เด็ก 3 ขวบท้องผูก สะพรึงอ้วกออกมาเป็นพยาธิ ผ่าตัดออกมาได้เต็ม ๆ 3 ถ้วย เผยที่มาได้รับพยาธิ ใช้ชีวิตไม่ถูกสุขลักษณะ

ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
วันที่ 14 เมษายน 2568 เว็บไซต์ MS News รายงานกรณีของเด็กชายวัย 3 ขวบ ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในเมืองเจมเบอร์ ประเทศอินโดนีเซีย หลังมีอาการท้องอืดร่วมกับท้องผูก อีกทั้ง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าเด็กชายยังมีอาการท้องเสียและมีไข้ อย่างไรก็ตาม หลังดูอาการในโรงพยาบาลได้ 1 วัน เด็กชายก็อาเจียนออกมาเป็นพยาธิ
เรื่องราวที่ถูกเผยแพร่ทางวารสารทางการแพทย์ Journal of Medical Case Reports บอกเล่าเคสที่ทีมแพทย์พบเจอในโรงพยาบาล Soebandi General Hospital โดยช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเข้าโรงพยาบาล เด็กชายท้องเสียและมีไข้ ผู้ปกครองได้พาไปให้สถาบันดูแลสุขภาพเบื้องต้นดูอาการ มีการวินิจฉัยว่าเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ แต่หลังจากนั้น 1 วัน เด็กชายก็เริ่มมีอาการไม่สบายท้องและท้องอืด
![เด็ก 3 ขวบท้องผูก เด็ก 3 ขวบท้องผูก]()
ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
กระทั่งวันที่มาโรงพยาบาล เด็กชายจึงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีอาการท้องผูกร่วมด้วย จากนั้นระหว่างอยู่ดูอาการที่โรงพยาบาล เด็กชายก็อาเจียนออกมาเป็นพยาธิ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) ซึ่งเป็นพยาธิตัวกลมขนาดใหญ่
ผลการตรวจเลือดแสดงให้เห็นว่า เด็กมีภาวะโลหิตจางและเม็ดเลือดขาวสูง ขณะที่ผลการเอกซเรย์ช่องท้อง แสดงให้เห็นการอุดตันในลำไส้ของเด็กชาย ทีมแพทย์จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษา
![เด็ก 3 ขวบท้องผูก เด็ก 3 ขวบท้องผูก]()
ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
โดยระหว่างผ่าตัดเปิดช่องท้อง แพทย์พบการอุดตันในสำไส้ 3 จุด สุดท้ายแพทย์สามารถนำพยาธิไส้เดือนออกมาจากตัวเด็กชายได้ ซึ่งพยาธินี้มีจำนวนเยอะมากถึง 3 ชาม
ทั้งนี้ หลังการผ่าตัด เด็กชายได้รับยาปฏิชีวนะและยาถ่ายพยาธิ ก่อนจะออกจากโรงพยาบาลได้ใน 7 วันหลังการผ่าตัด
![เด็ก 3 ขวบท้องผูก เด็ก 3 ขวบท้องผูก]()
ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
รายงานเผยว่า การติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายมักเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์ได้รับไข่พยาธิโดยไม่ได้ตั้งใจ ผ่าการสัมผัสกับดินที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือการบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุการติดเชื้อของเด็กชาย
จากการสอบถามข้อมูล ทราบว่าเด็กชายเคยอาศัยอยู่ที่บาหลี และมักจะไปเล่นกับเพื่อน ๆ ที่แม่น้ำเกือบทุกวันโดยไม่สวมรองเท้า และเมื่อย้ายมาอยู่ในเมืองเจมเบอร์ เด็กชายก็จะตามปู่ย่าไปเก็บขยะในหลุมฝังกลบ โดยใช้มือเปล่าสัมผัส รวมถึงแม้ของเด็กยังมักใช้มือป้อนอาหารให้ลูก และให้ลูกดื่มน้ำจากแหล่งธรรมาชาติโดยไม่ผ่านการต้มสุก ดังนั้น หากดูแลด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น ร่วมกับการใช้ยาถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 เดือน อาจช่วยลดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก MS News, Supangat, S., Tohari, A.I., Aisy, R. et al. Intestinal obstruction due to Ascaris lumbricoides in child: a case report. J Med Case Reports 19, 171 (2025)

ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
วันที่ 14 เมษายน 2568 เว็บไซต์ MS News รายงานกรณีของเด็กชายวัย 3 ขวบ ที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในเมืองเจมเบอร์ ประเทศอินโดนีเซีย หลังมีอาการท้องอืดร่วมกับท้องผูก อีกทั้ง 1 สัปดาห์ก่อนหน้าเด็กชายยังมีอาการท้องเสียและมีไข้ อย่างไรก็ตาม หลังดูอาการในโรงพยาบาลได้ 1 วัน เด็กชายก็อาเจียนออกมาเป็นพยาธิ
เรื่องราวที่ถูกเผยแพร่ทางวารสารทางการแพทย์ Journal of Medical Case Reports บอกเล่าเคสที่ทีมแพทย์พบเจอในโรงพยาบาล Soebandi General Hospital โดยช่วง 1 สัปดาห์ก่อนเข้าโรงพยาบาล เด็กชายท้องเสียและมีไข้ ผู้ปกครองได้พาไปให้สถาบันดูแลสุขภาพเบื้องต้นดูอาการ มีการวินิจฉัยว่าเกิดการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ แต่หลังจากนั้น 1 วัน เด็กชายก็เริ่มมีอาการไม่สบายท้องและท้องอืด

ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
กระทั่งวันที่มาโรงพยาบาล เด็กชายจึงให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามีอาการท้องผูกร่วมด้วย จากนั้นระหว่างอยู่ดูอาการที่โรงพยาบาล เด็กชายก็อาเจียนออกมาเป็นพยาธิ แพทย์จึงวินิจฉัยว่าเขาเป็นโรคพยาธิไส้เดือน (Ascariasis) ซึ่งเป็นพยาธิตัวกลมขนาดใหญ่
ผลการตรวจเลือดแสดงให้เห็นว่า เด็กมีภาวะโลหิตจางและเม็ดเลือดขาวสูง ขณะที่ผลการเอกซเรย์ช่องท้อง แสดงให้เห็นการอุดตันในลำไส้ของเด็กชาย ทีมแพทย์จึงต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษา

ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
โดยระหว่างผ่าตัดเปิดช่องท้อง แพทย์พบการอุดตันในสำไส้ 3 จุด สุดท้ายแพทย์สามารถนำพยาธิไส้เดือนออกมาจากตัวเด็กชายได้ ซึ่งพยาธินี้มีจำนวนเยอะมากถึง 3 ชาม
ทั้งนี้ หลังการผ่าตัด เด็กชายได้รับยาปฏิชีวนะและยาถ่ายพยาธิ ก่อนจะออกจากโรงพยาบาลได้ใน 7 วันหลังการผ่าตัด

ภาพจาก Journal of Medical Case Reports
รายงานเผยว่า การติดเชื้อพยาธิเส้นด้ายมักเกิดขึ้น เมื่อมนุษย์ได้รับไข่พยาธิโดยไม่ได้ตั้งใจ ผ่าการสัมผัสกับดินที่ปนเปื้อนอุจจาระ หรือการบริโภคอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นสาเหตุการติดเชื้อของเด็กชาย
จากการสอบถามข้อมูล ทราบว่าเด็กชายเคยอาศัยอยู่ที่บาหลี และมักจะไปเล่นกับเพื่อน ๆ ที่แม่น้ำเกือบทุกวันโดยไม่สวมรองเท้า และเมื่อย้ายมาอยู่ในเมืองเจมเบอร์ เด็กชายก็จะตามปู่ย่าไปเก็บขยะในหลุมฝังกลบ โดยใช้มือเปล่าสัมผัส รวมถึงแม้ของเด็กยังมักใช้มือป้อนอาหารให้ลูก และให้ลูกดื่มน้ำจากแหล่งธรรมาชาติโดยไม่ผ่านการต้มสุก ดังนั้น หากดูแลด้านสุขอนามัยที่ดีขึ้น ร่วมกับการใช้ยาถ่ายพยาธิทุก ๆ 3 เดือน อาจช่วยลดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนได้
ขอบคุณข้อมูลจาก MS News, Supangat, S., Tohari, A.I., Aisy, R. et al. Intestinal obstruction due to Ascaris lumbricoides in child: a case report. J Med Case Reports 19, 171 (2025)