การคิดคะแนน Admissions




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

         การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบกลาง (Admissions) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กำหนดให้พิจารณาคัดเลือกผู้สมัครโดยใช้ 

          1. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า มีค่าน้ำหนักร้อยละ 10 

          2. ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (3 – 5 กลุ่ม) ให้ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 20 

          3. ผลการสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (O-NET) ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 35 - 70 

          4. ผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET) และ / หรือวิชาเฉพาะ ไม่เกิน 3 วิชา ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 0 - 35 

          5. ผลการสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาความพร้อมและความเหมาะสม ก่อนรับเข้าศึกษา ไม่คิดค่าน้ำหนักคะแนน 

          การกำหนดสัดส่วนค่าน้ำหนักระหว่างคะแนนวิชา O-NET วิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะให้คิดตามที่ คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนดไว้

 การคิดคะแนนสอบวิชา O-NET วิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ 

          คะแนนทุกวิชาที่นำมาคิดจะต้องผ่านเกณฑ์ที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนดไว้ หากไม่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ จะไม่รับพิจารณา

วิธีคิด 

          1. ให้นำคะแนนสอบวิชา O-NET วิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ ของผู้สมัคร คูณกับค่าน้ำหนัก ของแต่ละวิชาที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนด 

          2. นำคะแนนที่คูณกับค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วตามข้อ 1 มารวมกัน จะได้คะแนนรวมวิชา O-NETวิชา A-NET และ / หรือวิชาเฉพาะ

          3. คะแนนเต็มแต่ละวิชามีค่าเท่ากับ 100 คูณกับค่าน้ำหนักของวิชานั้นๆ

 วิธีการคิดคะแนน

            ตัวอย่างการคิดคะแนนในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ กำหนดให้สอบ O-NET 5 วิชา และ วิชาเฉพาะ 1 วิชา คือ วิชา 01 02 03 04 05 แต่ละวิชาให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 8 และวิชา 38 ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 30 

          สมมุติให้ผู้สมัครได้คะแนนวิชา 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 04 = 81.00, 05 = 87.00, 38 = 70.00

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำคะแนนของผู้สมัครคูณกับค่าน้ำหนักแต่ละวิชา ดังนี้
 

          คะแนน O-NET วิชา 01 (63.00 X 8) = 504, วิชา 02 (75.00 X 8) = 600, วิชา 03 (71.00 X 8) = 568, วิชา 04 (81.00 X 8) = 648, วิชา 05 (87.00 X 8) = 696 คะแนนวิชาเฉพาะ วิชา 38 (70.00 X 30) = 2100

 ขั้นที่ 2 นำคะแนนที่คูณด้วยค่าน้ำหนักแล้วมารวมกัน จะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนน O-NET (504+600+568+648+696) = 3016 คะแนนวิชาเฉพาะ = 2100

          ตัวอย่างการคิดคะแนนในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

          คณะนิติศาสตร์ กำหนดให้สอบ O-NET 3 วิชา และ A-NET 1 วิชา คือ วิชา 01 ให้ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 18 วิชา 02 ให้ ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 19 วิชา 03 ให้ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 18 และวิชา 14 ให้ค่าน้ำหนักร้อยละ 15 

          สมมุติให้ผู้สมัครได้คะแนนวิชา 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 14 = 57.00

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำคะแนนของผู้สมัครคูณกับค่าน้ำหนักแต่ละวิชา ดังนี้
 

          คะแนน O-NET วิชา 01 (63.00 X 18) = 1134, วิชา 02 (75.00 X 19) = 1425, วิชา 03 (71.00 X 18) = 1278 คะแนน A-NET วิชา 14 (57.00 X 15) = 855

 ขั้นที่ 2 นำคะแนนที่คูณด้วยค่าน้ำหนักแล้วมารวมกัน จะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนน O-NET (1134+1425+1278) = 3837 คะแนน A-NET = 855

          ตัวอย่างการคิดคะแนนในคณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

          คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ กำหนดให้สอบ O-NET 5 วิชา และ วิชาเฉพาะ 2 วิชา คือวิชา 01 02 03 04 05 แต่ละวิชาให้ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 7 และวิชา 43 44 แต่ละวิชา ให้ค่าน้ำหนัก ร้อยละ 17.5 

          สมมุติให้ผู้สมัครได้คะแนนวิชา 01 = 63.00, 02 = 75.00, 03 = 71.00, 04 = 81.00, 05 = 87.00, 43 = 59.00, 44 = 60.00

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำคะแนนของผู้สมัครคูณกับค่าน้ำหนักแต่ละวิชา ดังนี้
 

          คะแนน O-NET วิชา 01 (63.00 X 7) = 441, วิชา 02 (75.00 X 7) = 525, วิชา 03 (71.00 X 7) = 497, วิชา 04 (81.00 X 7) = 567, วิชา 05 (87.00 X 7) = 609 คะแนนวิชาเฉพาะ วิชา 43 (59.00 X 17.5) = 1032.50, วิชา 44 (60.00 X 17.5) = 1050

 ขั้นที่ 2 นำคะแนนที่คูณด้วยค่าน้ำหนักแล้วมารวมกัน จะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนน O-NET (441+525+497+567+609) = 2639 คะแนนวิชาเฉพาะ (1032.50+1050) = 2082.50

 การคิดคะแนน GPAX และ GPA กลุ่มสาระ 

          ในการคัดเลือก กำหนดให้ใช้ผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (GPAX) ร้อยละ 10 และผลการเรียนเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายแยกตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) ร้อยละ 20 การคิดคะแนนส่วนนี้ให้คิดเทียบคะแนนเต็มเป็น 100 คะแนน

วิธีคิด 

          1. ให้นำผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) และผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) คูณด้วย 25 เพื่อแปลงค่าผลการเรียนเฉลี่ยเป็นคะแนนจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน (คิดโดยเทียบ GPA = 4 มีค่าเท่ากับ 100 คะแนน  ดังนั้น GPA ของผู้สมัครจึงมีค่าเท่ากับ (GPA ของผู้สมัคร X 100 หารด้วย 4) หรือ มีค่าเท่ากับ GPA ของผู้สมัคร คูณด้วย 25) 

          2. ให้นำผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) และผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) ที่แปลงค่าเป็นคะแนน แล้ว คูณกับ ค่าน้ำหนัก ของ GPAX และ GPA กลุ่มสาระตาม ที่คณะ / ประเภทวิชานั้นๆ กำหนด 

          3. นำค่าคะแนน GPA กลุ่มสาระ ที่แปลงเป็นคะแนนและคูณด้วยค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วมารวมกัน จะได้คะแนนรวม GPA กลุ่มสาระ 

          4. คะแนนเต็ม GPAX เท่ากับ 100 X 10 = 1000 คะแนนเต็ม GPA กลุ่มสาระแต่ละกลุ่ม เท่ากับ 100 คูณด้วย ค่าน้ำหนักของกลุ่มสาระนั้น

          ตัวอย่างการคิดคะแนน GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ กำหนดให้ใช้ GPA กลุ่มสาระ 5 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มสาระภาษาไทย (21), สังคม (22), ภาษาต่างประเทศ (23), คณิตศาสตร์ (24), วิทยาศาสตร์ (25) โดยคิดค่าน้ำหนัก กลุ่มสาระ 21 = 2.5, 22 = 2.5, 23 = 5, 24 = 5, 25 = 5 

          สมมุติให้ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93, ผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระ 21 = 3.10, 22 = 2.72,23 = 3.33, 24 = 2.69, 25 = 3.65

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำค่า GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ของผู้สมัคร คูณด้วย 25 จะได้คะแนนดังนี้
 

          คะแนน ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (2.93 X 25) = 73.25 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ กลุ่มสาระภาษาไทย (3.10 X 25) = 77.50, สังคม (2.72 X 25) = 68.00, ภาษาต่างประเทศ (3.33 X 25) = 83.25, คณิตศาสตร์ (2.69 X 25) = 67.25, วิทยาศาสตร์ (3.65 X 25) = 91.25

 ขั้นที่ 2 นำคะแนน GPAX และ คะแนน GPA กลุ่มสาระ คูณด้วยค่าน้ำหนักตามที่คณะ / ประเภทวิชากำหนด ดังนี้ 

          คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (73.25 X 10) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ กลุ่มสาระภาษาไทย (77.50 X 2.5) = 193.75, สังคม (68.00 X 2.5) = 170.00, ภาษาต่างประเทศ (83.25 X 5) = 416.25, คณิตศาสตร์ (67.25 X 5) = 336.25, วิทยาศาสตร์ (91.25 X 5) = 456.25

 ขั้นที่ 3 นำค่า GPA ที่แปลงเป็นคะแนนและคูณด้วยค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วมารวมกันจะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) (193.75+170.00+416.25+336.25+456.25) = 1572.50

          ตัวอย่างการคิดคะแนน GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ในคณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

          คณะวิจิตรศิลป์ สาขาวิชาการออกแบบ กำหนดให้ใช้ GPA กลุ่มสาระ 3 กลุ่ม คือ ภาษาไทย (21), สังคม (22), ภาษาต่างประเทศ (23) โดยคิดค่าน้ำหนักกลุ่มสาระ 21 = 6, 22 = 6, 23 = 8 

          สมมุติให้ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93, ผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระ 21 = 3.10, 22 = 2.72, และ 23 = 3.33

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำค่า GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ของผู้สมัคร คูณด้วย 25 จะได้คะแนนดังนี้ 

          คะแนน ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (2.93 X 25) = 73.25 คะแนน ผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ ประกอบด้วยกลุ่มสาระภาษาไทย (3.10 X 25) = 77.50, กลุ่มสาระ สังคม (2.72 X 25) = 68.00, กลุ่มสาระ ภาษาต่างประเทศ (3.33 X 25) = 83.25

 ขั้นที่ 2 นำคะแนน GPAX และ คะแนน GPA กลุ่มสาระ คูณด้วยค่าน้ำหนักตามที่คณะ / ประเภทวิชากำหนด ดังนี้ 

          คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (73.25 X 10) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ กลุ่มสาระภาษาไทย (77.50 X 6) = 465.00, สังคม (68.00 X 6) = 408.00, กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ (83.25 X 8) = 666.00

 ขั้นที่ 3 นำค่า GPA ที่แปลงเป็นคะแนนและคูณด้วยค่าน้ำหนักแล้วมารวมกันจะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนน ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) (465.00+ 408.00+666.00) = 1539

          ตัวอย่างการคิดคะแนน GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

          คณะนิติศาสตร์ กำหนดให้ใช้ GPA กลุ่มสาระ 3 กลุ่ม คือภาษาไทย (21), สังคม (22), ภาษาต่างประเทศ (23) โดยคิดค่าน้ำหนักกลุ่มสาระ 21 = 7, 22 = 6, 23 = 7 

          สมมุติให้ผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 2.93, ผลการเรียนเฉลี่ยกลุ่มสาระ 21 = 3.10, 22 = 2.72, และ 23 = 3.33

วิธีคิด

 ขั้นที่ 1 นำค่า GPAX และ GPA กลุ่มสาระ ของผู้สมัคร คูณด้วย 25 จะได้คะแนนดังนี้ 

          คะแนน ผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (2.93 X 25) = 73.25 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ ประกอบด้วยกลุ่มสาระภาษาไทย (3.10 X 25) = 77.50, กลุ่มสาระ สังคม (2.72 X 25) = 68.00, กลุ่มสาระ ภาษาต่างประเทศ (3.33 X 25) = 83.25

 ขั้นที่ 2 นำคะแนน GPAX และ คะแนน GPA กลุ่มสาระ คูณด้วยค่าน้ำหนักตามที่คณะ / ประเภทวิชากำหนด ดังนี้ 

          คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) (73.25 X 10) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ กลุ่มสาระภาษาไทย (77.50 X 7) = 542.50, กลุ่มสาระสังคม (68.00 X 6) = 408.00, กลุ่มสาระ ภาษาต่างประเทศ (83.25 X 7) = 582.75 

 ขั้นที่ 3 นำค่า GPA ที่แปลงเป็นคะแนนและคูณด้วยค่าน้ำหนักเรียบร้อยแล้วมารวมกันจะได้คะแนนรวมดังนี้ 

          คะแนนผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) = 732.50 คะแนนผลการเรียนเฉลี่ยตามกลุ่มสาระ (GPA กลุ่มสาระ) (542.50+ 408.00+582.75) = 1533.25

 การคิดคะแนนรวม 

          คะแนนรวม = คะแนน GPAX + คะแนน GPA กลุ่มสาระ + คะแนน O-NET + คะแนน A-NET และ / หรือ คะแนนวิชาเฉพาะ

ตัวอย่าง

          สมมุติผู้สมัครมีผลการเรียนเฉลี่ย ( GPAX ) = 2.93 , GPA กลุ่มสาระ 21 = 3.10 , 22 = 2.72 , 23 = 3.33 , 24 = 2.69 , 25 = 3.65 , คะแนน O-NET วิชา 01 = 63.00 , 02 = 75.00 , 03 = 71.00 , 04 = 81.00 , 05 = 87.00 , คะแนน A-NET วิชา 14 = 57.00, คะแนนวิชาเฉพาะ 38 = 70.00, 43 = 59.00, 44 = 60.00

 เมื่อคิดคะแนนการสมัครคัดเลือกฯในคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผู้สมัครจะได้คะแนนรวมดังนี้



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
eduzones.com

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
การคิดคะแนน Admissions อัปเดตล่าสุด 8 เมษายน 2552 เวลา 08:08:57 101,520 อ่าน
TOP
x close