1 ของประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว

ภาพจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
วันที่ 10 เมษายน 2568 เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว รายงานว่า นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ และ นางพิมพา วภักดิ์เพชร รองผู้ว่า สตง. พร้อมคณะ ได้รับมอบหมายจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้เข้าชี้แจงกรณีตึก สตง. แห่งใหม่ถล่ม ต่อคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระฯ สภาผู้แทนราษฎร (ช่วงเช้า) และคณะกรรมาธิการติดตามงบประมาณ ของสภาผู้แทนราษฎร (ช่วงบ่าย) หลังจากที่ นายสัญญา นิลสุพรรณ ในฐานะประธาน กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระฯ ได้เชิญผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน มาชี้แจง หลังเกิดปัญหาด้านภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือ พร้อมถูกตั้งคำถามถึงความโปร่งใส
โดย นายสุทธิพงษ์ รองผู้ว่า สตง. กล่าวว่า ตนยินดีชึ้แจง เพราะมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ถนนสุดสายวิ่งมาที่ สตง. แมลงวันบินผ่านก็ด่าได้ วันนี้อยากพูดข้อเท็จจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้น
สำหรับโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่พิเศษ ฉะนั้นการก่อสร้างทั้งหมดต้องจ้างออกแบบ และจ้างควบคุมงาน แต่เรื่องการป้องกันแผ่นดินไหวต้องไปถามคนออกแบบ ซึ่งเขาก็บอกว่าดำเนินการแล้ว

ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
ส่วนที่มีการตั้งคำถามว่า มีคนแค่ 500 คน ทำไมต้องสร้างตึกใหญ่โต แสดงว่าคนที่พูดไม่มีความรู้ จริง ๆ สตง. มีพนักงาน 4,000 คน จึงต้องสร้างตึกสูงแบบนี้ เห็นเมื่อไรก็เสียใจทุกครั้ง เพราะตอนนี้ไม่มีให้เห็นแล้ว
ยืนยันว่าการดำเนินการทุกอย่างยึดหลักกฎหมาย ตั้งแต่จ้างผู้ออกแบบ มีการแต่งตั้งกรรมการจ้างออกแบบ ส่งหนังสือเชิญผู้ให้บริการมา 24 ราย แต่มายื่นข้อเสนอ 3 ราย จากนั้นคณะกรรมการพิจารณาตามเกณฑ์คะแนน พบว่า บริษัท บจก.ฟอ-รัม อาร์คิเทค และ บจก.ไมนฮาร์ท ประเทศไทย ได้รับคะแนน 91.12 คะแนน จึงอนุมัติจ้างออกแบบ ในวงเงิน 73 ล้านบาท
ขณะที่การจัดซื้อจัดจ้าง ก็เป็นไปตามเงื่อนไขของกรมบัญชีกลาง ซึ่งมีผู้เข้าประกวดราคา 16 ราย แต่ "กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี" เป็นผู้ชนะการประกวดราคา โดยไม่พบช่องว่ามีการฮั้ว

ภาพจาก Lillian SUWANRUMPHA / AFP
คำตอบที่ได้รับ คือบริษัทดังกล่าวมีทุน และเทคโนโลยีจากจีน อีกทั้งบริษัทก็อ้างว่าทำงานได้ นอกจากนี้เพื่อความโปร่งใส สตง.ยังได้ทำ MOU กับ ACT องค์การต่อต้านคอรัปชั่น ประเทศไทย เพื่อให้เข้ามาตรวจสอบร่วมด้วย
สำหรับระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี มีการขยาย 2 ครั้งเนื่องจากโควิดและมีการปรับรูปแบบ ผ่านไป 4 ปีเพิ่งได้ 33% เพราะผู้รับเหมาก่อสร้างมีปัญหาเรื่องทุน คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ จึงมีมติบอกเลิกสัญญา ในวันที่ 15 มกราคม 2568 โดยอยู่ระหว่างการเสนอผู้มีอำนาจดำเนินการ แต่ปรากฏว่ามาเกิดเหตุเสียก่อน
ยืนยันว่า หน่วยงานไม่เคยรู้เรื่องบริษัทจีนที่มาร่วม เพราะอิตาเลียนไทยออกหน้ามาตลอด สตง. ยังดีใจอยู่เลยที่ได้บริษัทที่มีระดับเบอร์ 1 ของประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว