เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
นิด้าโพล เผยพฤติกรรมและปัจจัยการทุจริตคอร์รัปชั่น พบประชาชนยอมรับการทำผิดกฎจราจรมากสุด สาเหตุจากการบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ไม่เด็ดขาด และล่าช้า
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ศูนย์สำรวจความคิดเห็นนิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่องพฤติกรรมและปัจจัยการทุจริตคอร์รัปชั่น จากกลุ่มตัวอย่าง 2,810 หน่วย พบว่าประชาชนเคยกระทำพฤติกรรมการทุจริตในอดีตที่ผ่านมา ดังนี้
ร้อยละ 54.70 เคยขับรถผิดกฎจราจร
ร้อยละ 31.39 ยอมถูกไถ่รีดจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ร้อยละ 26.87 เคยรับเงินเพื่อลงคะแนนเสียงให้นักการเมือง
ร้อยละ 18.19 เคยใช้ระบบอุปถัมภ์
ร้อยละ 13.81 เคยติดสินบนเจ้าหน้าที่รัฐ
ร้อยละ 13.24 เคยนำอุปกรณ์ในที่ทำงานไปใช้ส่วนตัว
ร้อยละ 12.60 เคยใช้เงินฝากบุตรหลานเข้าโรงเรียน
ร้อยละ 2.85 เคยใช้อำนาจหน้าที่และตำแหน่งในทางมิชอบ
ร้อยละ 1.99 เคยวิ่งเต้นให้ได้ตำแหน่ง/ซื้อตำแหน่ง
เมื่อถามถึงพฤติกรรมการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะกระทำอีกในอนาคต พบว่า
ร้อยละ 17.69 การขับรถผิดกฎจราจร
ร้อยละ 17.30 รับเงินเพื่อลงคะแนนเสียงให้กับนักการเมือง
ร้อยละ 11.46 ยอมถูกรีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ร้อยละ 10.21 การใช้ระบบอุปถัมภ์
ร้อยละ 7.01 การติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ร้อยละ 6.76 การแซงคิวผู้อื่น
ร้อยละ 6.12 จะนำวัสดุอุปกรณ์ในที่ทำงานไปใช้ส่วนตัว
ร้อยละ 1.57 การวิ่งเต้นให้ได้ตำแหน่ง
ร้อยละ 1.32 การใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่มิชอบ
เมื่อถามว่า ยอมรับกับพฤติกรรมดังกล่าวได้หรือไม่ พบว่า
ร้อยละ 22.60 ยอมรับการทำผิดกฎจราจร
ร้อยละ 18.15 ยอมรับกับการใช้ระบบอุปถัมภ์
ร้อยละ 17.08 ยอมรับการฝากบุตรหลานเข้าโรงเรียน
ร้อยละ 16.83 ยอมรับการแซงคิว
ร้อยละ 14.20 ยอมรับการนำอุปกรณ์ในที่ทำงานไปใช้ส่วนตัว
ร้อยละ 11.78 ยอมรับเงินเพื่อลงคะแนนเสียงให้นักการเมือง
ร้อยละ 9.11 ยอมรับได้ต่อการให้ของขวัญหรือติดสินบนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ร้อยละ 5.87 ยอมรับได้ต่อการยอมถูกรีดไถจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ร้อยละ 5.20 ยอมรับได้ต่อการวิ่งเต้นให้ได้ตำแหน่ง/ซื้อตำแหน่ง
ร้อยละ 2.49 ยอมรับได้ต่อการใช้อำนาจหน้าที่และตำแหน่งในทางมิชอบ
ส่วนความคิดที่ทำให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น
ร้อยละ 45.88 การบังคับใช้กฎหมายไม่จริงจัง ไม่เด็ดขาด และล่าช้า
ร้อยละ 39.69 เป็นช่องโหว่ของกฎหมาย
ร้อยละ 37.89 เพราะสังคมไทยเป็นระบบอุปถัมภ์
ร้อยละ 33.67 เป็นการได้รับผลประโยชน์คุ้มค่า มากกว่าบทลงโทษทางกฎหมาย
ร้อยละ 29.37 เป็นการได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
ร้อยละ 25.62 ระบุว่า ประชาชนเบื่อหน่ายเพิกเฉยต่อการต่อต้านการทุจริต
เมื่อถามความคิดเห็นต่อกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในคดีการทุจริตคอร์รัปชั่น พบว่า
ร้อยละ 84.80 เห็นด้วยกับการเพิ่มหน้าที่และอำนาจของ ป.ป.ช./ป.ป.ท./สตง. เข้าตรวจสอบการทุจริตในภาคเอกชน
ร้อยละ 84.52 เห็นด้วยกับการห้ามไม่ให้จำเลยผู้ต้องหาคดีทุจริตคอร์รัปชั่นเดินทางออกนอกประเทศ
ร้อยละ 63.59 เห็นด้วยกับการห้ามมิให้จำเลยผู้ต้องหาคดีทุจริตคอร์รัปชั่นได้รับการประกันตัวทุกกรณี
ร้อยละ 56.65 เห็นด้วยกับการที่จำเลย/ผู้ต้องหาในคดีทุจริตคอร์รัปชั่นที่ต้องการประกันตัว ต้องวางหลักประกันเป็นวงเงิน 50-80% ของมูลค่าความเสียหายจากการคอร์รัปชั่น