นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน หรือ นิทานพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง วันนี้เรามีนิทานสนุก ๆ พร้อมได้แง่คิดและคติสอนใจมาให้อ่านกัน มีเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
ศิลปะวัฒนธรรมในภาคอีสาน นอกจากการฟ้อนรำและเครื่องแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์แล้ว สิ่งหนึ่งที่ถือว่ามีโดดเด่นเฉพาะด้าน คือ นิทานพื้นบ้านของภาคอีสาน ซึ่งเป็นการเล่าสืบต่อกันมา บ้างเป็นนิทานที่ให้คติสอนใจ บ้างเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประเพณีและขนบธรรมเนียม บ้างก็เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับที่มาของสถานที่ต่าง ๆ จนทำให้มีนิทานพื้นบ้านอีสานมากมายนับไม่ถ้วน วันนี้ กระปุกดอทคอม จึงได้คัดตำนานนิทานพื้นบ้านอีสานเด่น เป็นตัวอย่าง มาให้ได้อ่านกันจ้า
นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่าง ๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย
ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน
อย่างไรก็ตาม ในตำรา อ้างอิงถึงเรื่องผาแดงนางไอ่จบลงด้วยการเกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จากการต่อสู้ของพญานาคกับท้าวผาแดง ต่างก็มีข้อมูลอ้างอิงถึง หนองน้ำที่ชื่อหนองหาน แต่กล่าวต่างกันไปในตำราแต่ละเล่มถึงหนองน้ำ ทั้ง 3 แห่ง หนองหาน ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และหนองหาน อำเภอกุมภวาปี ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่แรกมากนัก และอีกที่หนึ่งก็คือหนองหาร จังหวัดสกลนคร
ปู่กับหลานได้เดินทางไกลผ่านมายังทุ่งกุลาร้องไห้นี้ เดินข้ามอย่างไรก็ไม่พ้นสักที ปู่ก็จวนเจียนจะหมดแรงอยู่รอมร่อ ส่วนหลานนั้นก็ได้เอาแต่ร้องไห้งัวเงียด้วยความเหนื่อยล้า ทั้งยังกระหายน้ำจนดูท่าว่าจะเดินทางไปต่อไม่ไหว จนกระทั่งได้พลอยหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย (แต่ก่อนนี้ทุ่งกุลาร้องไห้นี้มีความทุรกันดารมาก ทั้งยังมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่มีอาณาเขตติดต่อกันถึงห้าจังหวัด) ปู่จึงได้ใช้ผ้าขาวม้าห่อหุ้มหลานเอาไว้ แล้วนำไปไว้ยังโคนของพุ่มไม้แห่งหนึ่งเพื่อบังแดดให้แก่หลานน้อยนั้นไว้ ปู่จึงได้รีบเดินทางต่อโดยความหวังว่า จะได้พบกับหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดที่ซึ่งมีน้ำเพื่อที่จะนำไปให้หลานดื่มได้
บริเวณนี้เรียกว่า บ้านป๋าหลาน เพราะคำว่าป๋านั้นหมายถึงการทิ้ง เช่น ผัวป๋าเมีย เป็นต้น ซึ่งในบริเวณจังหวัดมหาสารคามนั้น ก็มีชื่อหมู่บ้านนี้ว่าเป็นบ้านป๋าหลานอยู่ ในท้องที่ใกล้ ๆ กับอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน
เมื่อปู่เดินทางจนมาถึงตีนบ้าน ปู่ก็ได้รีบเขาไปขอน้ำดื่มจากชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น พร้อมกับได้รีบนำน้ำใส่บั้งทิง เพื่อที่จะนำไปให้หลานดื่ม
ส่วนหลานนั้น เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่พบปู่ ก็ร้องไห้ด้วยความเสียใจ และด้วยความกลัวตามประสาของเด็ก และจึงได้ออกวิ่ง ทั้งเดินเพื่อตามหาปู่ของตนว่าอยู่ไหน ทั้งยังพร่ำบ่นว่า ปู่นั้นได้ทิ้งตนเองไปแล้ว ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่าปู่นั้นไม่รักตนเอง ปล่อยทิ้งให้หลานนั้นอยู่เพียงลำพังคนเดียวด้วยความไม่ไยดีซึ่งมีปรากฏเป็นบทกลอนของการลำอยู่ ในที่สุดนั้นหลานก็ได้หมดแรง และล้มลง
ปู่นั้นเมื่อได้น้ำมาแล้ว ก็ได้รีบนำกลับมาให้หลานด้วยความเป็นห่วง แต่เมื่อมาถึงพุ่มไม้ที่ได้วางหลานเอาไว้ ก็กลับไม่พบหลานเลย ปู่จึงได้รีบออกค้นหาหลานไปทั่วบริเวณนั้น จนกระทั่งปู่ก็ได้มาพบหลานนอนตายอยู่กลางแดดจ้าของท้องทุ่งอันแสนกันดารแห่งนี้ มีทั้งมด แมลง ไต่ชอนไชอยู่ตามรูจมูก ใบหูและปากไปทั่ว
ครั้นเมื่อปู่เห็นสภาพหลานดังนั้นแล้วก็แทบใจขาด น้ำตาร่วงหล่นด้วยความสงสารในชะตากรรมของหลานที่ต้องมาตายอย่างทุกข์ทรมาน ทั้งยังโทษตัวเองว่าทำไมจึงได้ทิ้งหลานไว้ให้อยู่คนเดียว ปู่ได้ค่อย ๆ อุ้มศพของหลานขึ้นแล้วเดินพาหลานกลับไปยังตีนบ้านแห่งนั้น ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ดังกับว่าหัวใจของปู่นั้นจะแตกสลายเสียให้ได้
ต่อมาเมื่อมีความเจริญขึ้นตรงบริเวณนั้น บริเวณบ้านแห่งนั้นก็ถูกเรียกว่าเป็นบ้าน ปะหลาน ซึ่งหมายถึงบริเวณบ้านที่ปู่นั้นได้พบกับศพของหลานนั่นเอง
ซิ่นสองต่อน หมายถึง เนื้อคู่
ซิ่น หมายถึง เนื้อ
ต่อน หมายถึง ชิ้น
รวม คือ เนื้อสองชิ้น เนื้อสองชิ้น ก็คือ เนื้อคู่
ว่ากันว่า นานมาแล้ว เมื่อปี 2514 จำปารักกันกับบุญหลาย แต่พ่อแม่กีดกัน เพราะพ่อแม่เป็นศัตรูกันเมื่อ 20 ปีก่อน ทั้งสองถึงแอบคบกันลับ ๆ ตลอดมา จนวันหนึ่ง จำปี พี่ของจำปาซึ่งแอบรักบุญหลาย เห็นจำปากับบุญหลายคุยกัน จึงไม่พอใจ จึงนำความไปบอกพ่อแม่
พ่อแม่แค้นใจมาก จึงจับจำปาบวชชี เวลาผ่านไปหลายเดือน จำปาก็แอบหนีจากการเป็นชี หนีไปอีกหมู่บ้านหนึ่งกับบุญหลาย เมื่อจำปีทราบว่า จำปาหนีไปกับบุญหลาย จำปีก็ไปบอกพ่อแม่ของบุญหลาย ฝ่ายแม่ของบุญหลายก็ตรอมใจตาย ส่วนพ่อบุญหลายไม่เชื่อเลย จับจำปีขังไว้ที่บ้านของตน แล้วไปของพ่อแม่ของจำปา ว่าให้หาบุญหลายมาคืนแล้วจะเอาจำปีคืนให้ ทั้งสองจึงแสร้งมาเล่าความจริงว่าไม่ได้เอาไป มาพร้อมกับข้าวห่อหนึ่งใส่ยาพิษมาให้พ่อบุญหลายกิน พ่อบุญหลายก็กินแล้วตายไป พ่อแม่จำปีก็พาจำปีกลับบ้าน แต่ยังไม่ถึง โจรก็มาปล้นกลางทางแล้วฆ่าทั้ง 3 ทิ้งเสีย
