x close

ดาวน์โหลดแล้วไม่ได้รับ ปัญหานี้ใครรับผิดชอบ???

          จากการขยายตัวของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ปัจจุบันมีบริษัทผู้ให้บริการเนื้อหา (คอนเท้นต์ โพรวายเดอร์) มากมายเป็นเหตุให้การแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น หลายค่ายขนบริการใหม่ๆ ออกตีตลาดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นบริการดาวน์โหลด ฟูลมิวสิค ดูดวงสดๆ กับหมอดูชื่อดัง หรือเอสเอ็มเอสข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ ขณะที่บริการเดิมๆ อย่างเสียงเพลงรอสาย ริงโทน เกม ก็ยังได้รับความนิยมเหมือนเคย

          นอกจากนี้ อัตราค่าบริการดาวน์โหลดในปัจจุบันถือว่ามีราคาต่ำกว่าอดีตอีกด้วย กล่าวคือ ในอดีตค่าบริการดาวน์โหลดโลโก้ขาว-ดำ หรือเสียงเพลงแบบโมโนโทนธรรมดาๆ ค่าบริการก็จะไม่เกิน 15 บาทต่อครั้ง แต่ถ้าเป็นการดาวน์โหลดภาพสี วีดีโอคลิปต์ หรือเกม ก็จะมีค่าบริการสูงขึ้น คือ ตั้งแต่ 25 บาทขึ้นไป ในขณะที่ปัจจุบันค่าบริการดาวน์โหลดคอนเทนท์ส่วนใหญ่จะถูกกว่านั้น หรือในบางคอนเทนท์ เช่น ภาพ วอลล์เปเปอร์ จะคิดค่าบริการเพียงแค่ค่า GPRS เท่านั้น

          เมื่ออัตราการใช้บริการโตขึ้น ปัญหาการใช้งานด้านต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นด้วย อาทิ ไม่ได้ดาวน์โหลดแต่ได้รับคอนเทนท์ คอนเทนท์ที่ได้รับไม่ตรงตามต้องการ ความช้าของระบบในการจัดส่งข้อมูล และปัญหาการดาวน์โหลดคอนเทนท์แล้วไม่ได้รับ แต่ยอดเงินถูกหักไป

          นายบัณฑิต ว่องวัฒนะสิน กรรมการผู้จัดการ บริษัท คอนเนค วัน จำกัด (U-Nee.Com) กล่าวถึงสัดส่วนการดาวน์โหลดคอนเทนท์ต่างๆ ของยูนี่ในปีที่ผ่านมาว่า เพลงยังคงครองอันดับการดาวน์โหลดสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นเสียงเพลงรอสาย ริงโทน และฟูลซองที่ถือว่ามาแรงที่สุดในขณะนี้ นอกจากนี้แนวโน้มการดาวน์โหลดริงโทนน่าจะลดลง เพราะลูกค้านิยมดาวน์โหลดฟูลซองมากขึ้น

          ผู้บริหาร U-nee.com กล่าวต่อว่า เมื่อการดาวน์โหลดเกิดไม่สมบูรณ์ มีความผิดพลาด ยูนี่ในฐานะคอนเท้นต์ โพรวายเดอร์ จะเป็นผู้รับผิดชอบ เพราะถือว่าคอนเทนท์ถูกส่งออกจากเซิฟเวอร์เราแล้ว หากลูกค้าไม่ได้รับ ยูนี่ก็ต้องติดตามดูแล โดยลูกค้าจะต้องร้องเรียนผ่านทาง Call center พนักงานจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้งานที่ถูกต้อง เช่น ลูกค้าบางรายลืมกดดาวน์โหลด พนักงานก็จะแนะนำให้ทำกดโหลดใหม่ แต่หากปล่อยเวลาทิ้งไว้สักพักยังไม่กดโหลด คอนเทนท์นั้นก็จะหายไป

          ด้านนายสมชัย เลิศสุทธิวงศ์ รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานธุรกิจสื่อสารไร้สาย บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส กล่าวว่า คอนเทนท์ที่ได้รับความนิยมดาวน์โหลดผ่านระบบจีเอสเอ็มมากที่สุดขณะนี้ อันดับหนึ่ง คือเสียงเพลงรอสาย รองลงมาคือริงโทน และอันดับสามคือฟูลซองที่เพิ่มขึ้นมาจากปีที่แล้วมาก สำหรับบริการเสริมด้านวอยซ์ บริการดูดวงจะมาอันดับหนึ่ง ตามด้วยคอนเทนท์ด้านกีฬา

