บางกอกแอร์เวย์ส
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ, หนังสือพิมพ์คมชัดลึก,arejug.blogspot.com,skycontrol.net,chang palace
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม เวลา 14.30 น. เกิดอุบัติเหตุเครื่องบิ
ทั้งนี้ เที่ยวบินดังกล่าวของสายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ได้เดินทางออกจากสนามบิ
โดย นายเสนีย์ ภูวเศรษฐาวร ประธานสมาคมส่งเสริมการท่องเที่
"ขณะที่กำลังนั่งรอขึ้นเครื่อง เพื่อจะเดินทางไปกรุงเทพฯ ช่วงก่อนเกิดเหตุมีลมแรงมาก มีฝนตกเล็กน้อย ซึ่งได้สอบถามพนักงานว่าเครื่
บางกอกแอร์เวย์ส
เช่นเดียวกับ นายอิสระ อายุ 45 ปี ผู้เห็นเหตุการณ์ เล่าว่า ขณะที่คุมงานก่อสร้างอยู่ใกล้
"ผมสังเกตเห็นเครื่องบินเริ่มส่
บางกอกแอร์เวย์ส
ผู้เห็นเหตุการณ์รายเดิมกล่าวอี
จากนั้นเวลา 17.00 น. สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส ได้จัดเถลงข่าวด่วน โดยนายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายการบิน บางกอกแอร์เวย์ส เปิดเผยว่า เครื่องบิน บางกอกแอร์เวย์ส ที่ประสบเหตุดังกล่าวเป็นรุ่น เอทีอาร์ 72-500 ซีรี่ย์นัมเบอร์ เอ็มเอสเอ็น 670 ใช้งานมาแล้ว 8 ปี ซึ่งถือว่าไม่นาน
"อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในครั้
"กัปตันชาติชายอยู่กั
บางกอกแอร์เวย์ส
อย่างไรก็ตาม บางกอกแอร์เวย์ส ได้ทำประกั
ทั้งนี้ มีการรายงานรายชื่อผู้ได้รั
ส่วนที่โรงพยาบาลกรุงเทพสมุย มี 7 ราย ได้แก่. 1.นายธนวัฒน์ เปรมฤดี อายุ 35 ปี ผู้ช่วยนักบิน ที่ติดในเครื่องนานที่สุดกว่
บางกอกแอร์เวย์ส
ล่าสุด นายชัยศักดิ์ อังสุวรรณ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ เปิดเผยว่า ได้พบกล่องดำของเครื่องบินลำที่ประสบอุบัติ
อย่างไรก็ตาม สำหรับเมืองไทย เคยเกิดอุบัติเหตุกับเครื่องบินสายการบินพาณิชย์มาแล้วหลายครั้ง โดยเครื่องบินตกครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2494 เมื่อเครื่องบินดักลาส ดีซี 3 ของบริษัทแอร์สยาม ตกที่ฮ่องกง อันเป็นผลจากการที่มีหมอกลงจัด และทำให้ลูกเรือ นักบิน และผู้โดยสาร 16 คน เสียชีวิต และในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา จากการรวบรวมข้อมูลของสื่อมวลชนต่างๆ เกิดอุบัติเหตุใหญ่ๆ ทั้งสิ้น 6 ครั้ง โดย 4 ครั้งแรกเกิดขึ้นในเวลาเพียง 5 ปี และสายการบิน วันทูโก ที่ประสบเหตุที่สนามบินภูเก็ตคือเที่ยวบินล่าสุด ได้คร่าชีวิตลูกเรือ นักบิน และผู้โดยสาร รวม 90 ศพ สิ่งที่น่าสนใจก็คือ ในจำนวนนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดในช่วงปลายปี 5 ครั้ง เป็นเดือนกันยายนถึง 3 ครั้ง และพื้นที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ ภาคใต้
