พุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่มักเดินทางไปทำบุญยังศาสนสถานที่สำคัญ ทั้งในเมืองหรือตามต่างจังหวัดเพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ตนเองและครอบครัว ดังนั้นเพื่อเป็นอีกแนวทางหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการทำบุญเสริมดวงชะตา วันนี้เราจึงนำข้อมูลเรื่อง พระธาตุประจำปีเกิด รวมถึงการไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตร ตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย พร้อมทั้ง คำบูชาพระธาตุ ซึ่งเป็นการทำบุญในอีกรูปแบบหนึ่ง มาฝากเพื่อน ๆ ด้วย ถ้าพร้อมแล้วอย่ารอช้าไปดูกันเลยค่ะ
วัดพระบรมธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่
พระธาตุจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ (พระธาตุ ส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) มีขนาดโตประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือนดอกบวบ หรือสีดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
นะโมพุทธายะ นะมามิ ติโลกะโมลี
โลหะกูเฎ ปะติฎฐิตัง ปูชิตัง สัพพะโลเกหิ
กิตติมันตัง มะโนหะ รัง อะหัง วันทามิ
อสัพพะทา อัง คะวะเย ปุเรรัมเมิโกวิลา
รัคคะปัพ พะเต สะหิเหมะคูหา คัพเภ
ทักขิณะโมลี ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะทา
วัดพระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง
พระธาตุลำปางหลวง ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านสัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่าลัมภกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอน ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์อีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ
คุตตา อุตตะราภิทัยยา นะมามิหันตัง
วะระชินะธาตุง ฐะเปติ มะหา ฐาเน
เจติยัง ปูชิตา นะเะเทเวหิ
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
พระธาตุประจําปีเกิด ปีขาล : เสือ => พระธาตุช่อแฮ
พระธาตุลำปางหลวง ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านสัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่าลัมภกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอน ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์อีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐาสัมภะ กัปปะปุเร เทเวนะ
คุตตา อุตตะราภิทัยยา นะมามิหันตัง
วะระชินะธาตุง ฐะเปติ มะหา ฐาเน
เจติยัง ปูชิตา นะเะเทเวหิ
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
พระธาตุประจําปีเกิด ปีขาล : เสือ => พระธาตุช่อแฮ
วัดพระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
พระธาตุช่อแฮ
เป็นเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของเมืองแพร่มาแต่โบราณ
ตามตำนานกล่าวว่าขุนลัวะอ้ายก้อมเป็นผู้สร้าง
ปรากฏหลักฐานการบูรณะปฏิสังขรณ์ระหว่าง พ.ศ. 1879-1881
ในสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท)
เมื่อครั้งยังทรงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองศรีสัชนาลัย
ลักษณะองค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง
ศิลปะแบบเชียงแสนสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร
สร้างด้วยอิฐโบกปูน หุ้มด้วยแผ่นทองเหลือง ลงรักปิดทอง
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
โกเสยยะ ธะชัคคะ
ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม
พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฎฐิตา
อะหัง วันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิสัพพะโส
พระธาตุประจําปีเกิด ปีเถาะ : กระต่าย => พระธาตุแช่แห้ง
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
โกเสยยะ ธะชัคคะ
ปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม
พุทธะ เกสาธาตุ ปะติฎฐิตา
อะหัง วันทามิ สัพพะทา
อะหัง วันทามิ ธาตุโย
อะหัง วันทามิสัพพะโส
พระธาตุประจําปีเกิด ปีเถาะ : กระต่าย => พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุแช่แห้ง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า
พระยาการเมือง เจ้านครน่าน ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากกรุงสุโขทัย
มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า
พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก
ที่บ้านห้วยไคร้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย
แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย
และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน
จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเก
ปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง
จิรัง วันทามิหันตัง ชินะธาตุโย
โส ตะถาคะตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต
พระธาตุประจําปีเกิด ปีมะโรง : งูใหญ่ => พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ยาปาตุภูตา อะตุลานุภาวาจีรัง
ปะติฎฐิตา นันทะกัปปะเก
ปุเร เทเวนะ คุตตา วะระพุทธะธาตุง
จิรัง วันทามิหันตัง ชินะธาตุโย
โส ตะถาคะตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต
วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ถือเป็นพระเจดีย์เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับการตั้งวัด โดยเป็นศิลปะแบบล้านนา หริภุญชัย ผสมลังกา ที่เน้นความงามเรียบง่าย พระธาตุเจดีย์แห่งนี้ พระเจ้าผายู เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1888 ต่อมาได้บูรณะใหม่สมัยครูบาศรีวิชัย ราว พ.ศ. 2469 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากทวีปลังกา จึงมีความเชื่อว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตผู้เกิดปีมะโรง หากได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จะเป็นมงคลอันสูงสุด
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยโสปิ
เตโข ยัตถะ จิตโตโส สักกาโร
อุปาโท สะกาละพุทธะสาสะธัง โชตะยันโตวะ
ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะ
พุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง
สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง
พระธาตุประจําปีเกิด ปีมะเส็ง : งูเล็ก => เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด)
พระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ ตั้งอยู่ในวัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ถือเป็นพระเจดีย์เก่าแก่สร้างในสมัยเดียวกับการตั้งวัด โดยเป็นศิลปะแบบล้านนา หริภุญชัย ผสมลังกา ที่เน้นความงามเรียบง่าย พระธาตุเจดีย์แห่งนี้ พระเจ้าผายู เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ โปรดให้สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. 1888 ต่อมาได้บูรณะใหม่สมัยครูบาศรีวิชัย ราว พ.ศ. 2469 ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระนำมาจากทวีปลังกา จึงมีความเชื่อว่า อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิตผู้เกิดปีมะโรง หากได้มีโอกาสมานมัสการพระธาตุเจดีย์วัดพระสิงห์ จะเป็นมงคลอันสูงสุด
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยโสปิ
เตโข ยัตถะ จิตโตโส สักกาโร
อุปาโท สะกาละพุทธะสาสะธัง โชตะยันโตวะ
ทีโป สุระนะเรหิ มะหิโต ธะระมาโนยะ
พุทโธติ นะมามิ สิหิงคะพิมพัง
สุวัณณาภิรัมมัง ลังกาชาตัง
พระธาตุประจําปีเกิด ปีมะเส็ง : งูเล็ก => เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด)
วัดโพธารามมหาวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด) เป็นวัดที่สำคัญและเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยา ในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา ด้านนอกพระเจดีย์ ประดับงานปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิและยืนทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกันไปดูงามน่าชม
เจดีย์ศรีมหาโพธิ์พุทธคยา (เจดีย์เจ็ดยอด) เป็นวัดที่สำคัญและเก่าแก่แห่งหนึ่งของเชียงใหม่ มีลักษณะคล้ายกับมหาวิหารโพธิที่พุทธคยา ในประเทศอินเดีย ที่ฐานเจดีย์ประดับปูนปั้นรูปเทวดา ด้านนอกพระเจดีย์ ประดับงานปูนปั้นรูปเทวดาทั้งนั่งขัดสมาธิและยืนทรงเครื่องที่มีลวดลายต่างกันไปดูงามน่าชม
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ปะฐะมัง โพธิปัลลังกัง ทุติยัง
อะนิมิสสะกัง ตะติยัง จังกะมะ
เสฏฐัง จะตุตถะกัง ระตะนะฆะรัง
ปัญจะมัง อะชะปาละนิโคธัง
ฉัฏฐัง ราชายะตะนัง สัตตะมัง มุจ
จะลินทัง อะหัง วันทามิ ทูระโต
พระธาตุประจําปีเกิด ปีมะเมีย : ม้า => พระบรมธาตุเจดีย์
วัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก
พระบรมธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ในวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดพระเจ้าทันใจ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ และมีตำนานว่าสร้างเสร็จในหนึ่งวัน พระเจ้าทันใจนี้ร่ำลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก จริงๆ แล้วพระเจ้าทันใจมีอยู่อีกหลายวัด แต่ที่เป็นที่นับถือมากที่สุด คือ วัดพระบรมธาตุ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) โดยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุได้จดจำเอารูปทรงของเจดีย์ชเวดากองมาสร้างครอบเจดีย์องค์เก่า ซึ่งมีรูปทรงสมัยสุโขทัยไว้ และยังสร้างพระบรมธาตุองค์เล็ก ๆ 16 องค์ และเจดีย์ใส่พระพุทธรูปอีก 16 องค์ และโขงจุดไฟเทียนอีก 6 โขง ไว้รายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ด้วย
ด้านซ้ายมือของเจดีย์จะเป็นทางเข้าวิหารเก่าครึ่งตึกครึ่งไม้และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ภายในวิหารยังมีธรรมาสน์เก่าเป็นไม้แกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม ทางซ้ายของเจดีย์เป็นพระอุโบสถครึ่งตึกครึ่งไม้ มีประตูไม้แกะสลักรูปป่าหิมพานต์ หน้าบันและจั่วเป็นไม้แกะสลักไว้อย่างวิจิตร หน้าบันที่สวยมากจะอยู่ทางด้านหลังของพระอุโบสถ บานหน้าต่างเป็นภาพพระพุทธประวัติใช้ไม้แกะสลักปิดทองสวยงามมาก วัดพระบรมธาตุเป็นวัดที่กล่าวได้ว่า สวยงามที่สุดในจังหวัดตาก ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีชาวบ้านเป็นจำนวนมาก นำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา นอกจากนั้นยังมีงานประเพณีที่สำคัญอีกงานหนึ่ง คือ ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
พระบรมธาตุเจดีย์ ตั้งอยู่ในวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดพระเจ้าทันใจ เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ และมีตำนานว่าสร้างเสร็จในหนึ่งวัน พระเจ้าทันใจนี้ร่ำลือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก จริงๆ แล้วพระเจ้าทันใจมีอยู่อีกหลายวัด แต่ที่เป็นที่นับถือมากที่สุด คือ วัดพระบรมธาตุ พระครูพิทักษ์บรมธาตุ (ทองอยู่) โดยเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุได้จดจำเอารูปทรงของเจดีย์ชเวดากองมาสร้างครอบเจดีย์องค์เก่า ซึ่งมีรูปทรงสมัยสุโขทัยไว้ และยังสร้างพระบรมธาตุองค์เล็ก ๆ 16 องค์ และเจดีย์ใส่พระพุทธรูปอีก 16 องค์ และโขงจุดไฟเทียนอีก 6 โขง ไว้รายรอบเจดีย์องค์ใหญ่ด้วย
ด้านซ้ายมือของเจดีย์จะเป็นทางเข้าวิหารเก่าครึ่งตึกครึ่งไม้และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทองปางมารวิชัย ภายในวิหารยังมีธรรมาสน์เก่าเป็นไม้แกะสลักอย่างวิจิตรงดงาม ทางซ้ายของเจดีย์เป็นพระอุโบสถครึ่งตึกครึ่งไม้ มีประตูไม้แกะสลักรูปป่าหิมพานต์ หน้าบันและจั่วเป็นไม้แกะสลักไว้อย่างวิจิตร หน้าบันที่สวยมากจะอยู่ทางด้านหลังของพระอุโบสถ บานหน้าต่างเป็นภาพพระพุทธประวัติใช้ไม้แกะสลักปิดทองสวยงามมาก วัดพระบรมธาตุเป็นวัดที่กล่าวได้ว่า สวยงามที่สุดในจังหวัดตาก ในช่วงเทศกาลสงกรานต์จะมีชาวบ้านเป็นจำนวนมาก นำดอกไม้ธูปเทียนมาบูชา นอกจากนั้นยังมีงานประเพณีที่สำคัญอีกงานหนึ่ง คือ ประเพณีขึ้นธาตุเดือนเก้า
