เปิดวิธีป้องกันแก๊สน้ำตา หลัง ตร. ฉีดน้ำผสมแก๊สน้ำตาใส่ม็อบคณะราษฎร 63 แก๊สน้ำตา คืออะไร แบบไหนบ้าง มาหาคำตอบพร้อม ๆ กัน
ภาพจาก เยาวชนปลดแอก
ภาพจาก Jack TAYLOR / AFP
ภาพจาก Mladen ANTONOV/AFP
ภาพจาก JACK TAYLOR/AFP
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ได้เผยวิธีรับมือแก๊สน้ำตา ดังนี้
1. ล้างตา ร่างกาย ด้วยน้ำสะอาด น้ำเกลือ นมสด เป็นเวลานาน ๆ เพื่อลดการระคายเคือง/แสบ งดใช้น้ำแรงฉีดล้าง
2. งดขยี้ตา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
3. ตั้งสติ อยู่ในพื้นที่โล่ง หากไม่พร้อมพยายามไม่เข้าไปในพื้นที่แนวหน้า
4. ถอดชุดที่ถูกแก๊สน้ำตา ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือเครื่องประดับ เพื่อลดการบาดเจ็บ
5. สวมแว่นตากันแก๊ส เสื้อกันฝน และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ
แก๊สน้ำตา คืออะไร
แก๊สน้ำตา คือ สารเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อถูกแก๊สน้ำตาแล้วจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ที่ดวงตา จนทำให้ผู้ถูกแก๊สน้ำตาไม่สามารถลืมตาได้ชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอาการน้ำมูก น้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาการเหล่านี้จะหายเองภายใน 1 ชั่วโมง
แก๊สน้ำตา มีกี่ชนิด
1. ชนิดแป้งฝุ่น
2. ชนิดกระป๋องขว้าง
3. สารเคมีผสมน้ำ
แก๊สน้ำตาออกฤทธิ์นานเท่าไหร่
การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตานั้นจะออกฤทธิ์ในทันทีที่สัมผัส และจะคงอยู่นานประมาณ 10-30 นาที หลังจากพ้นการสัมผัสนั้น แต่อาจมีอาการอยู่นานถึง 24 ชั่วโมงขึ้นไป และผู้ถูกแก๊สน้ำตาอาจมีอาการรุนแรง และเป็นอันตรายมากขึ้น หากได้รับในปริมาณที่เข้มข้นมาก หรืออยู่ในบริเวณที่มิดชิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ
อุปกรณ์เบื้องต้นในการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตา
น้ำ (ควรนำมามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อใช้ในการดื่ม ล้างแผล หรือล้างตา)
ถุงมือไวนิล (ใช้ป้องกันเลือดและสเปรย์พริกไทย)
อุปกรณ์รักษาบาดแผล เช่น ที่ปิดแผล, ผ้าก๊อซ ขนาด 2x2 และ 4x4, เทปใส และยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ
ผ้าอนามัยแบบสอดขนาดเล็ก (เหมาะสำหรับการห้ามเลือดกำเดา)
ที่กดลิ้น
เสื้อสะอาดที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติก (ใช้สำหรับเปลี่ยนในกรณีที่โดนแก๊สอย่างหนัก)
ที่บังแดด หรือเสื้อกันฝน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ)
ยารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาบรรเทาอาการช็อกหรือบาดเจ็บ
ขนมขบเคี้ยว, ผงไอซิ่งเค้ก หรือลูกกวาดชนิดแข็ง (ใช้สำหรับเพิ่มน้ำตาลในเลือด)
ยาแอสไพริน, ยาไอบูโปรเฟน (ยาต้านการอักเสบ)
วิธีที่ดูแลผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาในเบื้องต้น
ควรหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตา
ควรไปอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีลมพัด เพื่อให้สารเคมีนั้นกระจายออกไป
ถอดเสื้อผ้าที่ถูกสารเคมีและใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด
ร่างกายที่โดนแก๊สน้ำตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด
พยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียก เพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกาย
ถ้าสารเคมีเข้าตาให้ใช้น้ำเกลือเจือจางล้างออก แล้วรีบไปพบแพทย์
อย่าใส่คอนแทคเลนส์ในพื้นที่ที่เสี่ยงใช้แก๊สน้ำตา เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา
อย่าหยิบลูกกระสุนหรือกระป๋องแก๊สน้ำตาชนิดขว้างที่ยังไม่ระเบิด
ให้เคลื่อนตัวอยู่เหนือลม
ปกป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นตาว่ายน้ำหรือแว่นตาประเภทอื่น ๆ ที่อากาศไม่สามารถเข้าได้
เตรียมผ้าชุบน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เพื่อใช้ปิดจมูกและช่วยให้หายใจได้ในเวลาเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่
ภาพจาก เยาวชนปลดแอก
การชุมนุมของกลุ่มคณะราษฎร 2563
ดำเนินเรื่อยมาตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2563
ซึ่งในการชุมนุมตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นมา
พบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการสลายการชุมนุมด้วยการฉีดน้ำผสมสารสีฟ้า,
แก๊สน้ำตา ใส่ผู้ชุมนุม โดยกลุ่มผู้ชุมนุมที่ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
มีการป้องกันด้วยการสวมเสื้อกันฝน สวมหมวกกันน็อก และแว่นตา
บางส่วนก็ได้รับบาดเจ็บ แสบตา ระคายเคืองตามร่างกาย การใช้แก๊สน้ำตานั้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจอ้างว่าเป็นการฉีดเพื่อเจรจา และสลายการชุมนุม
ภาพจาก Jack TAYLOR / AFP
ล่าสุด วันที่ 17 พฤศจิกายน 2563
ในการชุมนุมของคณะราษฎรเพื่อติดตามการประชุมสภาเพื่อพิจารณาแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ
โดยการชุมนุมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีการฉีดน้ำเพื่อเตือนและขอเจรจา
โดยแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ แยกเกียกกาย
เจ้าหน้าที่ประกาศเตือนห้ามเข้าใกล้แนวกันในระยะ 50 เมตร
ก่อนจะมีการฉีดน้ำสีม่วงผสมแก๊สน้ำตาเข้าใส่ผู้ชุมนุม
โดยหลายคนที่โดนฉีดน้ำมีอาการแสบร้อนดวงตา
นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ได้รับผลกระทบจากการใช้แก๊สน้ำตาดังกล่าวอีกด้วย
และในบริเวณดังกล่าวยังมีการประกาศผ่านเครื่องขยายเสียงเป็นระยะว่าอย่าขัดขวางการทำงานของเจ้าหน้าที่
ไม่อย่างนั้นจะดำเนินการตามกฎหมาย
พร้อมบอกให้ผู้ชุมนุมออกห่างจากบริเวณแนวกั้น
นี่ไม่ใช่การสลายการชุมนุม แต่เป็นการเตือนเพื่อขอเจรจา
ส่วนในฝั่งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ ผู้ชุมนุมได้พยายามฝ่าแนวกั้นด้วยการตัดรั้วลวดหนามเข้ามา
ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องฉีดน้ำสกัด ด้านผู้ชุมนุมได้จุดสโมกซึ่งมีลักษณะคล้ายระเบิดควันเข้าไป จึงทำให้รถน้ำถอยร่น
และเจ้าหน้าที่ก็ถอยร่น เจ้าหน้าที่พยายามเจรจากับหัวหน้าการ์ดอีกครั้ง
แต่สุดท้ายแล้วก็มีการฉีดน้ำครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นน้ำผสมแก๊สน้ำตา
และมีการยิงแก๊สน้ำตาแบบกระป๋องใส่ผู้ชุมนุม ด้านผู้ชุมนุมก็ไม่ยอม ขว้างแก๊สน้ำตาคืน
ภาพจาก Mladen ANTONOV/AFP
ภาพจาก JACK TAYLOR/AFP
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก เยาวชนปลดแอก - Free YOUTH ได้เผยวิธีรับมือแก๊สน้ำตา ดังนี้
