จับแก๊งฟอกเงินคริปโต 8 จุดทั่วประเทศ พบเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท เอี่ยวยาเสพติด คอลเซ็นเตอร์ เรียกค่าไถ่ สารพัดสีเทาจากต่างชาติ

ภาพจาก ช่อง 3
วันที่ 24 เมษายน 2568 ช่อง 3 รายงานว่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ. แถลงผลการปฏิบัติ Crypto Phantom เปิดหน้ากากร้านแลกเหรียญเถื่อน ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาชญากรรมอุ้ม ปล้น เรียกค่าไถ่ และฟอกเงิน มีเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท
ปฏิบัติการดังกล่าว มีการออกหมายค้น 8 จุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ, ชลบุรี, ภูเก็ต สามารถยึดของกลางได้หลายรายการ เช่น คอมพิวเตอร์ สมุดบัญชีธนาคาร โทรศัพท์มือถือ กล้องวงจรปิด เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน ภาษี สกุลเงินคริปโต
หนึ่งในหลักฐานสำคัญที่ยึดได้คือ มีวัตถุวงกลมทำเป็นรูปเหรียญคริปโตจำนวนมาก ยึดได้จากตู้เซฟแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต กำลังตรวจสอบว่า เป็นเหรียญทองหรือทำจากวัสดุอะไร
เข้าสู่การสืบค้น
จุดเริ่มต้นของคดีดังกล่าว มาจากการที่ตำรวจสืบสวนพบว่า มีร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งแอบแฝงการให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือว่าผิดกฎหมาย
![จับแก๊งฟอกเงินคริปโต 8 จุดทั่วประเทศ พบเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท จับแก๊งฟอกเงินคริปโต 8 จุดทั่วประเทศ พบเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท]()
ภาพจาก ช่อง 3
การแลกเปลี่ยนนี้จะมีชาวต่างชาติ เช่น รัสเซียหรือจีน
นำเงินมาแลกเปลี่ยนผ่านร้าน ส่วนที่มาของเงิน
จะมาจากการกระทำธุรกิจที่ผิดกฎหมาย เช่น ยาเสพติด คอลเซ็นเตอร์ เรียกค่าไถ่
การทำแบบนี้สามารถหลีกเลี่ยงธุรกรรมทางการเงินและภาษีได้
ผลการตรวจสอบทั้ง 8 เป้าหมาย พบว่า มีการทำธุรกรรมมากกว่า 1,000 รายการ มีเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท มีระบบการแลกโดยใช้กระเป๋าบล็อกเชนแบบไม่ระบุตัวตนในลักษณะของบัญชีม้า และเงินที่ฟอก มีการนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.ชลบุรี บางส่วนพบว่าพัวพันคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อีก 10 คดี
สิ่งหนึ่งที่เป้าหมาย 8 ร้านมีร่วมกันคือ มีเจ้าของและกรรมการผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย และมีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ นำเงินคู่สมรสมาหมุนเวียน ตอนนี้ อยู่ระหว่างการออกหมายเรียกเจ้าของร้านและกรรมการผู้ถือหุ้น 12 คนมาสอบปากคำ เบื้องต้นพบว่า มีอย่างน้อย 5 รายมีความผิด
สำหรับโทษของคดีดังกล่าว จำคุกสูงสุด 2-5 ปี ปรับตั้งแต่ 2 แสนถึง 5 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท รวมถึงมีความผิดอื่น ๆ เช่น คดีฟอกเงินและกฎหมายฉ้อโกง
ขอบคุณข้อมูลจาก ช่อง 3

ภาพจาก ช่อง 3
วันที่ 24 เมษายน 2568 ช่อง 3 รายงานว่า กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ บก.ปอศ. แถลงผลการปฏิบัติ Crypto Phantom เปิดหน้ากากร้านแลกเหรียญเถื่อน ซึ่งเป็นต้นเหตุของอาชญากรรมอุ้ม ปล้น เรียกค่าไถ่ และฟอกเงิน มีเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท
ปฏิบัติการดังกล่าว มีการออกหมายค้น 8 จุด ในพื้นที่กรุงเทพฯ, ชลบุรี, ภูเก็ต สามารถยึดของกลางได้หลายรายการ เช่น คอมพิวเตอร์ สมุดบัญชีธนาคาร โทรศัพท์มือถือ กล้องวงจรปิด เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียน ภาษี สกุลเงินคริปโต
หนึ่งในหลักฐานสำคัญที่ยึดได้คือ มีวัตถุวงกลมทำเป็นรูปเหรียญคริปโตจำนวนมาก ยึดได้จากตู้เซฟแห่งหนึ่งใน จ.ภูเก็ต กำลังตรวจสอบว่า เป็นเหรียญทองหรือทำจากวัสดุอะไร
เข้าสู่การสืบค้น
จุดเริ่มต้นของคดีดังกล่าว มาจากการที่ตำรวจสืบสวนพบว่า มีร้านรับแลกเปลี่ยนเงินตราซึ่งแอบแฝงการให้บริการแลกเปลี่ยนคริปโตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถือว่าผิดกฎหมาย

ภาพจาก ช่อง 3
ผลการตรวจสอบทั้ง 8 เป้าหมาย พบว่า มีการทำธุรกรรมมากกว่า 1,000 รายการ มีเงินหมุนเวียน 1.4 หมื่นล้านบาท มีระบบการแลกโดยใช้กระเป๋าบล็อกเชนแบบไม่ระบุตัวตนในลักษณะของบัญชีม้า และเงินที่ฟอก มีการนำไปซื้ออสังหาริมทรัพย์ที่ จ.ภูเก็ต และ จ.ชลบุรี บางส่วนพบว่าพัวพันคดีแก๊งคอลเซ็นเตอร์อีก 10 คดี
สิ่งหนึ่งที่เป้าหมาย 8 ร้านมีร่วมกันคือ มีเจ้าของและกรรมการผู้ถือหุ้นเป็นคนไทย และมีคู่สมรสเป็นชาวต่างชาติ นำเงินคู่สมรสมาหมุนเวียน ตอนนี้ อยู่ระหว่างการออกหมายเรียกเจ้าของร้านและกรรมการผู้ถือหุ้น 12 คนมาสอบปากคำ เบื้องต้นพบว่า มีอย่างน้อย 5 รายมีความผิด
สำหรับโทษของคดีดังกล่าว จำคุกสูงสุด 2-5 ปี ปรับตั้งแต่ 2 แสนถึง 5 แสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 1 หมื่นบาท รวมถึงมีความผิดอื่น ๆ เช่น คดีฟอกเงินและกฎหมายฉ้อโกง
ขอบคุณข้อมูลจาก ช่อง 3