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
สัมมาสัมพุทธะ นะลาตะ
อัฏฐิ จะตุเกสาธาตุยา
คันธะวะ รัง
ฐิตัง ปะระมา
ธาตุ เจติยัง
อะหัง วันทามิ สัพพะธา
พระธาตุประจําปีเกิด ปีมะแม : แพะ => พระธาตุดอยสุเทพ
วัดพระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
พระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระ นำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเอง เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญมาบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก
ส่วนองค์ที่สอง ได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใด ก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไป ช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบัน แล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ พระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณ ที่นั้น มีขนาดสูง 5 วา เมื่อ พ.ศ. 1916 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์ โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะ โดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง 11 วา กว้าง 6 วา ที่ปรากฏทุกวันนี้
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
สุวัณณะ เจติยัง เกสา
วะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง
สุเทวะนามะทัง
นะระเทเวหิ
สัพพะปูชิตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะ
พระธาตุประจําปีเกิด ปีวอก : ลิง => พระธาตุพนม พระธาตุดอยสุเทพ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระ นำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเอง เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญมาบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก
ส่วนองค์ที่สอง ได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใด ก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไป ช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบัน แล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ พระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้สร้างพระเจดีย์ ณ ที่นั้น มีขนาดสูง 5 วา เมื่อ พ.ศ. 1916 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2068 พระเจ้าเกษเกล้า กษัตริย์องค์ที่ 12 ของเชียงใหม่ ได้ทำการบูรณะพระเจดีย์ โดยได้นิมนต์พระมหาญาณมงคลโพธิ จากลำพูนมาเป็นประธานการบูรณะ โดยขยายพระเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม สูง 11 วา กว้าง 6 วา ที่ปรากฏทุกวันนี้
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
สุวัณณะ เจติยัง เกสา
วะระมัตถะลุงคัง วะรัญญะธาตุง
สุเทวะนามะทัง
นะระเทเวหิ
สัพพะปูชิตัง
อะหัง วันทามิ สัพพะ
วัดพระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม
พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อนกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
ทิสายะ กะปะณะสิริส สะมิง
ปัพพะเต กัสสะเปนะ ฐาปิตัง
พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะ มามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง
ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา
พระธาตุประจําปีเกิด ปีระกา : ไก่ => พระธาตุหริภุญชัย
พระธาตุพนม เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ของภาคอีสาน ประดิษฐานบนเนินที่เรียกว่าภูกำพร้า ปัจจุบันเป็นบริเวณวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อยู่ห่างจากตัวเมืองนครพนมราว 52 กิโลเมตร พระธาตุพนมสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ ประมาณ พ.ศ. 8 โดยเจ้าเมือง 5 องค์คือ พระยาสุวรรณภิงคารนะ พระยาคำแดง พระยาอินทปัตถะนคร พระยาจุลนีพรหมทัต และพระยานันทเสน เพื่อบรรจุพระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ลักษณะพระเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงบัวเหลี่ยม หรือทรงแจกัน ก่อด้วยอิฐมีลวดลายจำหลักลงไปในแผ่นอิฐ มีซุ้มคั่นด้านละซุ้ม ซ้อนกัน 3 ชั้น ลดหลั่นกันลงมาอย่างวิจิตร พระธาตุพนมได้รับการบูรณะเรื่อยมาตามกาลเวลา และในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 องค์พระธาตุพนมได้หักโค่นลง ประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศได้ร่วมกันสละทุนทรัพย์ก่อสร้างขึ้นใหม่ และมีพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุขึ้นบรรจุอีกครั้งในวันที่ 23 มีนาคม 2522
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ปุริมายะ ทักขิณายะ ปัจฉิมายะ อุตตะรายะ เหฎฐิมายะ อุปะริมายะ
ทิสายะ กะปะณะสิริส สะมิง
ปัพพะเต กัสสะเปนะ ฐาปิตัง
พุทธะอุรังคะธาตุง สิระสา นะ มามิ เสตะฉัตตัง สุวัณณะระชะตัง
ระตะนัง ปะณีตัง พุทธะอุรังคะเจติยัง
อะหัง วันทามิ สัพพะทา
พระธาตุประจําปีเกิด ปีระกา : ไก่ => พระธาตุหริภุญชัย
วัดพระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
พระธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นมิ่งขวัญของชาวลำพูน ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในกลางเมืองลำพูน ภายในวัดเป็นลานกว้าง มีวิหารหลายหลัง หอระฆังสวยงาม ปรากฏในตำนานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์นครหริภุญชัยราว พ.ศ. 1586 ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลายครั้งในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. 1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
หลังจากนั้นพระเมืองแก้วได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมพระธาตุ 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง และใน ปี พ.ศ. 2329 พระเจ้ากาวิละได้ทรงทำการบูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม และสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่ามเป็นที่ต้องตาต้องใจนักท่องเที่ยวต่างเมืองผู้มีโอกาสได้ไปเยือนยิ่งนัก ทางจังหวัดลำพูนได้จัดให้มีงานนมัสการประจำปีขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 6 ซึ่งก็คือวันวิสาขบูชา
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
สุวัณณะเจติยัง หะริ ภุญชะยัฎฐัง
วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิ เสฎฐัง
สะหาอังคุลิฎฐิง
กัจจายะเน นะ ฐิตะปัตตัปปะการัง
สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง
พระธาตุประจําปีเกิด ปีจอ : สุนัข => พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี
พระธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานสำคัญยิ่งแห่งหนึ่งในภาคเหนือ และเป็นมิ่งขวัญของชาวลำพูน ตั้งอยู่ในวัดพระธาตุหริภุญชัย ในกลางเมืองลำพูน ภายในวัดเป็นลานกว้าง มีวิหารหลายหลัง หอระฆังสวยงาม ปรากฏในตำนานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์นครหริภุญชัยราว พ.ศ. 1586 ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลายครั้งในรัชกาลพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. 1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น
หลังจากนั้นพระเมืองแก้วได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมพระธาตุ 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง และใน ปี พ.ศ. 2329 พระเจ้ากาวิละได้ทรงทำการบูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม และสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่ามเป็นที่ต้องตาต้องใจนักท่องเที่ยวต่างเมืองผู้มีโอกาสได้ไปเยือนยิ่งนัก ทางจังหวัดลำพูนได้จัดให้มีงานนมัสการประจำปีขึ้นในวันเพ็ญ เดือน 6 ซึ่งก็คือวันวิสาขบูชา
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
สุวัณณะเจติยัง หะริ ภุญชะยัฎฐัง
วะระโมลีธารัง อุรัฎฐิ เสฎฐัง
สะหาอังคุลิฎฐิง
กัจจายะเน นะ ฐิตะปัตตัปปะการัง
สีเสนะ มัยหัง ปะระมามิธาตุง