1. ล้างตา ร่างกาย ด้วยน้ำสะอาด น้ำเกลือ นมสด เป็นเวลานาน ๆ เพื่อลดการระคายเคือง/แสบ งดใช้น้ำแรงฉีดล้าง
2. งดขยี้ตา เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
3. ตั้งสติ อยู่ในพื้นที่โล่ง หากไม่พร้อมพยายามไม่เข้าไปในพื้นที่แนวหน้า
4. ถอดชุดที่ถูกแก๊สน้ำตา ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ หรือเครื่องประดับ เพื่อลดการบาดเจ็บ
5. สวมแว่นตากันแก๊ส เสื้อกันฝน และอุปกรณ์ป้องกันอื่น ๆ
ภาพจาก เยาวชนปลดแอก
แก๊สน้ำตา คืออะไร
แก๊สน้ำตา คือ สารเคมีชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อถูกแก๊สน้ำตาแล้วจะส่งผลให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่าง ๆ ที่ดวงตา จนทำให้ผู้ถูกแก๊สน้ำตาไม่สามารถลืมตาได้ชั่วขณะหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีอาการน้ำมูก น้ำลายไหล ไอ หายใจลำบาก เป็นต้น อย่างไรก็ดี อาการเหล่านี้จะหายเองภายใน 1 ชั่วโมง
แก๊สน้ำตา มีกี่ชนิด
1. ชนิดแป้งฝุ่น
2. ชนิดกระป๋องขว้าง
3. สารเคมีผสมน้ำ
สำหรับผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตา จะมีอาการ ดังนี้
ดวงตา
จะส่งผลให้แสบตาจนลืมตาไม่ขึ้น และมีน้ำตาไหลออกมาตลอด ทำให้ต้องกะพริบตาอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งอาจทำให้ตามองไม่เห็น หรือที่เรียกว่า ตาบอดชั่วคราว นั่นเอง แต่หากโดนในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดสนิทได้
จมูก
ผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาจะรู้สึกแสบจมูก และมีน้ำมูกไหลออกมา
ปากและระบบทางเดินอาหาร
เมื่อถูกแก๊สน้ำตาแล้วจะทำให้มีอาการแสบปาก และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอีกด้วย
ระบบทางเดินหายใจ
แก๊สน้ำตาจะทำให้รู้สึกแสบคอ มีอาการไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก รวมทั้งอาจทำให้หลอดลมตีบจนหายใจไม่ออกอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง โดนแก๊สน้ำตาเข้าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และหากโดนแก๊สน้ำตาในปริมาณที่มาก อาจมีอาการปอดบวมน้ำได้เช่นเดียวกัน
ผิวหนัง
หากแก๊สน้ำตาถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบ และบวมแดง ยิ่งหากได้สัมผัสแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานด้วยนั้น อาจทำให้ผิวหนังตรงบริเวณที่สัมผัสแก๊สน้ำตามีอาการเหมือนถูกไฟไหม้ นอกจากนี้อาจมีอาการผิวหนังอักเสบได้ ซึ่งทำให้เกิดผื่นคัน โดยเกิดหลังจากสัมผัสไปแล้ว 72 ชั่วโมง
นอกจากอาการที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ผู้ถูกแก๊สน้ำตาอาจมีอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม เจ็บหน้าอก ความดันเลือดตก เป็นต้น
ดวงตา
จะส่งผลให้แสบตาจนลืมตาไม่ขึ้น และมีน้ำตาไหลออกมาตลอด ทำให้ต้องกะพริบตาอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งอาจทำให้ตามองไม่เห็น หรือที่เรียกว่า ตาบอดชั่วคราว นั่นเอง แต่หากโดนในปริมาณมาก ๆ อาจทำให้ตาบอดสนิทได้
จมูก
ผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาจะรู้สึกแสบจมูก และมีน้ำมูกไหลออกมา
ปากและระบบทางเดินอาหาร
เมื่อถูกแก๊สน้ำตาแล้วจะทำให้มีอาการแสบปาก และอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียอีกด้วย
