NASA พบดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3 โคจรเป็นคู่หูจิ๋วดวงใหม่ของโลก

ดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3
สีเหลือง - วงโคจรของ 2016 HO3

              ต้อนรับเพื่อนใหม่กันหน่อย NASA แถลงพบดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3 โคจรรอบดวงอาทิตย์และรอบโลกของเรา เป็นดาวกึ่งบริวารดวงใหม่อีกหนึ่งดวง และจะอยู่เคียงข้างโลกของเราไปนานอีกหลายร้อยปี


              วันที่ 15 มิถุนายน 2559 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติหรือ NASA  เปิดเผยข่าวเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยชื่อ 2016 HO3 ที่ค้นพบเมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยกล้องโทรทรรศน์สำรวจดาวเคราะห์น้อย Pan-STARRS 1 ของมหาวิทยาลัยสถาบันดาราศาสตร์ฮาวาย ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากทาง NASA

ดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3
              NASA เผยว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ 2016 HO3 นั้นยังไม่ได้รับการระบุที่แน่ชัด แต่คาดว่าน่าจะมีขนาดราว ๆ 40-300 เมตร มันโคจรรอบดวงอาทิตย์โดยมีวงโคจรสัมพันธ์กับของโลกด้วย โดยระยะห่างของระหว่างเคราะห์น้อย 2016 HO3 กับโลกอยู่ที่ประมาณ 14 ล้านกิโลเมตร ถึง 37 ล้านกิโลเมตร หรือราว 38 ถึง 100 เท่าของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์

              สาเหตุที่ระยะห่างระหว่าง 2016 HO3 และโลกไม่แน่นอนนั้น เนื่องมาจากเมื่อดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนตัวไกลออกไป ก็จะถูกแรงดึงดูดของโลกดึงกลับมา ทำให้บางครั้งมันจะโคจรนำหน้าโลกไปประมาณครึ่งปี และตามหลังโลกอีกประมาณครึ่งปี ราวกับกำลังเต้นรำไปพร้อม ๆ กับโลกของเราอยู่ยังไงยังงั้น การเต้นรำนี้จะคงอยู่ไปอีกหลายร้อยปี กระทั่งมันค่อย ๆ หลุดออกจากแรงดึงดูดของโลกไปในที่สุด

              นักดาราศาสตร์กำลังตัดสินใจว่า 2016 HO3 น่าจะถือเป็นเทหวัตถุที่มีความคล้ายคลึงกับคำจำกัดความของ บริวารเสมือน (Quasi-satellite) มากที่สุดดวงหนึ่งของโลก เนื่องจากโลกและ 2016 HO3 ใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์เท่ากัน คือ 1 ปี นั่นเอง



ภาพจาก NASA/JPL-Caltech

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
NASA พบดาวเคราะห์น้อย 2016 HO3 โคจรเป็นคู่หูจิ๋วดวงใหม่ของโลก อัปเดตล่าสุด 28 มิถุนายน 2559 เวลา 15:00:25 13,634 อ่าน
TOP
x close