ไล่เลียงอันดับโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นที่ภาคใต้เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 เมษายน 2528 เครื่องบินโบอิ้ง 737 บริษัทการบินไทยตกที่จังหวัดภูเก็ต ในเวลากลางคืน ขณะสภาพอากาศไม่ดี นักบินวิทยุแจ้งหอบังคับการบินว่า เครื่องยนต์เกิดขัดข้องทั้งสองเครื่อง และได้กระแทกพื้นจนเกิดเพลิงไหม้ขณะเตรียมร่อนลงจอด ทำให้ผู้โดยสาร 4 คน และลูกเรือ 7 คน เสียชีวิตทั้งหมด
ถัดมาอีก 2 ปี วันที่ 31 สิงหาคม 2530 เครื่องบินโบอิ้ง 737 ของบริษัทการบินไทย เที่ยวบินที่ 365 นำผู้โดยสารบินจากหาดใหญ่ไปยังจังหวัดภูเก็ต เกิดหมุนกลางอากาศ และควงสว่านตกทะเล ทางทิศตะวันออกของเกาะภูเก็ต ห่างจากสนามบินประมาณ 8 กิโลเมตร ไม่มีใครรอด มีผู้เสียชีวิต 83 คน เป็นผู้โดยสาร 74 คน ลูกเรือ 9 คน
ผลการสอบสวนอย่างเป็นทางการ สรุปว่าอุบัติเหตุเกิดจาก มีเครื่องบินบริษัทการบินไทย และดรากอน แอร์ไลน์ เดินทางมาถึงสนามบินในเวลาเดียวกัน เจ้าหน้าที่หอบังคับการบินจัดให้เครื่องทั้งสองลำมีระยะห่างไม่เพียงพอ โดยให้นักบินบริษัทการบินไทยนำเครื่องหลบออกนอกเส้นทาง ให้เครื่องดรากอน แอร์ไลน์ ลงก่อนอย่างกระชั้นชิดเกินไป ทำให้เครื่องบริษัทการบินไทยเกิดอาการหัวปัก เครื่องสะบัดทางขวาอย่างแรง นักบินพยายามแก้ไขโดยดึงหัวขึ้น แต่เครื่องตกทะเลก่อน ภายหลังเหตุการณ์รัฐบาลสั่งการให้ท่าอากาศยานขนาดใหญ่ทั่วประเทศไทย ดำเนินการติดตั้งระบบเรดาร์อย่างเร่งด่วน
วันทูโก
ต่อมาวันที่ 21 พฤศจิกายน 2533 เครื่องบินดีเอชซี 8-102 ของบริษัท บางกอกแอร์เวย์ส ตกที่เกาะสมุย นักบิน ลูกเรือ และผู้โดยสารรวม 38 ชีวิต ตายหมดทั้งลำ จากนั้นอีก 8 ปีต่อมา วันที่ 11 ธันวาคม 2541 เครื่องบินแอร์บัส เอ 310-300 เที่ยวบิน 261 มีผู้โดยสาร 146 คน ออกจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง เวลา 11:40 ตามเวลามาตรฐาน ตรงสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง เมื่อเครื่องบินเริ่มลดระดับลงสู่ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี สภาพอากาศมีฝนตกหนักและทัศนวิสัยไม่ดี เนื่องจากพายุดีเปรสชัน "จิล" นักบินต้องพยายามนำเครื่องลงจอดถึง 2 ครั้งแต่ไม่สำเร็จ ในครั้งที่ 3 เครื่องยนต์เกิดสะดุด ทำให้เครื่องบินตกกระแทกพื้น เครื่องเสียหลัก หางเครื่องฟาดหอบังคับการบินบางส่วน เครื่องเสียการทรงตัวพุ่งตกลงไปในป่ายาง ห่างออกไป 2 ไมล์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของท่าอากาศยาน มีผู้เสียชีวิต 101 คน และได้รับบาดเจ็บ 45 คน ในจำนวนนี้มีนายเรืองศักดิ์ ลอยชูศักดิ์ หรือเจมส์ นักร้องนักแสดงชื่อดังและรอดชีวิตราวปาฏิหาริย์
สาเหตุของการตกครั้งนี้ คาดว่าน่าจะมาจากการหลงสภาพการบินในการลงจอดเวลากลาง คืนในสภาพอากาศที่มีลมแรง ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ การบินไทยได้ออกระเบียบห้ามการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ตลอดเที่ยวบิน