ส่วนจำปากับบุญหลาย ครองรักกันไม่นานก็มีลูกแล้วแท้ง จำปาเลยเป็นบ้าบอสติไม่เต็ม วันหนึ่งเห็นมีดในครัว จึงถือมาฟันหัวบุญหลายตาย
นิทานพื้นบ้านหนองฮังกา (ปัจจุบันขึ้นกับบ้านแสงอินทร์) ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
นานมาแล้วมีเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่ง แกชอบทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ ขอให้ได้ทำบุญแก่จะทำทุกอย่าง คนอีสานพูดไว้ว่า ?แฮงให้ แฮงรวย แฮงให้ แฮงได้หลาย? คือ ได้เยอะเพราะคนตอบแทนกับการให้ของเรา รวมคือรวยน้ำใจไปไหนคนรักคนอารีย์กับไมตรีจิตของเรา ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก
เศรษฐีผู้ใจบุญมีลูกชายคนเดียว ไม่เอาถ่าน ลูกเมียก็ไม่มี ลูกชายเศรษฐี เอาอย่างเดียวคือ กินเหล้า กินแล้วก็กินอีก กินจนติด เพื่อนฝูงก็มาก เพราะรวย มีเงินเลี้ยงคนอื่น เพื่อต้องการความเป็นเพื่อนแค่นั้นเอง เพื่อนทั้งหลายก็หลอกกินฟรีไปวัน ๆ
หลายปีต่อมา เศรษฐีใจบุญตายลง ลูกชายเศรษฐีเป็นผู้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว เขาไม่สนใจการบริหาร ไม่รู้จักรักษาทรัพย์ที่พ่อแม่ให้ไว้ ดื่มกินจนเมามาย ไม่นานฐานะความเป็นอยู่ของเขาก็จนลง ไม่มีที่อยู่อาศัย ขอทานเขากินไปวัน ๆ ความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสเริ่มเข้ามาแทนที่ เขาไปหาเพื่อนที่ไหนก็ไม่มีใครให้กิน ความทุกขเวทนามีมากยิ่งขึ้น ด้วยเดชะบุญกุศลของเศรษฐีผู้ใจบุญที่ตายไปแล้ว จึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาผู้ใหญ่ในสวรรค์ ด้วยความเป็นห่วงลูก จึงใช้ตาทิพย์มองมายังพื้นโลก เห็นลูกชายของตนได้รับทุกขเวทนายิ่งนัก หัวอกผู้เป็นพ่อให้สลดหดหู่ยิ่ง ด้วยความเป็นห่วงลูก เทวดาผู้เป็นใหญ่นั้นจึงได้ลงมาหาลูกตน สอนให้ลูกรู้จักทำมาหากิน ให้รู้จักประหยัดเมื่อมีเงิน
ลูกชายเมื่อฟังแล้วก็รับปากว่า จะกลับตัวเป็นคนดี จะเลิกเหล้าเด็ดขาด เขาบอกกับเทวดาผู้เป็นใหญ่ซึ่งเป็นพ่อของเขาว่า เขาจะเริ่มต้นอย่างไร เขาไม่มีทุกรอนอะไร เทวดาผู้เป็นพ่อจึงส่งหม้อดินให้เขาใบหนึ่ง แล้วบอกว่า เจ้าจงรักษาหม้อดินนี้ให้ดี หากเจ้าต้องการเงินทอง เจ้าก็เอามือล้วงเข้าไปหยิบมาใช้ได้ดั่งใจคิด แต่มีข้อแม้ว่าอย่าทำแตก ลูกชายเศรษฐีก็รับคำพ่อ
เช้าของวันรุ่งขึ้น ลูกชายเศรษฐีขี้เหล้า ก็เอามือล้วงดูว่าที่พ่อบอกนั้นจะจริงหรือเปล่า เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก มือเขาสัมผัสกับเงินทองมากมาย เขาอดเหล้าได้เพียงครึ่งวันเท่านั้น ก็ลืมคำพ่อที่สั่งสอนเสียสิ้น เขากลับมาดื่มกินอย่างหนัก วันหนึ่งเขากินเหล้าแล้วก็เดินทางไปหาเพื่อน ระหว่างทาง เขานึกสนุกขึ้นมา จึงได้โยนหม้อขึ้นสูง ๆ แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ?โอะร่วง" พอรับหม้อได้เขาก็โยนใหม่ แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ โอะร่วง" เขาทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ในระหว่างเดินทาง แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ โอะร่วง" คราวนี้หม้อในมือเขาเกิดร่วงจริง ๆ หม้อใบนั้นจึงแตก ขี้เหล้าตกใจมาก เขาคิดถึงคำพ่อที่บอกไว้ เขารู้สึกเสียใจในการกระทำของตัวเองมาก เขาไม่มีโอกาสอีกแล้วในชีวิตนี้ เขาไม่ได้ล้วงเงินทองในหม้อเก็บไว้ เพื่อไว้ใช้จ่ายในวันข้างหน้าเลย เขาไม่ได้เก็บเงินไว้เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลตนเองเลย เขาไม่มีเงินสำรองอะไรทั้งสิ้น หมดแล้วทุกอย่าง
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจ ยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหายยิ่งทวีคูณขึ้น
ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่องข้าวน้อย ๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า
"อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อย ๆ กูจะกินอิ่มหรือ?"
ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อย ก็น้อยต้อนเต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน"
ความหิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใด ๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่ อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..
ชายหนุ่มร้อยไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั่ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด
สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"
เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้
"คันคาก" ในภาษาอีสานที่แปลว่า "คางคก" เรื่อง "พญาคันคาก" อันเป็นต้นกำเนิดของประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นบุญเดือนหกในฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน
ณ เมืองชมพู พระนางสีดา มเหสีของพญาเอกราชผู้ครองเมือง ได้ให้กำเนิดโอรสลักษณะแปลกประหลาด คือผิวกายเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่เป็นตุ่มตอเหมือนผิวคางคก คนทั้งหลายจึงขนานนามพระกุมารว่า ท้าวคันคาก ซึ่งคันคาก แปลว่าคางคก
เมื่อเติบใหญ่ขึ้น พระกุมารประสงค์จะได้พระชายาที่มีสิริโฉมงดงาม แต่พญาเอกราชได้ห้ามปรามไว้ ด้วยทรงอับอายในรูปกายของท้าวคันคาก แต่ท้าวคันคากก็ไม่ย่อท้อ ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระอินทร์ ด้วยบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนของท้าวคันคาก พระอินทร์จึงเนรมิตปราสาทพร้อมทั้งประทานนางอุดรกุรุทวีป ผู้เป็นเนื้อคู่ให้เป็นชายา ส่วนท้าวคันคากเอง ก็ถอดรูปกายคันคากออกให้ กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม
พญาเอกราชยินดีกับพระโอรส จึงสละราชบัลลังก์ให้ครองเมืองต่อ ทรงพระนามว่า พญาคันคาก พญาคันคากตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือ จนเมืองน้อยใหญ่ต่างมาสวามิภักดิ์ แต่ก็ทำให้มีผู้เดือดร้อน คือพญาแถน ผู้อยู่บนฟากฟ้า เพราะมนุษย์หันไปส่งส่วยให้พญาคันคากจนลืมบูชาพญาแถน จึงแกล้งงดสั่งพญานาคให้ไปให้น้ำในฤดูทำนา ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ชาวเมืองจึงไปร้องขอพญาคันคากให้ช่วย
พญาคันคากจึงเกณฑ์กองทัพสัตว์มีพิษทั้งหลาย ได้แก่ มด ผึ้ง แตน ตะขาบ กบ เขียด เป็นอาทิ ทำทางและยกทัพขึ้นไปสู้กับพญาแถน โดยส่งมดปลวกไปกัดกินศัตราวุธของพญาแถนที่ตระเตรียมไว้ก่อน ทำให้เมื่อถึงเวลารบ พญาแถนไม่มีอาวุธ แม้จะร่ายมนต์ ก็ถูกเสียงกบ เขียด ไก่ กา กลบหมด เสกงูมากัดกินกบเขียด ก็โดนรุ้ง (แปลว่าเหยี่ยว) ของพญาคันคากจับกิน ทั้งสัตว์มีพิษก็ยังไปกัดต่อยพญาแถนจนต้องยอมแพ้ในที่สุด
พญาคันคากจึงเริ่มเจรจาต่อพญาแถน ขอให้เมตตาชาวเมือง ประทานฝนตามฤดูกาลทุกปี พญาแถนแสร้งว่าลืม พญาคันคากจึงทูลเสนอว่าจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นมาเตือน พญาแถนก็เห็นชอบด้วย
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุก ๆ เดือนหกซึ่งเป็นช่วงเริ่มฤดูทำนา ชาวอีสานจึงมีประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกตลอดฤดูเพาะปลูก และเมื่อพญาแถนประทานฝนลงมาถึงพื้นโลกแล้ว บรรดากบเขียดคางคกที่เป็นบริวารของพญาคันคาก ก็จะร้องประสานเพื่อแสดงความขอบคุณต่อพญาแถน
นิทานเรื่องยายหมาขาว เป็นนิทานสอนใจเยาวชนชาวอีสานมาช้านาน หมอลำหมู่นิยมเอามาแสดงเสมอ ในตอนจบเรื่องก็จะมีคำกลอนสอนใจให้ทุกคนกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไม่เฉพาะเป็นคนแม้เป็นสัตว์ที่ทำคุณให้กับตนยังต้องรู้จักบุญคุณด้วย
ยังมีสองผัวเมียอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจันทคาม ซึ่งฝ่ายเป็นเมียนั้นได้ท้องแก่จวนคลอดแล้วในตอนนั้นเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก สองผัวเมียจึงอพยพหนีจากหมู่บ้านมาอยู่กลางป่า ต่อมาเมียคลอดลูกแล้วก็ตาย ผัวเห็นก็ตรอมใจตายตามด้วย ปล่อยให้เด็กทารกเกิดใหม่ร้องไห้อยู่ในป่าอย่างนั้น
ต่อมายังมีหมาขาวตัวหนึ่งเป็นตัวเมียออกมาหากิน มาเห็นเด็กทั้งสองก็เกิดสงสาร จึงเอาไปเลี้ยงเป็นลูก ให้กินนมของตัวและหาอาหารเลี้ยงมาจนเติบโตเป็นสาวสวย ทุกวันนางหมาขาวตัวนี้จะพาลูกสาวทั้งสองออกไปหากินในป่า
ในวันหนึ่งเกิดพายุพัดให้นางหมาขาวต้องพลัดพรากจากลูกไป ลูกสาวทั้งสองก็โดนลมพัดไปถึงเขตบ้านนายพราน เมื่อนายพรานเห็นหญิงสาวทั้งสองงดงามมาก อยากได้รางวัลจึงนำหญิงสาว ทั้งสองขึ้นถวายแก่พระราชาซึ่งยังโสด พระราชามีพระอนุชาซึ่งยังโสดเหมือนกัน ฝ่ายพระราชาก็ได้ผู้พี่เป็นมเหสี ฝ่ายอนุชาก็รับผู้น้องเป็นชายา
กล่าวถึงนางหมาขาว เมื่อพลัดพรากจากลูกแล้ว นางก็ติดตามหาลูก จนได้ยินข่าวว่านายพรานเป็นผู้อุปการะจึงมาหานายพรานเพื่อถามหาลูกสาว เมื่อนายพรานรู้ก็บอกความจริง นางหมาขาวจึงขอร้องให้นายพรานพาไปหาลูกสาวที่ในวัง เมื่อพามาถึงพระราชวัง นายพรานก็ทูลพระราชาตามความจริง แต่พระมเหสีนั้นอับอายขายหน้าเกรงว่าคนจะรู้ว่าตนเป็นลูกของหมาขาว จึงทูลเท็จต่อพระสวามีไปว่า ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งขับไล่นายพรานและหมาขาวตัวนั้นไป แต่นางหมาขาวไม่ยอมไป นางจึงเอาน้ำร้อนเทสาดใส่กลางหลังนางหมาขาว นางหมาขาวถูกน้ำร้อนลงกลางหลังทำให้นางบาดเจ็บสาหัส นางก็ซัดเซพเนจรไปล้มลงที่วังของลูกสาวคนเล็ก เมื่อลูกสาวคนเล็กมาพบมารดา ก็จำได้ จึงอุ้มมารดามาเพื่อจะรักษา แต่นางทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นใจตาย ก่อนตายนางบอกว่าห้ามเผาหรือฝัง ให้เก็บกระดูกไว้บูชาในวัง ลูกสาวก็ทำตาม
จากนั้นไม่นานก็เกิดเป็นทองคำ ข่าวนั้นเลื่องลือไปถึงผู้พี่สาว พี่สาวก็มาขอส่วนแบ่งทองคำ แต่น้องไม่ยินยอมให้จึงเกิดโต้เถียงกัน จนดังขึ้นไปถึงหูพระราชา พระราชาจึงได้เรียกทั้งสองเข้ามาถามความจริง ในที่สุดเรื่องจริงก็ปรากฏ พระราชาก็โกรธที่พระมเหสีของพระองค์นั้นทูลเท็จและอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จึงตัดสินให้ประหารชีวิตเสีย...
ที่เมืองแห่งหนึ่งมีเด็กน้อยคนหนึ่งกำพร้าพ่อและแม่ ได้เที่ยวขอทานเขากินจนโตเป็นหนุ่มแล้ว จึงออกจากเมืองมาทำนาทำไร่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เมื่อข้าวพืชงอกงามขึ้น ได้มีสัตว์ต่าง ๆ มากิน แม้จะไล่อย่างไรก็ไม่ไหว เอาอะไรมาทำเครื่องดักก็ยังขาดหมด จึงไปขอเอาสายไหม จากย่าจำสวน (คนสวนของพระราชา) มาทำจึงจับได้ช้าง ช้างเมื่อถูกจับได้กลัวตาย จึงร้องขอชีวิตและบอกว่าจะให้ของวิเศษถอดงาข้างหนึ่งให้
ท้าวกำพร้าผีน้อย จึงปล่อยไปแล้วเอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ต่อมาท้าวกำพร้าดักได้เสือ เสือก็ยอมเป็นลูกน้อง โดยบอกว่าถ้ามีเรื่องเดือดร้อนจะมาช่วย ต่อมาจับได้อีเห็น อีเห็นก็ยอมเป็นลูกน้อง เช่นเดียวกันกับเสือ ต่อมาจับพญาฮุ้ง (นกอินทรีย์) พญาฮุ้งก็ยอมเป็นลูกน้อง และตัวสุดท้ายจับได้คือ ผีน้อยที่มาขโมยกินปลาที่ไซ
น้อย ก็ยอมเป็นลูกน้อง