ระบบทางเดินหายใจ
แก๊สน้ำตาจะทำให้รู้สึกแสบคอ มีอาการไอ มีเสมหะ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก รวมทั้งอาจทำให้หลอดลมตีบจนหายใจไม่ออกอีกด้วย ดังนั้น หากผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืด หรือถุงลมโป่งพอง โดนแก๊สน้ำตาเข้าอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และหากโดนแก๊สน้ำตาในปริมาณที่มาก อาจมีอาการปอดบวมน้ำได้เช่นเดียวกัน
ผิวหนัง
หากแก๊สน้ำตาถูกผิวหนังจะทำให้เกิดอาการแสบ และบวมแดง ยิ่งหากได้สัมผัสแก๊สน้ำตาเป็นเวลานานด้วยนั้น อาจทำให้ผิวหนังตรงบริเวณที่สัมผัสแก๊สน้ำตามีอาการเหมือนถูกไฟไหม้ นอกจากนี้อาจมีอาการผิวหนังอักเสบได้ ซึ่งทำให้เกิดผื่นคัน โดยเกิดหลังจากสัมผัสไปแล้ว 72 ชั่วโมง
นอกจากอาการที่กล่าวมาในข้างต้นแล้ว ผู้ถูกแก๊สน้ำตาอาจมีอาการปวดศีรษะ ง่วงซึม เจ็บหน้าอก ความดันเลือดตก เป็นต้น
แก๊สน้ำตาออกฤทธิ์นานเท่าไหร่
การออกฤทธิ์ของแก๊สน้ำตานั้นจะออกฤทธิ์ในทันทีที่สัมผัส และจะคงอยู่นานประมาณ 10-30 นาที หลังจากพ้นการสัมผัสนั้น แต่อาจมีอาการอยู่นานถึง 24 ชั่วโมงขึ้นไป และผู้ถูกแก๊สน้ำตาอาจมีอาการรุนแรง และเป็นอันตรายมากขึ้น หากได้รับในปริมาณที่เข้มข้นมาก หรืออยู่ในบริเวณที่มิดชิด ไม่มีการถ่ายเทของอากาศ
อุปกรณ์เบื้องต้นในการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตา
น้ำ (ควรนำมามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อใช้ในการดื่ม ล้างแผล หรือล้างตา)
ถุงมือไวนิล (ใช้ป้องกันเลือดและสเปรย์พริกไทย)
อุปกรณ์รักษาบาดแผล เช่น ที่ปิดแผล, ผ้าก๊อซ ขนาด 2x2 และ 4x4, เทปใส และยาฆ่าเชื้อ หรือยาปฏิชีวนะอื่น ๆ
ผ้าอนามัยแบบสอดขนาดเล็ก (เหมาะสำหรับการห้ามเลือดกำเดา)
ที่กดลิ้น
เสื้อสะอาดที่บรรจุอยู่ในถุงพลาสติก (ใช้สำหรับเปลี่ยนในกรณีที่โดนแก๊สอย่างหนัก)
ที่บังแดด หรือเสื้อกันฝน (ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ)
ยารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ยาบรรเทาอาการช็อกหรือบาดเจ็บ
ขนมขบเคี้ยว, ผงไอซิ่งเค้ก หรือลูกกวาดชนิดแข็ง (ใช้สำหรับเพิ่มน้ำตาลในเลือด)
ยาแอสไพริน, ยาไอบูโปรเฟน (ยาต้านการอักเสบ)
วิธีที่ดูแลผู้ที่ถูกแก๊สน้ำตาในเบื้องต้น
ควรหลีกเลี่ยงและออกจากสถานที่ที่มีแก๊สน้ำตา
ควรไปอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก และมีลมพัด เพื่อให้สารเคมีนั้นกระจายออกไป
ถอดเสื้อผ้าที่ถูกสารเคมีและใส่ไว้ในถุงที่ปิดมิดชิด
ร่างกายที่โดนแก๊สน้ำตาให้ล้างด้วยน้ำสะอาด
พยายามอย่าให้เสื้อผ้าเปียก เพราะสารเคมีจะละลายติดตามร่างกาย
ถ้าสารเคมีเข้าตาให้ใช้น้ำเกลือเจือจางล้างออก แล้วรีบไปพบแพทย์
อย่าใส่คอนแทคเลนส์ในพื้นที่ที่เสี่ยงใช้แก๊สน้ำตา เพราะจะทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตา
อย่าหยิบลูกกระสุนหรือกระป๋องแก๊สน้ำตาชนิดขว้างที่ยังไม่ระเบิด
ให้เคลื่อนตัวอยู่เหนือลม
ปกป้องดวงตาด้วยการสวมแว่นตาว่ายน้ำหรือแว่นตาประเภทอื่น ๆ ที่อากาศไม่สามารถเข้าได้
เตรียมผ้าชุบน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชู เพื่อใช้ปิดจมูกและช่วยให้หายใจได้ในเวลาเคลื่อนตัวออกจากพื้นที่
ขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลเทพปัญญา