ฟ้าผ่า สาเหตุเกิดจากอะไร มาทำความรู้จักอันตรายจากฟ้าผ่า รวมถึงวิธีป้องกันตนเอง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฟ้าผ่าในช่วงที่ฝนตกกันดีกว่า
ฟ้าผ่าเกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส
(cumulonimbus) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆจะสูงจากพื้นประมาณ 2
กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร
โดยภายในก้อนเมฆจะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง
ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า
โดยพบว่าประจุบวกมักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบอยู่บริเวณฐานเมฆ
ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย
ฟ้าผ่ามีกี่ประเภท
1. ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ
2. ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
3. ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ
4. ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก
สำหรับฟ้าผ่าแบบลบและแบบบวกนั้นจะทำอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ
ที่อยู่บนพื้นดินหรือผืนน้ำ
โดยฟ้าผ่าแบบลบจะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก
เพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก
ส่วนฟ้าผ่าแบบบวกสามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือหลังจากที่ฝนซาแล้ว แม้ว่าฟ้าผ่าแบบบวกจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 5% ของฟ้าผ่าทั้งหมด) แต่ก็ทรงพลังมากกว่าฟ้าผ่าแบบลบถึง 10 เท่า อีกทั้งทำให้เกิดไฟป่าได้
จุดเสี่ยงฟ้าผ่ามีที่ไหนบ้าง
- ที่โล่งแจ้ง เช่น กลางทุ่งนา สระว่ายน้ำ แหล่งน้ำ หาดทราย สนามหญ้า สนามกอล์ฟ
- จุดที่สูงสุดของบริเวณนั้น เช่น ต้นไม้ อาคารสูง เนื่องจากประจุไฟฟ้ามีโอกาสวิ่งมาเจอกันได้เร็วที่สุด
- จุดที่สูงสุดของบริเวณนั้น เช่น ต้นไม้ อาคารสูง เนื่องจากประจุไฟฟ้ามีโอกาสวิ่งมาเจอกันได้เร็วที่สุด
นอกจากนี้หากมนุษย์ถือวัตถุบางอย่างที่อยู่สูงเหนือจากศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของที่มีปลายแหลม เช่น ร่มที่ด้านปลายบนสุดเป็นเหล็กแหลม ก็มีความเสี่ยงที่ฟ้าจะผ่าลงมาใส่ตัวได้
ฟ้าผ่าเกิดจากโทรศัพท์หรือไม่
โทรศัพท์มือถือ ไม่นับว่าเป็นสื่อล่อฟ้า เนื่องจากโทรศัพท์เวลาใช้งานจะอยู่ต่ำกว่าตัวคน อีกทั้งพลังงานของสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่แนะนำให้ใช้โทรศัพท์ใกล้บริเวณที่มีฟ้าผ่า เพราะอาจมีผลเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามา ทำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรและระเบิดจนบาดเจ็บได้
สัญญาณฟ้าผ่า มีอะไรบอกล่วงหน้าได้บ้าง
ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยตรวจวัดความเสี่ยงของการเกิดฟ้าผ่า
หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ
แล้วเส้นขนบนผิวหนังลุกขึ้นหรือเส้นผมบนศีรษะลุกตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
หรือหากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองใกล้ตัวในระยะประมาณ 16 กิโลเมตร
แล้วมีฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า และได้ยินเสียงฟ้าร้องหลังฟ้าแลบน้อยกว่า 30 วินาที
แสดงว่าอยู่ใกล้เขตเสี่ยงฟ้าผ่า ให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที
- ไม่หลบพายุฝนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงฟ้าผ่า โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่อยู่สูงโดดเด่น ใกล้ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณสิ่งปลูกสร้างที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะ สระน้ำ แหล่งน้ำ เพราะโลหะและน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- หลีกเลี่ยงการถือวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าในระดับเหนือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะร่มที่มีส่วนยอดเป็นโลหะ คันเบ็ด จอบ เสียม รวมถึงไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน ทอง นาก ทองแดง เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แม้โทรศัพท์ไม่ใช่สื่อนำไฟฟ้า แต่ฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์ ซึ่งมีแผ่นโลหะ สายอากาศ และแบตเตอรี่ เป็นส่วนผสมของโลหะ ทำให้ได้รับอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า
- หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่เกิดฝนฟ้าคะนอง อาทิ เล่นกีฬา ว่ายน้ำ ทำการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสระน้ำ ทะเล ชายหาด สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ ภูเขาสูง ทุ่งนา เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่า
- กรณีไม่สามารถหาที่หลบในบริเวณที่ปลอดภัยได้ ให้นั่งยอง ๆ เท้าชิดกัน พร้อมเขย่งปลายเท้าให้สัมผัสกับพื้นน้อยที่สุด ก้มศีรษะและซุกเข้าไประหว่างขา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- ควรอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า ห้ามขึ้นไปบนดาดฟ้า ไม่อยู่บริเวณมุมตึก และระเบียงด้านนอกของอาคาร ไม่เข้าใกล้ประตูหรือหน้าต่างที่เป็นโลหะระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งและมีสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบมีสาย เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะหากฟ้าผ่าลงมาภายนอกอาคาร กระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาตามเสาอากาศ เสาสัญญาณ สายไฟฟ้า และท่อน้ำประปา ทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายและผู้ใช้งานได้รับอันตราย
- ควรถอดสายไฟฟ้า สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
- เตรียมไฟฉายไว้ส่องดูทาง เพราะอาจเกิดไฟดับหรือไฟไหม้ได้ แต่ไม่ควรใช้เทียนไขในบ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อไฟไหม้
- จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่จอดรถใกล้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาบริเวณดังกล่าว ทำให้ได้รับอันตราย
- หลบในรถพร้อมปิดประตูและหน้าต่าง ไม่สัมผัสตัวถังรถที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะ ขณะที่เกิดฟ้าผ่าห้ามวิ่งลงจากรถ หรือยื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้เกิดอันตรายได้
วิธีป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่าในช่วงที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
กรณีอยู่กลางแจ้ง
- ไม่หลบพายุฝนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงฟ้าผ่า โดยเฉพาะใต้ต้นไม้ใหญ่ที่อยู่สูงโดดเด่น ใกล้ป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง หรือบริเวณสิ่งปลูกสร้างที่มีส่วนประกอบหลักเป็นโลหะ สระน้ำ แหล่งน้ำ เพราะโลหะและน้ำเป็นสื่อนำไฟฟ้า จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- หลีกเลี่ยงการถือวัตถุที่เป็นสื่อนำไฟฟ้าในระดับเหนือศีรษะขึ้นไป โดยเฉพาะร่มที่มีส่วนยอดเป็นโลหะ คันเบ็ด จอบ เสียม รวมถึงไม่สวมใส่เครื่องประดับประเภทเงิน ทอง นาก ทองแดง เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
- งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องมือสื่อสารทุกชนิด แม้โทรศัพท์ไม่ใช่สื่อนำไฟฟ้า แต่ฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในโทรศัพท์ ซึ่งมีแผ่นโลหะ สายอากาศ และแบตเตอรี่ เป็นส่วนผสมของโลหะ ทำให้ได้รับอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า
- หลีกเลี่ยงการประกอบกิจกรรมกลางแจ้งในช่วงที่เกิดฝนฟ้าคะนอง อาทิ เล่นกีฬา ว่ายน้ำ ทำการเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสระน้ำ ทะเล ชายหาด สนามฟุตบอล สนามกอล์ฟ ภูเขาสูง ทุ่งนา เพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่า
- กรณีไม่สามารถหาที่หลบในบริเวณที่ปลอดภัยได้ ให้นั่งยอง ๆ เท้าชิดกัน พร้อมเขย่งปลายเท้าให้สัมผัสกับพื้นน้อยที่สุด ก้มศีรษะและซุกเข้าไประหว่างขา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า
กรณีอยู่ในอาคาร
- ควรอยู่ในอาคารที่มีสายล่อฟ้า ห้ามขึ้นไปบนดาดฟ้า ไม่อยู่บริเวณมุมตึก และระเบียงด้านนอกของอาคาร ไม่เข้าใกล้ประตูหรือหน้าต่างที่เป็นโลหะระหว่างเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เนื่องจากเป็นพื้นที่โล่งและมีสื่อนำไฟฟ้า ทำให้เสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่าได้
- หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์แบบมีสาย เครื่องทำน้ำอุ่น เพราะหากฟ้าผ่าลงมาภายนอกอาคาร กระแสไฟฟ้าจะวิ่งมาตามเสาอากาศ เสาสัญญาณ สายไฟฟ้า และท่อน้ำประปา ทำให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายและผู้ใช้งานได้รับอันตราย
- ควรถอดสายไฟฟ้า สายอากาศ สายโทรศัพท์ สายโมเด็ม จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า
- เตรียมไฟฉายไว้ส่องดูทาง เพราะอาจเกิดไฟดับหรือไฟไหม้ได้ แต่ไม่ควรใช้เทียนไขในบ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อไฟไหม้
กรณีขับรถ
- จอดรถในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่จอดรถใกล้ต้นไม้หรือสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ โดยเฉพาะป้ายโฆษณา เสาไฟฟ้าแรงสูง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาบริเวณดังกล่าว ทำให้ได้รับอันตราย
- หลบในรถพร้อมปิดประตูและหน้าต่าง ไม่สัมผัสตัวถังรถที่มีส่วนประกอบเป็นโลหะ ขณะที่เกิดฟ้าผ่าห้ามวิ่งลงจากรถ หรือยื่นอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใดออกจากรถ เพราะกระแสไฟฟ้าจะไหลไปตามผิวโลหะของตัวถังรถลงสู่พื้นดิน ทำให้เกิดอันตรายได้
ทั้งนี้ หลังจากฝนหยุดและไม่มีเสียงฟ้าร้องแล้ว ไม่ว่าจะหลบอยู่ที่ไหนก็ควรรออีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อความมั่นใจว่าเมฆฝนฟ้าคะนองได้ผ่านไป หรือสลายตัวไปแล้ว และไม่เกิดฟ้าผ่าแบบบวกที่มักจะมาหลังฝนเริ่มซา
การเรียนรู้วิธีป้องกันอันตราย และปฏิบัติตนอย่างถูกต้องเมื่อเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า ทำให้การดำเนินชีวิตในช่วงฤดูฝนเป็นไปด้วยความปลอดภัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สวทช.
ขอบคุณข้อมูลจาก : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สวทช.