ขณะที่ท้าวกำพร้าได้เอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ในงาช้างนั้นได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อสีดอาศัยอยู่ นางได้ออกมาทำอาหารไว้รอท้าวกำพร้า ต่อมาท้าวกำพร้าจับนางได้จึงทุบงาช้างนั้น เพื่อจะไม่ให้นางหลบเข้าไปอยู่อีก นางจึงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่นั้นมา ความสวยงามของสีดา ได้ยินไปถึงพระราชา เมื่อพระราชาเห็นแล้วก็รักใคร่ จึงจะยึดเอาแต่ก็กลัวคนจะติเตียน จึงท้าท้าวกำพร้า พนันขันแข่งต่าง ๆ โดยถ้าท้าวกำพร้าแพ้จะยึดนางสีดามา ถ้าพระองค์แพ้จะยอมยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง
การแข่งขันนั้นคือ ชนวัว , ชนไก่ , แข่งเรือ แต่ปรากฏว่าท้าวกำพร้าชนะทุกครั้ง เพราะในการชนวัวนั้น เสือแปลงเป็นวัวมาช่วยท้าวกำพร้า ชนไก่นั้นอีเห็นแปลงเป็นไก่มาช่วย กัดไก่ของพระราชาตาย ในการแข่งขันเรือนั้น พญาฮุ้งมาเป็นเรือและได้ทำให้เรือพระราชาล่มแล้วกินคนหมดทั้งเมือง
เมื่อพระราชาตายแล้วได้รวมหัวกับบ่างลั่วตัวหนึ่ง โดยให้บ่างลั่วร้องเรียกวิญญาณของนางสีดามา โดยร้องครั้งแรกนางก็ไม่สบาย ครั้งที่สองสลบไป ครั้งที่สามจึงตามวิญญาณของนาง จึงมาอยู่กับพวกผีพระราชา ส่วนท้าวกำพร้าปรึกษากับผีน้อย ผีน้อยบอกว่าอย่าเพิ่งเผา จะตามไปดูวิญญาณของนางอยู่ที่ใด
เมื่อผีน้อยตามจึงรู้เรื่องทั้งหมด ได้วางแผนจับบ่างลั่วตัวนั้น เข้าไปตีสนิทกับบ่างลั่วแล้ว สานข้อง (ที่ใส่ปลา) ครั้งแรกสานด้วยไม้ไผ่ แล้วให้บ่างลั่วเข้าไปข้างใน แล้วให้ยันดู ปรากฏว่าข้องแตก จึงสานด้วยลวด แล้วบอกให้บ่างลั่วเข้าไปดูแล้วบอกให้ยันดู ปรากฏว่าข้องไม่แตกจึงรีบหาฝามาปิด แล้วรีบเอามาให้ท้าวกำพร้า บังคับให้บ่างลั่วร้องเรียกเอาวิญญาณนางสีดากลับคืนมาไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสีย บ่างลั่วจึงร้องเรียกเอาวิญญาณนางกลับมา โดยร้องครั้งแรกก็เคลื่อนไหว ครั้งที่สองฟื้นขึ้น ครั้งที่สามหายเป็นปกติทุกอย่าง พอทุกอย่างปกติแล้ว ท้าวกำพร้าจึงหลอกว่าขอดูไอ้ที่ร้องเอาวิญญาณคนได้ไหม บ่างลั่วจึงแลบลิ้นออกมาให้ดู ท้าวกำพร้าจึงตัดลิ้นบ่างลั่วนั้นเสีย เพราะกลัวมันจะร้องเอาวิญญาณไปอีก บ่างลั่วจึงร้องไม่ชัดตั้งแต่นั้นมา ส่วนท้าวกำพร้ากับนางสีดา ได้ปกครองเมืองแทนพระราชาที่ตายนั้น
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ขณะที่กุดจี่สองตัวผัวเมียกำลังช่วยกันกลิ้งเบ้า (ลูกดินกลม ๆ ที่ห่อหุ้มไข่กุดจี่) ไปตามทางผ่านหน้าหมาตัวหนึ่ง หมาสงสัยก็ถามว่าจะพากันไปไหน กุดจี่ตอบว่า จะไปเมืองลังกา (กรุงลงกา ในเรื่องรามเกียรติ์)
หมาก็ยิ่งสงสัยว่าไปทำอะไรหรือ กุดจี่ตอบว่า ได้ข่าวว่าเมืองลงกาถูกหนุมานเผาเมืองไหม้วอดวายหมด รวมทั้งครกที่ตำอาหารก็ไหม้ จะเอาเบ้าไปทำครกถวายพระเจ้าเมืองลังกา
หมายิ่งงงและถามไปอีกอย่างดูถูกดูแคลน ว่าจะไปถึงเหรอ? แล้วเบ้าแค่นี้จะทำครกได้อย่างไรกัน กุดจี่ตอบทันควันว่า นี่กะว่า จะไปให้ทันกินข้าวเช้า แล้วก้อนดินนี้จะปาดออกให้เป็นครก 3 ใบ ก็ได้
หมาได้ฟังก็ แปลกใจอย่างสุด ๆ ตั้งแต่นั้นมาหมาไม่กินกุดจี่เลย โดยถือว่ากุดจี่มีความสามารถมากกว่าตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหมาทุกตัวจะเมินไม่ยอมกินกุดจี่ ไม่ว่าจะตัวสด หรือ คั่ว ทอดจนสุกแล้วก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจริง ๆ แล้วจะเป็นเพราะหมาไม่ถูกกับกลิ่นขี้ควายหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้
กุดนางใย เป็นชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองมหาสารคาม มาตั้งแต่สมัยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืององค์แรก ซึ่งมาตั้งเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2408 ใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคควบคู่กับแหล่งน้ำในหนองท่ม (กระทุ่ม) ที่เรียกว่ากุดเพราะเป็นที่สิ้นสุดของสายน้ำหรือเรียกว่าแม่น้ำด้วน ปัจจุบัน ตื้นเขินมากคงเหลือเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ใกล้กับกุดนางใยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาสารคาม และริมกุดนางใย มีร่องรอยของวัตถุโบราณ สันนิษฐานว่าพระเจริญราชเดชสร้างไว้เมื่อครั้งตั้งเมือง ได้แก่เสาหงส์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พิทักษ์เมือง
จากนิทานพื้นบ้านกล่าวว่า ครั้งโบราณที่บริเวณแหล่งน้ำนี้มีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ มีแม่และลูกชาย ภายหลังได้ลูกสะใภ้มาอยู่ร่วมกัน มาวันหนึ่งลูกชายไปค้าขายทางไกล แม่และลูกสะใภ้อยู่ บ้านเพียง 2 คน คืนหนึ่งแม่ผัวสังเกตเห็นว่าที่ห้องนอนของ ลูกสะใภ้จุดตะเกียงตลอดคืน ซึ่งเป็นการผิดธรรมเนียมโบราณ กล่าวคือเมื่อเข้านอนต้อง ดับตะเกียง คืนหนึ่งแม่ผัวสงสัยจึงไปแอบดูว่าลูกสะใภ้ทำอะไรอยู่ในห้อง และเห็นว่า ลูกสะใภ้กำลังสาวใยไหม ออกจากปากตัวเองมาม้วนเข้าฝัก จึงเกิดความหวาดกลัวนึกว่า สะใภ้เป็นภูตผีปีศาจ จึงนำความไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง
คืนต่อมาแม่ผัวและเพื่อนบ้านจึงมาแอบดูเพื่อจับผิดลูกสะใภ้ ในที่สุดได้จู่โจมเข้าไปในห้องขณะที่ลูกสะใภ้กำลังสาวไหมออกจากปาก จึงซักถามว่าเป็นใครมา จากไหน เป็น ภูติ ผี ปีศาจ หรือเปล่า ทำให้ลูกสะใภ้อับอาย จึงหนีออกจากบ้านและโดดลงในลำน้ำนั้นหายไป เมื่อลูกชายกลับมาและรู้ความจริงว่าภรรยาโดดน้ำตาย ณ ที่แห่งนั้นจึงได้แต่ เศร้าโศกเสียใจ
เมื่อถึงคืน เดือนหงายจะไปนั่งริมลำน้ำแห่งนี้ และจ้องมองลงไปในสายน้ำ นาน ๆ เข้าก็มองเห็นภรรยาในสายน้ำนั้น และสาวใยไหมออกจากปาก ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่ากุดนางใย (ใยหมายถึงใยไหม)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