          ผู้บริหารเอไอเอส กล่าวต่อว่า ระบบจีเอสเอ็มมีการควบคุมดูแลคอนเท้นต์ โพรวายเดอร์ด้วยสัญญาที่รัดกุม เพื่อลดปัญหาการดาวน์โหลด เพราะจีเอสเอ็มตระหนักว่าเราต้องดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด เช่น หากผู้ใช้บริการดาวน์โหลดแล้วเกิดปัญหา เช่น ถูกหักยอดเงินแต่ไม่ได้รับข้อมูล จีเอสเอ็มจะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเมื่อตรวจพบปัญหาจีเอสเอ็มจะส่งคอนเทนท์ให้ลูกค้าใหม่อีกครั้ง โดยจุดนี้ในฐานะโอเปอร์เรเตอร์เราจะหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดจากคอนเท้นต์ โพรวายเดอร์เอง สำหรับสาเหตุของปัญหานี้อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น โทรศัพท์ของลูกค้าไม่รองรับคอนเทนท์ เซิฟเวอร์ของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ (โอเปอเรเตอร์) และผู้ให้บริการเนื้อหา (คอนเท้นต์ โพรวายเดอร์) เกิดความผิดพลาด

          นายสมชัย กล่าวอีกว่า สถานการณ์ในปีนี้ถือว่าดีขึ้นมากเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เนื่องจากปีที่แล้วมีคอนเท้นต์ โพรวายเดอร์ที่มีลักษณะชักชวนหลอกลวงลูกค้าให้มาดาวน์โหลดคอนเทนท์ในราคาถูก แต่มีสัญญาผูกมัดต้องใช้บริการเป็นเดือนโดยไม่ยอมยกเลิกสัญญาให้หรือยกเลิกช้า จีเอสเอ็มเกรงว่าลูกค้าเมื่อเจอกับสถานการณ์เช่นนี้ จะทำให้เกิดอาการหวาดกลัวไม่กล้าใช้บริการดาวน์โหลดแล้วจะทำให้กระทบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมโดยรวม ที่เห็นได้ชัดคือยอดการใช้บริการที่ตกลงมามากในต้นปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเราแก้ไขปัญหาในจุดนี้ได้ทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจมากขึ้น ทำให้เป็นผลยอดการใช้บริการเพิ่มขึ้นเป็นอันดับ

          นายปกรณ์ พรรณเชษฐ์ ผู้อำนวยการอาวุโส กลุ่ม VAS บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า สถิติการใช้บริการดาวน์โหลดคอนเทนท์ต่างๆ ของดีแทคในไตรมาสที่ผ่านมา มีจำนวน10-15 ล้านครั้งต่อเดือน สำหรับสถิติการร้องเรียนจากลูกค้าในด้านการบริการดาวน์โหลดที่ไม่สมบูรณ์มีประมาณ 2,500 ครั้งต่อเดือน

          สำหรับสาเหตุที่ทำให้การดาวน์โหลดไม่สมบูรณ์นั้น นายปกรณ์กล่าวว่า ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการขัดข้องของระบบ ที่ทำให้การดาวน์โหลดไม่สมบูรณ์ครบถ้วน บางส่วนเกิดจากการที่ลูกค้าดาวน์โหลดคอนเท้นท์ที่ไม่รองรับรุ่นโทรศัพท์ที่ใช้งานอยู่ หรือลูกค้ายังไม่ได้ตั้งค่าการใช้ MMS และ GPRS ที่ตัวเครื่อง รวมทั้งอาจเกิดจากการผิดพลาดของข้อมูลที่มาจากคอนเท้นท์ โพรไวเดอร์ที่ทำให้การดาวน์โหลดคลาดเคลื่อนได้

          ผู้บริหารดีแทค กล่าวต่อว่า ในส่วนของการรับผิดชอบ ดีแทคและคอนเท้นต์ โพรวายเดอร์จะร่วมกันรับผิดชอบ โดยดีแทคจะเป็นตัวกลางในการประสานการดำเนินการให้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ บริษัทจะคืนเงินให้กับลูกค้า หรือให้ดาวน์โหลดคอนเท้นท์นั้นๆ ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า ยกตัวอย่าง หากลูกค้าดาวน์โหลดริงโทนแล้วสายหลุด ลูกค้าสามารถแจ้งผ่านคอลล์ เซ็นเตอร์ของคอนเท้นท์ โพรไวเดอร์ ซึ่งจะสามารถตรวจสอบข้อมูลเพื่อส่ง link ให้ลูกค้าดาวน์โหลดคอนเท้นท์นั้นๆ ได้ทันทีโดยไม่คิดมูลค่า

          นายจิรชัย มูลทองโร่ย ผู้อำนวยการกองเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค กล่าวว่า 6 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค. 49

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ดาวน์โหลดแล้วไม่ได้รับ ปัญหานี้ใครรับผิดชอบ??? โพสต์เมื่อ 6 กรกฎาคม 2550 เวลา 00:00:00 2,752 อ่าน
TOP