และครั้งร้ายแรงที่สุด คือวันที่ 16 กันยายน 2550 สายการบินวัน-ทู-โก แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 269 นำผู้โดยสารบินจากท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองไปยังจังหวัดภูเก็ต เมื่อมีผู้โดยสาร 123 คน เป็นชาวไทย 67 คน และชาวต่างชาติ 56 คน ขณะร่อนลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต ได้ประสบอุบัติเหตุเครื่องบิน ไถลออกนอกรันเวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 90 ราย เป็นชาวต่างชาติ 55 ราย คนไทย 35 ราย รวมทั้งกัปตัน และนักบิน และมีผู้บาดเจ็บ 41 ราย ชาวต่างชาติ 24 ราย คนไทย 17 ราย ลูกเรือรอดชีวิต 2 ราย จาก 5 ราย
ผ่านมา 2 ปีก็เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นอีก แต่ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิตเพียงคนเดียว ทุกคนหวังว่า คงจะไม่เกิดโศกนาฏกรรมเช่นนี้อีก
บางกอกแอร์เวย์ส
เจาะลึกเครื่อง ATR 72-500
อุบัติเหตุเมื่อเกิดขึ้นกับการเดินทางด้วยอากาศยานที่กำลังร่อนลงจอด ส่วนมากเกิดจากสภาพอากาศที่เลวร้ายเสมอ และมักจะเกิดขึ้นโดยมีความเร็วของลม และสภาพพื้นผิวของรันเวย์ในขณะนั้น เป็นหลักสำคัญ กระแสลมที่พัดในบริเวณรันเวย์ ถ้ามีความเร็วเกินกว่า 25 น็อต ไม่ว่าจะพัดมาจากทิศทางใดในระหว่างที่เครื่องบินจะทำการร่อนลงจอดมักสร้างปัญหาให้กับนักบินในการควบคุมเครื่องบินให้ได้แนวระดับทั้งความสูงและทิศทาง เพื่อทำการร่อนลง ไม่ว่าลมกำลังแรงจะพัดมาจากหน้าเครื่อง ด้านข้างของลำตัว หรือด้านท้ายก็ตาม สนามบินแทบทุกแห่งในประเทศไทย จึงทำการติดตั้งเครื่องวัดความเร็วลมบริเวณหัวรันเวย์ ทั้งสองฝั่งจนสุดทางวิ่งและบริเวณด้านข้างของรันเวย์ที่สามารถ วัดความแรงของกระแสลมที่พัดอยู่ในทุกบริเวณของสนามบินเพื่อแจ้งค่าความเร็วของลมในขณะนั้น ให้นักบินรับทราบ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการบินขึ้นหรือร่อนลงจอด
ATR 72-500
14.10 น.เครื่อง ATR 72-500 ของสายการบิน BANGKOK AIRWAY เที่ยวบินที่ PG266 มีต้นทางที่สนามบินกระบี่ จะไปสถานีปลายทางที่สนามบินบนเกาะสมุย โดยมีระยะทางในการบินไม่ไกลนัก และ ผู้โดยสารส่วนใหญ่ในเที่ยวบินนี้ มักเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ต้องการบิน จากกระบี่ไปสมุยด้วยความรวดเร็วและสะดวกสบายในการเดินทางรวมถึงประหยัดเวลา ได้มากกว่าการเดินทางด้วยรถยนต์
ระหว่างที่บินถึงสนามบินสมุยและจะทำการร่อนลงจอด เกิดสภาพอากาศที่ไม่ดีบริเวณสนามบินสมุย เนื่องจากมีพายุฝนและลมกระโชกแรงบริเวณรันเวย์ และผิวของรันเวย์ปกคลุมด้วยน้ำ จากคำให้การของผู้ที่อยู่บนเขาใกล้กับสนามบินแจ้งว่า มีลมจากพายุฝน พัดเข้าหารันเวย์ด้วยความเร็วสูง หลังจากทำการร่อนลงและเครื่องกำลังวิ่งอยู่บนรันเวย์ ตัวเครื่องเกิดการลื่นไถลและเสียหลักหลุดจากบริเวณทางวิ่งไปชนเข้ากับหอ บังคับการบินเก่าที่เลิกใช้งานแล้วและดัดแปลงเป็นที่จอดรถดับเพลิงของสนาม บินสมุย นักบินที่หนึ่งคือกัปตันชาติชาย ปั้นสุวรรณพยายามประคองเครื่องจนสุดความสามารถ บริเวณส่วนหัวของเครื่อง ATR 72 กระแทกเข้ากับตัวอาคารของหน่วยดับเพลิงประจำสนามบินจนทำให้ กัปตันชาติชาย เสียชีวิตและมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน ส่วนนักบินที่สองได้รับบาดเจ็บสาหัส ผู้โดยสารที่เหลืออีก 62 คน ปลอดภัยทั้งหมด
บางกอกแอร์เวย์ส
ATR 72-500 ซีรีย์นัมเบอร์ MSN 670 ของสายการบิน BANGKOK AIRWAY นำเข้ามาเมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม พ.ศ. 2544 ขนาด 70 ที่นั่ง มีรายละเอียดดังนี้
ATR 72-500
ATR-72 สร้างขึ้นโดยบริษัท Aerospatiale Marta จากประเทศฝรั่งเศส และบริษัท Alenia Aerospazio จากประเทศอิตาลี ATR เป็นเครื่องแบบสองเครื่องยนต์ ชนิดใบพัดปีกสูง ATR 72 สร้างจากต้นแบบของ ATR42 ด้วยการต่อลำตัวออกไปอีก 4.5 เมตร และจุผู้โดยสารเพิ่มเป็น 64-72 ที่ ( ATR 42 จุ ผู้โดยสารได้ 42-50 ที่) ATR-72 บินเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 1988 ได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐฯตอนปลายปี1989 สายการบินนำมาให้บริการในวันที่ 27 ตุลาคม 1989 (ATR-42 บินเป็นครั้งแรกเดือน สิงหาคม 1984).ATR 72-500 สามารถ สังเกตุได้จาก มีใบพัด 6 ใบ ซึ่งใบพัดจะสั้นกว่าเก่า และความเร็วรอบช้าลง ทำให้เสียง และการสั่นสะเทือนเข้าไปยังห้อง ผู้โดยสารน้อยลง ใบพัดเป็นของบริษัท Hamilton Standard /Ratier Figeac และเครื่องยนต์เป็นของบริษัท Pratt & Whitney Canada PW 127 F ซึ่งให้กำลัง 1250 ชาร์ปฮอร์สพาวเวอร์ (SHP) ATR 72-500 เพิ่มพื้นที่สำหรับสัมภาระบนห้องเหนือศรีษะ เพิ่มกำลังเครื่องยนต์ ทำให้สามารถบรรทุกและระยะทางเพิ่มขึ้น เดิมที ATR72-500 ได้ชื่อว่า ATR 72-210A ATR 72-500 ใช้ระยะทางในการวิ่งขึ้น เพียง 3580 ฟุต (1091 เมตร) และระยะทางวิ่งลงเพียง 3235 ฟุต (986 เมตร) ที่วันมาตรฐาน และระดับน้ำทะเล (SL,ISA)
ATR 72-500
ATR 72-500
• ประเภท : อากาศยานขนส่งระยะสั้น
• ลูกเรือ กัปตันและนักบินผู้ช่วย พนักงานต้อนรับ 2 ผู้โดยสาร 70 คน
• เครื่องยนต์ : แพลตแอนด์วิดนี่ย์ สองเครื่องยนต์รุ่น PW 127 F เทอร์โบพร๊อบ 2750 แรงม้า/เครื่อง
• น้ำหนักบินขึ้นสุงสุด : 22000 กิโลกรัม
• สมรรถนะ : ความเร็วในการบินเดินทาง 490 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
• เพดานบินสูงสุด : 7620 เมตร / 25,000 ฟิต
• บินไกล : 1,668 กิโลเมตร (900 naut miles)
• ระวางบรรทุกสินค้า : 7,050 กิโลกรัม
• ระยะทางวิ่งขึ้น : 1,079 เมตร
• ระยะทางร่อนลงจอด : 1,048 เมตร