นิทานพื้นบ้าน.whitemedia.org , dek9.com , esanclick.com , gotoknow.org , pinyasakonsorn.igetweb.com
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก esanclick.com
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : ตำนานผาแดงนางไอ่
นางไอ่เป็นธิดาพระยาขอมผู้ครองเมืองชะธีตา นางไอ่เป็นสตรีที่มีสิริโฉมงดงามเป็นที่เลื่องลือไปในนครต่าง ๆ ทั้งโลกมนุษย์และบาดาล มีชายหนุ่มหมายปองจะได้อภิเษกกับนางมากมาย
ในจำนวนผู้ที่มาหลงรักนางไอ่ มีท้าวผาแดงและท้าวพังคี โอรสสุทโธนาค เจ้าผู้ครองนครบาดาล ท้าวทั้งสองต่างเคยมีความผูกพันกับนางไอ่มาแต่อดีตชาติ จึงต่างช่วงชิงจะได้เคียงคู่กับนาง แต่ก็พลาดหวัง จึงมิได้อภิเษกทั้งคู่เพราะแข่งขันบั้งไฟแพ้
ท้าวพังคีนาคไม่ยอมลดละ แปลงกายเป็นกระรอกเผือกคอยติดตามนางไอ่ สุดท้ายถูกฆ่าตาย พญานาคผู้เป็นพ่อจึงขึ้นมาถล่มเมืองล่มไป กลายเป็นหนองน้ำใหญ่ คือ หนองหาน
อย่างไรก็ตาม ในตำรา อ้างอิงถึงเรื่องผาแดงนางไอ่จบลงด้วยการเกิดเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ จากการต่อสู้ของพญานาคกับท้าวผาแดง ต่างก็มีข้อมูลอ้างอิงถึง หนองน้ำที่ชื่อหนองหาน แต่กล่าวต่างกันไปในตำราแต่ละเล่มถึงหนองน้ำ ทั้ง 3 แห่ง หนองหาน ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี และหนองหาน อำเภอกุมภวาปี ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่แรกมากนัก และอีกที่หนึ่งก็คือหนองหาร จังหวัดสกลนคร
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องปู่ปะหลาน
ปู่กับหลานได้เดินทางไกลผ่านมายังทุ่งกุลาร้องไห้นี้ เดินข้ามอย่างไรก็ไม่พ้นสักที ปู่ก็จวนเจียนจะหมดแรงอยู่รอมร่อ ส่วนหลานนั้นก็ได้เอาแต่ร้องไห้งัวเงียด้วยความเหนื่อยล้า ทั้งยังกระหายน้ำจนดูท่าว่าจะเดินทางไปต่อไม่ไหว จนกระทั่งได้พลอยหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย (แต่ก่อนนี้ทุ่งกุลาร้องไห้นี้มีความทุรกันดารมาก ทั้งยังมีพื้นที่ที่กว้างใหญ่มีอาณาเขตติดต่อกันถึงห้าจังหวัด) ปู่จึงได้ใช้ผ้าขาวม้าห่อหุ้มหลานเอาไว้ แล้วนำไปไว้ยังโคนของพุ่มไม้แห่งหนึ่งเพื่อบังแดดให้แก่หลานน้อยนั้นไว้ ปู่จึงได้รีบเดินทางต่อโดยความหวังว่า จะได้พบกับหมู่บ้านที่ใกล้ที่สุดที่ซึ่งมีน้ำเพื่อที่จะนำไปให้หลานดื่มได้
บริเวณนี้เรียกว่า บ้านป๋าหลาน เพราะคำว่าป๋านั้นหมายถึงการทิ้ง เช่น ผัวป๋าเมีย เป็นต้น ซึ่งในบริเวณจังหวัดมหาสารคามนั้น ก็มีชื่อหมู่บ้านนี้ว่าเป็นบ้านป๋าหลานอยู่ ในท้องที่ใกล้ ๆ กับอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคามในปัจจุบัน
เมื่อปู่เดินทางจนมาถึงตีนบ้าน ปู่ก็ได้รีบเขาไปขอน้ำดื่มจากชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น พร้อมกับได้รีบนำน้ำใส่บั้งทิง เพื่อที่จะนำไปให้หลานดื่ม
ส่วนหลานนั้น เมื่อตื่นขึ้นมาแล้วก็ไม่พบปู่ ก็ร้องไห้ด้วยความเสียใจ และด้วยความกลัวตามประสาของเด็ก และจึงได้ออกวิ่ง ทั้งเดินเพื่อตามหาปู่ของตนว่าอยู่ไหน ทั้งยังพร่ำบ่นว่า ปู่นั้นได้ทิ้งตนเองไปแล้ว ด้วยความน้อยเนื้อต่ำใจว่าปู่นั้นไม่รักตนเอง ปล่อยทิ้งให้หลานนั้นอยู่เพียงลำพังคนเดียวด้วยความไม่ไยดีซึ่งมีปรากฏเป็นบทกลอนของการลำอยู่ ในที่สุดนั้นหลานก็ได้หมดแรง และล้มลง
ปู่นั้นเมื่อได้น้ำมาแล้ว ก็ได้รีบนำกลับมาให้หลานด้วยความเป็นห่วง แต่เมื่อมาถึงพุ่มไม้ที่ได้วางหลานเอาไว้ ก็กลับไม่พบหลานเลย ปู่จึงได้รีบออกค้นหาหลานไปทั่วบริเวณนั้น จนกระทั่งปู่ก็ได้มาพบหลานนอนตายอยู่กลางแดดจ้าของท้องทุ่งอันแสนกันดารแห่งนี้ มีทั้งมด แมลง ไต่ชอนไชอยู่ตามรูจมูก ใบหูและปากไปทั่ว
ครั้นเมื่อปู่เห็นสภาพหลานดังนั้นแล้วก็แทบใจขาด น้ำตาร่วงหล่นด้วยความสงสารในชะตากรรมของหลานที่ต้องมาตายอย่างทุกข์ทรมาน ทั้งยังโทษตัวเองว่าทำไมจึงได้ทิ้งหลานไว้ให้อยู่คนเดียว ปู่ได้ค่อย ๆ อุ้มศพของหลานขึ้นแล้วเดินพาหลานกลับไปยังตีนบ้านแห่งนั้น ด้วยความเศร้าโศกเสียใจ ดังกับว่าหัวใจของปู่นั้นจะแตกสลายเสียให้ได้
ต่อมาเมื่อมีความเจริญขึ้นตรงบริเวณนั้น บริเวณบ้านแห่งนั้นก็ถูกเรียกว่าเป็นบ้าน ปะหลาน ซึ่งหมายถึงบริเวณบ้านที่ปู่นั้นได้พบกับศพของหลานนั่นเอง
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องซิ่นสองต่อน
ซิ่นสองต่อน หมายถึง เนื้อคู่
ซิ่น หมายถึง เนื้อ
ต่อน หมายถึง ชิ้น
รวม คือ เนื้อสองชิ้น เนื้อสองชิ้น ก็คือ เนื้อคู่
ว่ากันว่า นานมาแล้ว เมื่อปี 2514 จำปารักกันกับบุญหลาย แต่พ่อแม่กีดกัน เพราะพ่อแม่เป็นศัตรูกันเมื่อ 20 ปีก่อน ทั้งสองถึงแอบคบกันลับ ๆ ตลอดมา จนวันหนึ่ง จำปี พี่ของจำปาซึ่งแอบรักบุญหลาย เห็นจำปากับบุญหลายคุยกัน จึงไม่พอใจ จึงนำความไปบอกพ่อแม่
พ่อแม่แค้นใจมาก จึงจับจำปาบวชชี เวลาผ่านไปหลายเดือน จำปาก็แอบหนีจากการเป็นชี หนีไปอีกหมู่บ้านหนึ่งกับบุญหลาย เมื่อจำปีทราบว่า จำปาหนีไปกับบุญหลาย จำปีก็ไปบอกพ่อแม่ของบุญหลาย ฝ่ายแม่ของบุญหลายก็ตรอมใจตาย ส่วนพ่อบุญหลายไม่เชื่อเลย จับจำปีขังไว้ที่บ้านของตน แล้วไปของพ่อแม่ของจำปา ว่าให้หาบุญหลายมาคืนแล้วจะเอาจำปีคืนให้ ทั้งสองจึงแสร้งมาเล่าความจริงว่าไม่ได้เอาไป มาพร้อมกับข้าวห่อหนึ่งใส่ยาพิษมาให้พ่อบุญหลายกิน พ่อบุญหลายก็กินแล้วตายไป พ่อแม่จำปีก็พาจำปีกลับบ้าน แต่ยังไม่ถึง โจรก็มาปล้นกลางทางแล้วฆ่าทั้ง 3 ทิ้งเสีย
ส่วนจำปากับบุญหลาย ครองรักกันไม่นานก็มีลูกแล้วแท้ง จำปาเลยเป็นบ้าบอสติไม่เต็ม วันหนึ่งเห็นมีดในครัว จึงถือมาฟันหัวบุญหลายตาย
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องขี้เหล้าเล่นหม้อ
