ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Instagram pouyingluck_shin, เฟซบุ๊ก Yingluck Shinawatra
 
             ประวัติยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย พร้อมผลงานทางการเมืองที่ผ่านมา

              หลังจากที่สภาผู้แทนราษฎรได้ผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมวาระที่ 3 ช่วงปลายเดือนตุลาคม 2556 จนทำให้มีผู้ออกมาชุมนุมต่อต้านเป็นจำนวนมาก ก่อนที่จะยกระดับมาเป็นการชุมนุมขับไล่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ส่งผลให้สถานการณ์การเมืองปลายปี 2556 ระอุขึ้นมาทันตา ประจวบกับพรรคฝ่ายค้านได้ประกาศลาออกจาก ส.ส. ซึ่งได้นำไปสู่การยุบสภา และ กกต. ก็ประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 ขณะที่ ยิ่งลักษณ์ พร้อมคณะรัฐมนตรี ก็ยังดำรงตำแหน่งรักษาการ แม้ว่าจะยังมีกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ไม่เห็นด้วยและเรียกร้องให้มีการลาออก 

             อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ กกต. ประกาศให้มีการจัดการเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ในส่วนของพรรคเพื่อไทยก็ได้เริ่มเคาะรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. บ้างแล้ว คาดว่าจะดัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร รักษาเก้าอี้นายกฯ ไว้ตามเดิม แม้จะมีประชาชนหลายคนที่ไม่เห็นด้วยหาก ยิ่งลักษณ์ ชนะเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งนายกฯ อีกสมัย ว่าแต่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร คนนี้เป็นใคร จบการศึกษาอะไร หรือมีประเด็นทางการเมืองอะไรบ้าง วันนี้เรามี ประวัติของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มาฝากกันค่ะ

   

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับชีวิตครอบครัว


             สำหรับ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีชื่อเล่นว่า ปู เกิดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 เป็นบุตรคนสุดท้องในจำนวนบุตร 9 คน ของนายเลิศ และนางยินดี ชินวัตร และเป็นน้องสาวแท้ ๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี รวมทั้งนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ ภรรยาของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี

             นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สมรสแล้วโดยไม่ได้จดทะเบียนกับนายอนุสรณ์ อมรฉัตร หรือ ป๊อบ เมื่อปี พ.ศ. 2538 ซึ่งนายอนุสรณ์ อมรฉัตร นั้น เป็นอดีตผู้บริหารในเครือบริษัท ซีพี และปัจจุบันเป็นกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ของนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ พี่สาวของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน คือ ด.ช.ศุภเสกข์ อมรฉัตร หรือ น้องไปป์ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2556) อายุ 11 ปี

             อย่างไรก็ตาม สำหรับตัวนายอนุสรณ์ อมรฉัตร สามีของนางสาวยิ่งลักษณ์เองนั้น เคยถูกดึงไปเกี่ยวข้องกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องตัวเอง เมื่อครั้งที่บริษัท เอ็ม ลิงก์ เอเชีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งนายอนุสรณ์ อมรฉัตร เป็นผู้บริหารอยู่ได้ร่วมประมูลโครงการด้านการสื่อสาร และอินดัสเทรียล ปาร์ค ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี พ.ศ. 2547 - พ.ศ. 2549 จนทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กันหนาหูว่า การประมูลครั้งนั้นไม่โปร่งใส

 


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ ประวัติการศึกษา


             กลับมาที่ประวัติด้านการศึกษาของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เธอร่ำเรียนในสายที่เกี่ยวข้องกับการเมืองมาโดยตรง เพราะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2531 ก่อนที่จะไปศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในคณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา จนสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2533


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ แวดวงธุรกิจ


             หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้เข้าทำงานในบริษัทชินวัตร ไดเร็กทอรีส์ จำกัด ก่อนจะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้อำนวยการของ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส จากนั้นได้ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด

             อย่างไรก็ตาม หลังจากตระกูลชินวัตร และตระกูลดามาพงศ์ ได้ขายหุ้นกลุ่มบริษัทชินคอร์ปให้กลุ่มเทมาเส็ก โฮลดิ้ง ของประเทศสิงคโปร์ ก็ทำให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) แต่ยังคงดำรงตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เอสซี แอสเซท จำกัด

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ แวดวงทางการเมือง


             เส้นทางสายการเมืองของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร น้องสาวอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณคนนี้ ชื่อของเธอปรากฏขึ้นมาครั้งหนึ่งในครั้งที่พรรคพลังประชาชนถูกยุบนำไปสู่การตั้งพรรคเพื่อไทย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้พยายามผลักดัน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แต่เพราะมีเหตุบางประการทำให้ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่ได้เข้ารับตำแหน่งนี้ แต่เธอก็ยังมีบทบาททั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังในพรรคเพื่อไทย

             จนกระทั่งปี พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทยซึ่งไร้หัวหน้า (ตัวจริง) เหมือน "เรือขาดหางเสือ" ต้องเร่งหาผู้นำ ดังนั้น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง และ ส.ส. อีกหลายคนในพรรคเพื่อไทย จึงได้เสนอชื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคเพื่อไทย และภายใต้การนำทีมของ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ที่ได้รับแรงสนับสนุนจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ก็ส่งให้พรรคเพื่อไทยได้รับคะแนนเสียงอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งปี 2554 พร้อมกับได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับมหาอุทกภัย 2554


             ภายหลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2554 ก็เจอศึกหนักท้าทายความสามารถนายกฯ ป้ายแดงทันที นั่นคือ ประเทศไทยเกิดระดับน้ำฝนสูงที่สุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมตั้งแต่ภาคเหนือของประเทศ ไหลลงมายังที่ราบลุ่มภาคกลางอย่างรวดเร็ว กระทั่งในช่วงเดือนตุลาคม น้ำก็ไหลท่วม จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งหมด ชาวบ้านและภาคธุรกิจได้รับความเสียหายกันถ้วนหน้า ก่อนที่จะท่วม จ.ปทุมธานี และกรุงเทพมหานครในบางเขต ใช้เวลานานถึงเดือนธันวาคม สถานการณ์จึงดีขึ้น

             สำหรับการแก้ไขปัญหาของนางสาวยิ่งลักษณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) เป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย และรายงานสถานการณ์น้ำท่วมให้ประชาชนทราบเป็นระยะ ๆ

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


  ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับการถูกโจมตีเรื่องการพูดผิด


             ตั้งแต่ที่นางสาวยิ่งลักษณ์ได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่า ย่อมหลีกหนีไม่พ้นจากความสนใจของมวลชนได้ และการที่นางสาวยิ่งลักษณ์พูดประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับความรู้พื้นฐานผิด จึงทำให้ถูกวิจารณ์จากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม และกลุ่มประชาชนที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทยอยู่เสมอ พร้อมกับสงสัยในความสามารถของนางสาวยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรี อาทิ เดือนพฤศจิกาคม (พฤศจิกายน), จังหวัดหาดใหญ่ (อำเภอหาดใหญ่), ห้าหมื่นสามแสนเก้าร้อยสิบแปดล้านบาท (ห้าหมื่นสามพันเก้าร้อยสิบแปดล้านบาท) เป็นต้น


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ นโยบายต่าง ๆ


             นโยบายในยุคของนางสาวยิ่งลักษณ์ จะเป็นนโยบายประชานิยมซึ่งเป็นนโยบายรูปแบบเดียวกับนโยบายในยุคของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดยนโยบายเด่น ๆ ในรัฐบาลชุดนี้ ได้แก่ โครงการจำนำข้าว, โครงการรถคันแรก, โครงการรถไฟความเร็วสูง 2.2 ล้านล้านบาท, ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เป็นต้น ซึ่งโครงการดังกล่าว ถูกโจมตีจากพรรคฝ่ายค้านและกลุ่มประชาชนที่ไม่ได้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย รวมถึงนักวิชาการบางสาขาว่า นโยบายประชานิยมมีโอกาสทำให้ประเทศล้มละลายทางด้านการคลังในอนาคต อย่างไรก็ตามข้อดีของนโยบายประชานิยมก็คือ เป็นสิ่งที่ประชาชนได้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กับ ข่าว พ.ร.บ.นิรโทษกรรม


             แม้ว่าในยุครัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ จะมีกลุ่มผู้ชุมนุมออกมาต่อต้านอยู่เนือง ๆ อาทิ กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.), กลุ่มเสื้อหลากสี ฯ แต่จำนวนผู้ชุมนุมก็ยังไม่มากพอที่จะยกระดับขับไล่รัฐบาลได้ กระทั่งคืนวันที่ 31 ตุลาคม 2556 สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย วาระที่ 3 ซึ่งเป็น พ.ร.บ. ที่ครอบคลุมไปถึงคดีการทุจริตของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคดีการสั่งสลายการชุมนุมของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงเวลาประมาณ 04.00 น. ทำให้มีประชาชนออกมาต่อต้านการออก พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก มีนายสุเทพเป็นแกนนำการคัดค้าน


             ต่อมา วุฒิสภาจึงได้ให้ พ.ร.บ.ดังกล่าว ตกไป เพื่อลดแรงกดดันจากประชาชน อย่างไรก็ตามกลุ่มผู้ชุมนุมได้ยกระดับการชุมนุมเป็นขับไล่รัฐบาลแทน พร้อมกับยึดสถานที่ราชการต่าง ๆ เช่น กระทรวงการคลัง, ศูนย์ราชการฯ ถนนแจ้งวัฒนะ เป็นต้น รวมถึงการบุกสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี เพื่ออ่านแถลงการณ์อีกด้วย ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมก็ได้ตั้งชื่อของตัวเองว่า คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)


             กปปส. ยังคงกดดันรัฐบาลต่อไป โดยเตรียมบุกยึดทำเนียบรัฐบาลและกองบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ประจวบกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านได้ประกาศลาออกจาก ส.ส. เนื่องจากเห็นว่ารัฐสภาไม่ชอบธรรม มีการใช้เสียงพวกมากลากไป ด้วยเหตุนี้ ในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 นางสาวยิ่งลักษณ์จึงประกาศยุบสภา เลือกตั้งใหม่ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

 


             ทั้งหมดนี้ก็คือประวัตินางสาวยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ซึ่งมาถึงตอนนี้ (18 ธันวาคม 2556) ก็ยังไม่ทราบว่านางสาวยิ่งลักษณ์ จะลงสมัครเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่ออันดับ 1 ของพรรคเพื่อไทย เพื่อชิงตำแหน่งนายกฯ อีกสมัยหรือไม่

             สำหรับใครที่อยากติดตามความเคลื่อนไหวของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรืออยากจะสื่อสารกับนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย ก็สามารถเข้าไปได้ที่เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ ทวิตเตอร์ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หรืออีกหนึ่งช่องทางคือ Instagram pouyingluck_shin


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

 
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย


 


คลิป ข่าว โปรดเกล้าฯ ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 จากช่อง 3


คลิป ข่าว โปรดเกล้าฯ ยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรี คนที่ 28 ที่พรรคเพื่อไทย

 



ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร












 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของไทย อัปเดตล่าสุด 22 ธันวาคม 2556 เวลา 10:50:26 1,028,300 อ่าน
TOP
x close