ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว



ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว

ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว

            จูโน (Juno) ยาวสำรวจอวกาศของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสบดี หรือดาวจูปิเตอร์ ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล ได้เป็นผลสำเร็จแล้ว เดินหน้าทำภารกิจเก็บข้อมูลเพื่อไขปริศนาการกำเนิดดาวเคราะห์พี่ใหญ่ของระบบสุริยะ

            เว็บไซต์ SPACE รายงานความสำเร็จในการส่งยาวสำรวจอวกาศเข้าสู่ห้วงบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี โดยยานอวกาศจูโน (Juno) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือ นาซา (NASA) ได้เดินทางเข้าสู่วงโคจรของดาวพฤหัสฯ แล้วเป็นที่เรียบร้อยอย่างราบรื่น เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2559 นับเป็นเวลา 5 ปีหลังจากปล่อยมันขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2554
            ดาวพฤหัสฯ หรือดาวจูปิเตอร์ เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล มีรัศมีใหญ่กว่าโลก 11.2 เท่า มวลมากกว่าถึง 318 เท่า และอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 5  ก่อนหน้าจูโน แทบกล่าวได้ว่าไม่มียานสำรวจอวกาศใดอาจหาญเดินทางไปยังดาวพฤหัสฯ เนื่องจากแถบรังสีเข้มข้นที่แผ่ออกมาสามารถสร้างความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ใด ๆ ก็ตามได้ที่ไม่ได้รับการป้องกันอย่างเหมาะสม โดยตามข้อมูลจากสำนักข่าวบีบีซี เคยมีการคำนวณว่า การที่ยานอวกาศจูโนจะเข้าไปอยู่ในวงโคจรของดาวพฤหัสฯ ได้ ต้องทนต้านรังสีที่มีความเข้มข้นเท่ากับหนึ่งล้านเท่าของรังสีเอกซเรย์ที่ใช้ในทางทันตกรรม

            การเดินทางเข้าถึงวงโคจรชั้นนอกของจูโน เกิดจากการจุดจรวดต้านเพื่อชะลอความเร็วของยานให้ช้าลงพอที่จะถูกดูดเข้าไปในวงโคจรได้ โดยจะมีการผ่อนแรงของยานลงอีกครั้งจากจรวดที่จะจุดขึ้นในช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ เพื่อเจาะลงไปยังชั้นบรรยากาศที่ลึกและใกล้ผิวดาวยิ่งขึ้น จากนั้นการเก็บข้อมูลเพื่อการวิจัยจะเริ่มต้นขึ้น

ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว

            ภารกิจของจูโน คือการใช้อุปกรณ์จับสัมผัสระยะไกลทั้ง 8 ตัว รวมทั้งกล้อง เจาะผ่านชั้นก๊าซหนาที่ห่อหุ้มดาวลงไป เพื่อวัดองค์ประกอบ อุณหภูมิ การเคลื่อนไหว และคุณสมบัติอื่น ๆ ของดาวเคราะห์ดวงนี้ โดยข้อมูลสำคัญแรกสุดที่ต้องการทราบ คือ มีออกซิเจนอยู่หนาแน่นเพียงไร โดยปริมาณออกซิเจนก็จะสัมพันธ์กับน้ำ ซึ่งปริมาณน้ำที่มีจะสามารถชี้บ่งได้ว่า ดาวพฤหัสฯ ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่เกิดขึ้นดวงแรก ๆ นั้น ก่อตัวขึ้นที่จุดใดของระบบสุริยะจักรวาล และมันยังจะช่วยนำทางไปให้เราได้เห็นภาพว่า ระบบสุริยะจักรวาลกำเนิดขึ้นอย่างไรด้วย

ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว

            ทั้งนี้  นอกจากภาพแล้ว ยานอวกาศจูโนยังได้ส่งรูปคลื่นที่วัดได้ขณะเดินทางเข้าสู่ชั้นบรรยากาศดาว พฤหัสฯ กลับมายังโลก ซึ่งเมื่อนำมาแปลงเป็นคลื่นเสียงแล้ว ฟังคล้ายเสียงพายุที่กำลังพัดโหมอย่างแรง

ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว




ภาพจาก ทวิตเตอร์@NASA, ทวิตเตอร์@MIT, ทวิตเตอร์ @NASAJuno, NASA

**หมายเหตุ แก้ไขข้อมูลล่าสุด
วันที่ 5 กรกฏาคม 2559 เวลา 18.10 น.

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ยานอวกาศจูโนของนาซา เดินทางเข้าสู่วงโคจรดาวพฤหัสบดีได้สำเร็จแล้ว อัปเดตล่าสุด 5 กรกฎาคม 2559 เวลา 18:10:34 25,292 อ่าน
TOP
x close