นิทานพื้นบ้านหนองฮังกา (ปัจจุบันขึ้นกับบ้านแสงอินทร์) ต.กระเบื้อง อ.ชุมพลบุรี จ.สุรินทร์
นานมาแล้วมีเศรษฐีผู้ใจบุญท่านหนึ่ง แกชอบทำบุญเป็นชีวิตจิตใจ ขอให้ได้ทำบุญแก่จะทำทุกอย่าง คนอีสานพูดไว้ว่า ?แฮงให้ แฮงรวย แฮงให้ แฮงได้หลาย? คือ ได้เยอะเพราะคนตอบแทนกับการให้ของเรา รวมคือรวยน้ำใจไปไหนคนรักคนอารีย์กับไมตรีจิตของเรา ยิ่งให้ก็ยิ่งได้มาก
เศรษฐีผู้ใจบุญมีลูกชายคนเดียว ไม่เอาถ่าน ลูกเมียก็ไม่มี ลูกชายเศรษฐี เอาอย่างเดียวคือ กินเหล้า กินแล้วก็กินอีก กินจนติด เพื่อนฝูงก็มาก เพราะรวย มีเงินเลี้ยงคนอื่น เพื่อต้องการความเป็นเพื่อนแค่นั้นเอง เพื่อนทั้งหลายก็หลอกกินฟรีไปวัน ๆ
หลายปีต่อมา เศรษฐีใจบุญตายลง ลูกชายเศรษฐีเป็นผู้รับมรดกแต่เพียงผู้เดียว เขาไม่สนใจการบริหาร ไม่รู้จักรักษาทรัพย์ที่พ่อแม่ให้ไว้ ดื่มกินจนเมามาย ไม่นานฐานะความเป็นอยู่ของเขาก็จนลง ไม่มีที่อยู่อาศัย ขอทานเขากินไปวัน ๆ ความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสเริ่มเข้ามาแทนที่ เขาไปหาเพื่อนที่ไหนก็ไม่มีใครให้กิน ความทุกขเวทนามีมากยิ่งขึ้น ด้วยเดชะบุญกุศลของเศรษฐีผู้ใจบุญที่ตายไปแล้ว จึงได้ไปเกิดเป็นเทวดาผู้ใหญ่ในสวรรค์ ด้วยความเป็นห่วงลูก จึงใช้ตาทิพย์มองมายังพื้นโลก เห็นลูกชายของตนได้รับทุกขเวทนายิ่งนัก หัวอกผู้เป็นพ่อให้สลดหดหู่ยิ่ง ด้วยความเป็นห่วงลูก เทวดาผู้เป็นใหญ่นั้นจึงได้ลงมาหาลูกตน สอนให้ลูกรู้จักทำมาหากิน ให้รู้จักประหยัดเมื่อมีเงิน
ลูกชายเมื่อฟังแล้วก็รับปากว่า จะกลับตัวเป็นคนดี จะเลิกเหล้าเด็ดขาด เขาบอกกับเทวดาผู้เป็นใหญ่ซึ่งเป็นพ่อของเขาว่า เขาจะเริ่มต้นอย่างไร เขาไม่มีทุกรอนอะไร เทวดาผู้เป็นพ่อจึงส่งหม้อดินให้เขาใบหนึ่ง แล้วบอกว่า เจ้าจงรักษาหม้อดินนี้ให้ดี หากเจ้าต้องการเงินทอง เจ้าก็เอามือล้วงเข้าไปหยิบมาใช้ได้ดั่งใจคิด แต่มีข้อแม้ว่าอย่าทำแตก ลูกชายเศรษฐีก็รับคำพ่อ
เช้าของวันรุ่งขึ้น ลูกชายเศรษฐีขี้เหล้า ก็เอามือล้วงดูว่าที่พ่อบอกนั้นจะจริงหรือเปล่า เป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก มือเขาสัมผัสกับเงินทองมากมาย เขาอดเหล้าได้เพียงครึ่งวันเท่านั้น ก็ลืมคำพ่อที่สั่งสอนเสียสิ้น เขากลับมาดื่มกินอย่างหนัก วันหนึ่งเขากินเหล้าแล้วก็เดินทางไปหาเพื่อน ระหว่างทาง เขานึกสนุกขึ้นมา จึงได้โยนหม้อขึ้นสูง ๆ แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ?โอะร่วง" พอรับหม้อได้เขาก็โยนใหม่ แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ โอะร่วง" เขาทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ในระหว่างเดินทาง แล้วก็วิ่งไปรับ ปากก็พูดว่า "โอะ ๆ โอะ โอะร่วง" คราวนี้หม้อในมือเขาเกิดร่วงจริง ๆ หม้อใบนั้นจึงแตก ขี้เหล้าตกใจมาก เขาคิดถึงคำพ่อที่บอกไว้ เขารู้สึกเสียใจในการกระทำของตัวเองมาก เขาไม่มีโอกาสอีกแล้วในชีวิตนี้ เขาไม่ได้ล้วงเงินทองในหม้อเก็บไว้ เพื่อไว้ใช้จ่ายในวันข้างหน้าเลย เขาไม่ได้เก็บเงินไว้เพื่อเป็นค่ารักษาพยาบาลตนเองเลย เขาไม่มีเงินสำรองอะไรทั้งสิ้น หมดแล้วทุกอย่าง
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องก่องข้าวน้อยฆ่าแม่
ครั้งหนึ่งเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่บ้านตาดทอง ในฤดูฝนมีการเตรียมปักดำกล้าข้าวทุกครอบครัวจะออกไปไถนาเตรียมการเพราะปลูก ครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งกำพร้าพ่อ ไม่ปรากฏชื่อหลักฐาน ก็ออกไปปฏิบัติภารกิจเช่นเดียวกัน วันหนึ่งเขาไถนาอยู่นานจนสาย ตะวันขึ้นสูงแล้วรู้สึกเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากกว่าปกติ และหิวข้าวมากกว่าทุกวัน ปกติแล้วแม่ผู้ชราจะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้าผิดปกติ
เขาจึงหยุดไถนาเข้าพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ปล่อยเจ้าทุยไปกินหญ้าสายตาเหม่อมองไปทางบ้าน รอคอยแม่ที่จะมาส่งข้าวตามเวลาที่ควรจะมา ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจ ยิ่งสายตะวันขึ้นสูงแดดยิ่งร้อนความหิวกระหายยิ่งทวีคูณขึ้น
ทันใดนั้นเขามองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนาพร้อมก่องข้าวน้อย ๆ ห้อยต่องแต่งอยู่บนเสาแหรกคาน เขารู้สึกไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวกระหายจนตาลาย อารมณ์พลุ่งพล่าน เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงเอ่ยต่อว่าแม่ของตนว่า
"อีแก่ มึงไปทำอะไรอยู่จึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก
ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อย ๆ กูจะกินอิ่มหรือ?"
ผู้เป็นแม่เอ่ยปากตอบลูกว่า "ถึงก่องข้าวจะน้อย ก็น้อยต้อนเต้นแน่นในดอกลูกเอ๋ย ลองกินเบิ่งก่อน"
ความหิว ความเหน็ดเหนื่อย ความโมโห หูอื้อตาลาย ไม่ยอมฟังเสียงใด ๆ เกิดบันดาลโทสะอย่างแรงกล้า คว้าได้ไม้แอกน้อยเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดกล่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่ อนิจจา แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..
ชายหนุ่มร้อยไห้โฮ สำนึกผิดที่ฆ่าแม่ของตนเองด้วยอารมณ์เพียงชั่ววูบ ไม่รู้จะทำประการใดดี จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด
สมภารสอนว่า "การฆ่าบิดามารดาผู้บังเกิดเกล้าของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีทางเดียวจะให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูกแม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"
เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว ขอร้องชักชวนญาติมิตรชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุอัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบทุกวันนี้
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องพญาคันคาก
"คันคาก" ในภาษาอีสานที่แปลว่า "คางคก" เรื่อง "พญาคันคาก" อันเป็นต้นกำเนิดของประเพณีบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นบุญเดือนหกในฮีตสิบสองคองสิบสี่ของชาวอีสาน
ณ เมืองชมพู พระนางสีดา มเหสีของพญาเอกราชผู้ครองเมือง ได้ให้กำเนิดโอรสลักษณะแปลกประหลาด คือผิวกายเหลืองอร่ามดั่งทองคำ แต่เป็นตุ่มตอเหมือนผิวคางคก คนทั้งหลายจึงขนานนามพระกุมารว่า ท้าวคันคาก ซึ่งคันคาก แปลว่าคางคก
เมื่อเติบใหญ่ขึ้น พระกุมารประสงค์จะได้พระชายาที่มีสิริโฉมงดงาม แต่พญาเอกราชได้ห้ามปรามไว้ ด้วยทรงอับอายในรูปกายของท้าวคันคาก แต่ท้าวคันคากก็ไม่ย่อท้อ ได้ตั้งจิตอธิษฐานขอพรจากพระอินทร์ ด้วยบุญบารมีแต่ชาติปางก่อนของท้าวคันคาก พระอินทร์จึงเนรมิตปราสาทพร้อมทั้งประทานนางอุดรกุรุทวีป ผู้เป็นเนื้อคู่ให้เป็นชายา ส่วนท้าวคันคากเอง ก็ถอดรูปกายคันคากออกให้ กลายเป็นชายหนุ่มรูปงาม
พญาเอกราชยินดีกับพระโอรส จึงสละราชบัลลังก์ให้ครองเมืองต่อ ทรงพระนามว่า พญาคันคาก พญาคันคากตั้งอยู่ในทศพิธราชธรรม มีเดชานุภาพเป็นที่เลื่องลือ จนเมืองน้อยใหญ่ต่างมาสวามิภักดิ์ แต่ก็ทำให้มีผู้เดือดร้อน คือพญาแถน ผู้อยู่บนฟากฟ้า เพราะมนุษย์หันไปส่งส่วยให้พญาคันคากจนลืมบูชาพญาแถน จึงแกล้งงดสั่งพญานาคให้ไปให้น้ำในฤดูทำนา ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ข้าวยากหมากแพง ชาวเมืองจึงไปร้องขอพญาคันคากให้ช่วย
พญาคันคากจึงเกณฑ์กองทัพสัตว์มีพิษทั้งหลาย ได้แก่ มด ผึ้ง แตน ตะขาบ กบ เขียด เป็นอาทิ ทำทางและยกทัพขึ้นไปสู้กับพญาแถน โดยส่งมดปลวกไปกัดกินศัตราวุธของพญาแถนที่ตระเตรียมไว้ก่อน ทำให้เมื่อถึงเวลารบ พญาแถนไม่มีอาวุธ แม้จะร่ายมนต์ ก็ถูกเสียงกบ เขียด ไก่ กา กลบหมด เสกงูมากัดกินกบเขียด ก็โดนรุ้ง (แปลว่าเหยี่ยว) ของพญาคันคากจับกิน ทั้งสัตว์มีพิษก็ยังไปกัดต่อยพญาแถนจนต้องยอมแพ้ในที่สุด
พญาคันคากจึงเริ่มเจรจาต่อพญาแถน ขอให้เมตตาชาวเมือง ประทานฝนตามฤดูกาลทุกปี พญาแถนแสร้งว่าลืม พญาคันคากจึงทูลเสนอว่าจะให้ชาวบ้านจุดบั้งไฟขึ้นมาเตือน พญาแถนก็เห็นชอบด้วย
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทุก ๆ เดือนหกซึ่งเป็นช่วงเริ่มฤดูทำนา ชาวอีสานจึงมีประเพณีบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถน เพื่อจะได้อำนวยความสะดวกตลอดฤดูเพาะปลูก และเมื่อพญาแถนประทานฝนลงมาถึงพื้นโลกแล้ว บรรดากบเขียดคางคกที่เป็นบริวารของพญาคันคาก ก็จะร้องประสานเพื่อแสดงความขอบคุณต่อพญาแถน
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องยายหมาขาว
นิทานเรื่องยายหมาขาว เป็นนิทานสอนใจเยาวชนชาวอีสานมาช้านาน หมอลำหมู่นิยมเอามาแสดงเสมอ ในตอนจบเรื่องก็จะมีคำกลอนสอนใจให้ทุกคนกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ไม่เฉพาะเป็นคนแม้เป็นสัตว์ที่ทำคุณให้กับตนยังต้องรู้จักบุญคุณด้วย
ยังมีสองผัวเมียอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจันทคาม ซึ่งฝ่ายเป็นเมียนั้นได้ท้องแก่จวนคลอดแล้วในตอนนั้นเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายเป็นอันมาก สองผัวเมียจึงอพยพหนีจากหมู่บ้านมาอยู่กลางป่า ต่อมาเมียคลอดลูกแล้วก็ตาย ผัวเห็นก็ตรอมใจตายตามด้วย ปล่อยให้เด็กทารกเกิดใหม่ร้องไห้อยู่ในป่าอย่างนั้น
ต่อมายังมีหมาขาวตัวหนึ่งเป็นตัวเมียออกมาหากิน มาเห็นเด็กทั้งสองก็เกิดสงสาร จึงเอาไปเลี้ยงเป็นลูก ให้กินนมของตัวและหาอาหารเลี้ยงมาจนเติบโตเป็นสาวสวย ทุกวันนางหมาขาวตัวนี้จะพาลูกสาวทั้งสองออกไปหากินในป่า
ในวันหนึ่งเกิดพายุพัดให้นางหมาขาวต้องพลัดพรากจากลูกไป ลูกสาวทั้งสองก็โดนลมพัดไปถึงเขตบ้านนายพราน เมื่อนายพรานเห็นหญิงสาวทั้งสองงดงามมาก อยากได้รางวัลจึงนำหญิงสาว ทั้งสองขึ้นถวายแก่พระราชาซึ่งยังโสด พระราชามีพระอนุชาซึ่งยังโสดเหมือนกัน ฝ่ายพระราชาก็ได้ผู้พี่เป็นมเหสี ฝ่ายอนุชาก็รับผู้น้องเป็นชายา
กล่าวถึงนางหมาขาว เมื่อพลัดพรากจากลูกแล้ว นางก็ติดตามหาลูก จนได้ยินข่าวว่านายพรานเป็นผู้อุปการะจึงมาหานายพรานเพื่อถามหาลูกสาว เมื่อนายพรานรู้ก็บอกความจริง นางหมาขาวจึงขอร้องให้นายพรานพาไปหาลูกสาวที่ในวัง เมื่อพามาถึงพระราชวัง นายพรานก็ทูลพระราชาตามความจริง แต่พระมเหสีนั้นอับอายขายหน้าเกรงว่าคนจะรู้ว่าตนเป็นลูกของหมาขาว จึงทูลเท็จต่อพระสวามีไปว่า ไม่เป็นความจริง พร้อมทั้งขับไล่นายพรานและหมาขาวตัวนั้นไป แต่นางหมาขาวไม่ยอมไป นางจึงเอาน้ำร้อนเทสาดใส่กลางหลังนางหมาขาว นางหมาขาวถูกน้ำร้อนลงกลางหลังทำให้นางบาดเจ็บสาหัส นางก็ซัดเซพเนจรไปล้มลงที่วังของลูกสาวคนเล็ก เมื่อลูกสาวคนเล็กมาพบมารดา ก็จำได้ จึงอุ้มมารดามาเพื่อจะรักษา แต่นางทนพิษบาดแผลไม่ไหวจึงสิ้นใจตาย ก่อนตายนางบอกว่าห้ามเผาหรือฝัง ให้เก็บกระดูกไว้บูชาในวัง ลูกสาวก็ทำตาม
จากนั้นไม่นานก็เกิดเป็นทองคำ ข่าวนั้นเลื่องลือไปถึงผู้พี่สาว พี่สาวก็มาขอส่วนแบ่งทองคำ แต่น้องไม่ยินยอมให้จึงเกิดโต้เถียงกัน จนดังขึ้นไปถึงหูพระราชา พระราชาจึงได้เรียกทั้งสองเข้ามาถามความจริง ในที่สุดเรื่องจริงก็ปรากฏ พระราชาก็โกรธที่พระมเหสีของพระองค์นั้นทูลเท็จและอกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ จึงตัดสินให้ประหารชีวิตเสีย...