พระธาตุประจําปีเกิด ปีจอ : สุนัข => พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี
พระธาตุวัดเกตการาม ความเป็นมาตามพุทธประวัติ ได้กล่าวไว้ว่า
เป็นที่ประดิษฐานพระทันตธาตุที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุที่โทณพราหมณ์ได้แอบซ่อนไว้
เมื่อครั้งมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าให้แก่เจ้าเมืองต่าง ๆ
ด้วยเหตุที่ พระธาตุเจดีย์องค์นี้ มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ ดังนั้น
นอกจากนมัสการด้วยการบูชารูปแล้วยังสามารถบูชาพระเจดีย์ ที่วัดเกตการาม
จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระเกศแก้ว จุฬามณี เจดีย์วัดนี้
ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของชาวต่างชาติ ตามประวัติ
ว่าสร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ. 1971 แต่พระเจดีย์ได้พังทลายลง ในปี
พ.ศ. 2121 พระสุทโธ รับสั่งให้สร้างขึ้นใหม่ให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา
นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์
และพิพิธภัณฑ์เก็บของใช้พื้นบ้านให้ชม (เปิด 08.00-16.00 น.) ที่ตั้ง
บ้านวัดเกต ถ.เจริญราษฎร์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬา
มะณี สะรีระปัพพะตา ปูชิตา
สัพพะ เทวานัง ตังสิระสา ธาตุ
อุตตะมัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
พระธาตุประจําปีเกิด ปีกุน : หมู => พระธาตุดอยตุง
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
ตาวะติงสายะ ปุรัมเม เกสะจุฬา
มะณี สะรีระปัพพะตา ปูชิตา
สัพพะ เทวานัง ตังสิระสา ธาตุ
อุตตะมัง อะหัง วันทามิ สัพพะทา
พระธาตุประจําปีเกิด ปีกุน : หมู => พระธาตุดอยตุง
วัดพระธาตุดอยตุง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย
พระธาตุดอยตุง นับเป็นโบราณสถานอันเก่าแก่แห่งหนึ่งในภาคเหนือ
ตามประวัติตำนานได้กล่าวไว้ว่า
พระมหากัสสปะเถระเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ได้อาราธนาอัญเชิญเอายังพระบรมสารีริกธาตุกระดูกไหปลาร้า
(พระรากขวัญเบื้องซ้าย) ของพระพุทธเจ้า
มามอบถวายแด่พระเจ้าอุชุตราชเจ้าผู้ครองนครนาคพันธ์โยนกชัยบุรี รัชกาลที่ 3
แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ
เป็นประธานพร้อมด้วยมุขมนตรีเสวกอำมาตย์ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินของพระองค์
ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุขึ้นมาบรรจุสร้างขึ้น ณ ที่ดอยดินแดง
(คือดอยตุงปัจจุบัน) สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1454 ต่อมาอีก 100 ปี
มีพระอรหันต์องค์หนึ่งชื่อว่า พระมหาวชิรโพธิเถร
ได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมามอบถวายให้พระเจ้ามังรายะนะธิราช
แล้วจึงได้พร้อมใจกันนำเอาพระบรมธาตุขึ้นบรรจุสร้างใหม่ขึ้นมาอีกองค์หนึ่งบนดอยตุง
พร้อมได้ปฏิสังขรณ์องค์เดิม
คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
อิมัสสะมิง ภัททะกัปเป จะตุพุทธา พุชฌิต ตะวา กะกุสันธะโกนาคะมะนะ
กัสสะปะ โคตะ มะราชะเคเห จะระติ
ปิณฑายะ มิถิลายะนะ คะเรสิ จะระติ ปิณฑายะ อะตีตาพุทธาเน อิมัสมิง ฐาเนสีทิ สิริสุภะปะวะรัง มังคะลัง ตะโมลากะถามุนิราชัง สาทะรัง นมามิหันตัง วะระชินาธาตุง อะหัง
วันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระ
ธาตุโย อะระหัง วันทามิ สัพพะทา
ขอขอบคุณข้อมูลจาก คำบูชาพระธาตุ (ตั้งนะโม 3 จบ)
อิมัสสะมิง ภัททะกัปเป จะตุพุทธา พุชฌิต ตะวา กะกุสันธะโกนาคะมะนะ
กัสสะปะ โคตะ มะราชะเคเห จะระติ
ปิณฑายะ มิถิลายะนะ คะเรสิ จะระติ ปิณฑายะ อะตีตาพุทธาเน อิมัสมิง ฐาเนสีทิ สิริสุภะปะวะรัง มังคะลัง ตะโมลากะถามุนิราชัง สาทะรัง นมามิหันตัง วะระชินาธาตุง อะหัง
วันทามิ สัพพะทานะตัง วะชิระ
ธาตุโย อะระหัง วันทามิ สัพพะทา
*** หมายเหตุ : อัปเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 14.50 น. วันที่ 4 มกราคม 2559
wattarnpakrat.com, thai.tourismthailand.org