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องกำพร้าผีน้อย
ที่เมืองแห่งหนึ่งมีเด็กน้อยคนหนึ่งกำพร้าพ่อและแม่ ได้เที่ยวขอทานเขากินจนโตเป็นหนุ่มแล้ว จึงออกจากเมืองมาทำนาทำไร่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เมื่อข้าวพืชงอกงามขึ้น ได้มีสัตว์ต่าง ๆ มากิน แม้จะไล่อย่างไรก็ไม่ไหว เอาอะไรมาทำเครื่องดักก็ยังขาดหมด จึงไปขอเอาสายไหม จากย่าจำสวน (คนสวนของพระราชา) มาทำจึงจับได้ช้าง ช้างเมื่อถูกจับได้กลัวตาย จึงร้องขอชีวิตและบอกว่าจะให้ของวิเศษถอดงาข้างหนึ่งให้
ท้าวกำพร้าผีน้อย จึงปล่อยไปแล้วเอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ต่อมาท้าวกำพร้าดักได้เสือ เสือก็ยอมเป็นลูกน้อง โดยบอกว่าถ้ามีเรื่องเดือดร้อนจะมาช่วย ต่อมาจับได้อีเห็น อีเห็นก็ยอมเป็นลูกน้อง เช่นเดียวกันกับเสือ ต่อมาจับพญาฮุ้ง (นกอินทรีย์) พญาฮุ้งก็ยอมเป็นลูกน้อง และตัวสุดท้ายจับได้คือ ผีน้อยที่มาขโมยกินปลาที่ไซ
น้อย ก็ยอมเป็นลูกน้อง
ขณะที่ท้าวกำพร้าได้เอางาช้างมาไว้ที่บ้าน ในงาช้างนั้นได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชื่อสีดอาศัยอยู่ นางได้ออกมาทำอาหารไว้รอท้าวกำพร้า ต่อมาท้าวกำพร้าจับนางได้จึงทุบงาช้างนั้น เพื่อจะไม่ให้นางหลบเข้าไปอยู่อีก นางจึงอยู่กินเป็นสามีภรรยากันตั้งแต่นั้นมา ความสวยงามของสีดา ได้ยินไปถึงพระราชา เมื่อพระราชาเห็นแล้วก็รักใคร่ จึงจะยึดเอาแต่ก็กลัวคนจะติเตียน จึงท้าท้าวกำพร้า พนันขันแข่งต่าง ๆ โดยถ้าท้าวกำพร้าแพ้จะยึดนางสีดามา ถ้าพระองค์แพ้จะยอมยกเมืองให้ครึ่งหนึ่ง
การแข่งขันนั้นคือ ชนวัว , ชนไก่ , แข่งเรือ แต่ปรากฏว่าท้าวกำพร้าชนะทุกครั้ง เพราะในการชนวัวนั้น เสือแปลงเป็นวัวมาช่วยท้าวกำพร้า ชนไก่นั้นอีเห็นแปลงเป็นไก่มาช่วย กัดไก่ของพระราชาตาย ในการแข่งขันเรือนั้น พญาฮุ้งมาเป็นเรือและได้ทำให้เรือพระราชาล่มแล้วกินคนหมดทั้งเมือง
เมื่อพระราชาตายแล้วได้รวมหัวกับบ่างลั่วตัวหนึ่ง โดยให้บ่างลั่วร้องเรียกวิญญาณของนางสีดามา โดยร้องครั้งแรกนางก็ไม่สบาย ครั้งที่สองสลบไป ครั้งที่สามจึงตามวิญญาณของนาง จึงมาอยู่กับพวกผีพระราชา ส่วนท้าวกำพร้าปรึกษากับผีน้อย ผีน้อยบอกว่าอย่าเพิ่งเผา จะตามไปดูวิญญาณของนางอยู่ที่ใด
เมื่อผีน้อยตามจึงรู้เรื่องทั้งหมด ได้วางแผนจับบ่างลั่วตัวนั้น เข้าไปตีสนิทกับบ่างลั่วแล้ว สานข้อง (ที่ใส่ปลา) ครั้งแรกสานด้วยไม้ไผ่ แล้วให้บ่างลั่วเข้าไปข้างใน แล้วให้ยันดู ปรากฏว่าข้องแตก จึงสานด้วยลวด แล้วบอกให้บ่างลั่วเข้าไปดูแล้วบอกให้ยันดู ปรากฏว่าข้องไม่แตกจึงรีบหาฝามาปิด แล้วรีบเอามาให้ท้าวกำพร้า บังคับให้บ่างลั่วร้องเรียกเอาวิญญาณนางสีดากลับคืนมาไม่เช่นนั้นจะฆ่าเสีย บ่างลั่วจึงร้องเรียกเอาวิญญาณนางกลับมา โดยร้องครั้งแรกก็เคลื่อนไหว ครั้งที่สองฟื้นขึ้น ครั้งที่สามหายเป็นปกติทุกอย่าง พอทุกอย่างปกติแล้ว ท้าวกำพร้าจึงหลอกว่าขอดูไอ้ที่ร้องเอาวิญญาณคนได้ไหม บ่างลั่วจึงแลบลิ้นออกมาให้ดู ท้าวกำพร้าจึงตัดลิ้นบ่างลั่วนั้นเสีย เพราะกลัวมันจะร้องเอาวิญญาณไปอีก บ่างลั่วจึงร้องไม่ชัดตั้งแต่นั้นมา ส่วนท้าวกำพร้ากับนางสีดา ได้ปกครองเมืองแทนพระราชาที่ตายนั้น
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องปู่ตั๋วหลาน
ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ขณะที่กุดจี่สองตัวผัวเมียกำลังช่วยกันกลิ้งเบ้า (ลูกดินกลม ๆ ที่ห่อหุ้มไข่กุดจี่) ไปตามทางผ่านหน้าหมาตัวหนึ่ง หมาสงสัยก็ถามว่าจะพากันไปไหน กุดจี่ตอบว่า จะไปเมืองลังกา (กรุงลงกา ในเรื่องรามเกียรติ์)
หมาก็ยิ่งสงสัยว่าไปทำอะไรหรือ กุดจี่ตอบว่า ได้ข่าวว่าเมืองลงกาถูกหนุมานเผาเมืองไหม้วอดวายหมด รวมทั้งครกที่ตำอาหารก็ไหม้ จะเอาเบ้าไปทำครกถวายพระเจ้าเมืองลังกา
หมายิ่งงงและถามไปอีกอย่างดูถูกดูแคลน ว่าจะไปถึงเหรอ? แล้วเบ้าแค่นี้จะทำครกได้อย่างไรกัน กุดจี่ตอบทันควันว่า นี่กะว่า จะไปให้ทันกินข้าวเช้า แล้วก้อนดินนี้จะปาดออกให้เป็นครก 3 ใบ ก็ได้
หมาได้ฟังก็ แปลกใจอย่างสุด ๆ ตั้งแต่นั้นมาหมาไม่กินกุดจี่เลย โดยถือว่ากุดจี่มีความสามารถมากกว่าตัวเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้วหมาทุกตัวจะเมินไม่ยอมกินกุดจี่ ไม่ว่าจะตัวสด หรือ คั่ว ทอดจนสุกแล้วก็ตาม ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าจริง ๆ แล้วจะเป็นเพราะหมาไม่ถูกกับกลิ่นขี้ควายหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้
นิทานพื้นบ้านภาคอีสาน : เรื่องกุดนางใย
กุดนางใย เป็นชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญของเมืองมหาสารคาม มาตั้งแต่สมัยพระเจริญราชเดช (กวด) เจ้าเมืององค์แรก ซึ่งมาตั้งเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2408 ใช้เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคควบคู่กับแหล่งน้ำในหนองท่ม (กระทุ่ม) ที่เรียกว่ากุดเพราะเป็นที่สิ้นสุดของสายน้ำหรือเรียกว่าแม่น้ำด้วน ปัจจุบัน ตื้นเขินมากคงเหลือเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ใกล้กับกุดนางใยเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยอาชีวศึกษา มหาสารคาม และริมกุดนางใย มีร่องรอยของวัตถุโบราณ สันนิษฐานว่าพระเจริญราชเดชสร้างไว้เมื่อครั้งตั้งเมือง ได้แก่เสาหงส์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้พิทักษ์เมือง
จากนิทานพื้นบ้านกล่าวว่า ครั้งโบราณที่บริเวณแหล่งน้ำนี้มีครอบครัวหนึ่งตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ มีแม่และลูกชาย ภายหลังได้ลูกสะใภ้มาอยู่ร่วมกัน มาวันหนึ่งลูกชายไปค้าขายทางไกล แม่และลูกสะใภ้อยู่ บ้านเพียง 2 คน คืนหนึ่งแม่ผัวสังเกตเห็นว่าที่ห้องนอนของ ลูกสะใภ้จุดตะเกียงตลอดคืน ซึ่งเป็นการผิดธรรมเนียมโบราณ กล่าวคือเมื่อเข้านอนต้อง ดับตะเกียง คืนหนึ่งแม่ผัวสงสัยจึงไปแอบดูว่าลูกสะใภ้ทำอะไรอยู่ในห้อง และเห็นว่า ลูกสะใภ้กำลังสาวใยไหม ออกจากปากตัวเองมาม้วนเข้าฝัก จึงเกิดความหวาดกลัวนึกว่า สะใภ้เป็นภูตผีปีศาจ จึงนำความไปเล่าให้เพื่อนบ้านฟัง
คืนต่อมาแม่ผัวและเพื่อนบ้านจึงมาแอบดูเพื่อจับผิดลูกสะใภ้ ในที่สุดได้จู่โจมเข้าไปในห้องขณะที่ลูกสะใภ้กำลังสาวไหมออกจากปาก จึงซักถามว่าเป็นใครมา จากไหน เป็น ภูติ ผี ปีศาจ หรือเปล่า ทำให้ลูกสะใภ้อับอาย จึงหนีออกจากบ้านและโดดลงในลำน้ำนั้นหายไป เมื่อลูกชายกลับมาและรู้ความจริงว่าภรรยาโดดน้ำตาย ณ ที่แห่งนั้นจึงได้แต่ เศร้าโศกเสียใจ
เมื่อถึงคืน เดือนหงายจะไปนั่งริมลำน้ำแห่งนี้ และจ้องมองลงไปในสายน้ำ นาน ๆ เข้าก็มองเห็นภรรยาในสายน้ำนั้น และสาวใยไหมออกจากปาก ต่อมาที่แห่งนี้จึงได้ชื่อว่ากุดนางใย (ใยหมายถึงใยไหม)
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
นิทานพื้นบ้าน.whitemedia.org , dek9.com , esanclick.com , gotoknow.org , pinyasakonsorn.igetweb.com
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก esanclick.com