x close

สร้างความฉลาดทางอารมณ์ ...สู่ความสำเร็จ

ู่ความสำเร็จ

          ความฉลาดในการเรียนรู้หรือไอคิว (IQ) ครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่า เป็นมาตรวัดความสำเร็จของคนเรา แต่วันนี้มันถูกวาดอยู่ด้านข้าง เพื่อเปิดทางให้แก่มาตรวัดตัวใหม่ที่ร้อนแรงกว่านั้นก็คือ ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional intelligence Quotient) หรือ อีคิว (EQ)

อีคิวคืออะไร

          พูดอย่างง่ายที่สุด ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ตัวเอง แยกแยะมันได้อย่างชัดเจน เข้าใจมัน ควบคุมมันได้ และข้อสำคัญที่สุด มันคือความสามารถในการตัดสินใจ ที่คุณจะยังรู้สึกว่ามันถูกต้องอยู่เสมอ

          คอนเซ็ปต์ของอีคิวเกิดขึ้นในปี 1990 ก่อนจะพุ่งขึ้นสู่ความสนใจสูงสุดในช่วงปี 1995 และนับตั้งแต่นั้นมา ก็มีงานวิจัยใหม่ๆ ในเรื่องนี้เกิดขึ้นมากมาย มันหยั่งรากลึกลงไปในด้านจิตวิทยา และแม้แต่ในเรื่องของธุรกิจ มีบริษัทจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เชื่อว่าความสามารถในการควบคุมอารมณ์ได้ดี จะเพิ่มผลผลิตของพนักงาน คนที่มีอีคิวสูงมักจะมีความพึงพอใจมากกว่า ทำงานกับคนอื่นได้ดีกว่า และมองโลกในแง่ดีกว่า

 อีคิวสำคัญอย่างไร

          คนเราเคยมองกันว่าการตัดสินใจที่ดีนั้น ต้องปิดสวิตช์อารมณ์และใช้แต่เหตุผลล้วนๆ แต่ความเชื่อนี้ล้าสมัยเสียแล้ว งานวิจัยทางด้านประสาทวิทยาเมื่อไม่นานมานี้ได้แสดงให้เห็นว่า คนที่มีความเสียหายในสมองส่วนที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ พบว่ายากมากที่จะตัดสินได้อย่างถูกต้องนั้น เพราะความรู้สึกเป็นกรอบในการวิเคราะห์และใช้เหตุผล ถ้าไม่มีอารมณ์ความรู้สึก คนเราก็ไม่มีปัญญาถ้าไม่มีความรู้สึก เราก็ไม่อาจเลือกได้ระหว่างตัวเลือกสองอย่าง

 เพิ่มอีคิวได้อย่างไร

          ที่ไม่เหมือนไอคิวก็คือ อีคิวสามารถเพิ่มขึ้นได้ แต่คุณจำเป็นต้องจัดระบบความคิดตัวเอง มุมมอง และปฏิกิริยาต่อสิ่งต่างๆ เสียใหม่ และนี่คือแนวทางการเริ่มต้นแบบคร่าวๆ สำหรับมือใหม่

          1. แยกแยะและชี้ชัดความรู้สึกของตัวเองบอกตัวเองว่าคุณรู้สึกอย่างไร ด้วยประโยคสั้นๆ สามคำ "ฉันรู้สึก..." ให้ได้ ถ้าคุณรู้สึกถึงอารมณ์ที่ผสมปนเปกัน พยายามแยกแยะมันออกมาให้ได้และจัดระดับความรุนแรงของมัน (ฉันหงุดหงิด หรือ ฉันรู้สึกโกรธแค้น) แต่อย่าขยายให้เกินเลยหรือลดระดับมันลง

          2. รับผิดชอบต่ออารมณ์ของตัวเอง อย่ามองหาคำอธิบายจากภายนอกต่อความรู้สึกของคุณ หรือทำให้ตัวเองกลายเป็นเหยื่อรับรู้มันเป็นความรู้สึกของตัวคุณเอง และพยายามเข้าใจว่าทำไมคุณถึงรู้สึกแบบนี้

          3. คาดเดาอารมณ์ตัวเองล่วงหน้า เรียนรู้ว่าคุณจะรู้สึกอย่างไรหลังเกิดเหตุการณ์ หรือการกระทำบางอย่าง หลีกเลี่ยงการทำสิ่งต่างๆ ที่คุณรู้ว่าจะทำให้เกิดอารมณ์ในแง่ลบ ทำแบบนี้กับตัวเองและคนอื่นด้วย

          4. ถามคนอื่นว่าพวกเขารู้สึกอย่างไร คุณต้องสามารถบอกได้ว่าคนอื่นรู้สึกอย่างไร โดยไม่ต้องถามพวกเขา อย่างไรก็ตามในตอนแรกคุณต้องเข้าใจพวกเขา ก่อนที่คุณจะสามารถเข้าใจเขาได้ฟังพวกเขา โดยไม่ตัดสินใดๆ อย่าพยายามละเลยหรือเพิกเฉยต่ออารมณ์ของพวกเขา

          5. ปกป้องตัวเองให้น้อยลง ถ้าบางคนพูดบางอย่างเกี่ยวกับตัวคุณที่คุณไม่เห็นด้วย อย่าปกป้องตัวเองหรือโจมตีพวกเขากลับไป มันแสดงให้เห็นว่าคุณไม่อาจรับมือกับคำวิจารณ์ได้ แทนที่จะทำเช่นนั้น จงขอบคุณพวกเขาในความจริงใจ และชี้ให้เห็นว่ามันมีความเป็นไปได้อย่างไร

          6. เอาปัญหามาใคร่ครวญ เมื่ออุปสรรคเกิดขึ้น และคุณรู้สึกถึงความโกรธที่แล่นขึ้นมา ลองใคร่ครวญอย่างจริงจังว่าอุปสรรคที่เกิดขึ้นจริงๆ แล้วซีเรียสแค่ไหน มันจะเป็นประเด็นที่มีความสำคัญมั้ยในอีก 10 ปีข้างหน้า ใน 10 สัปดาห์หรือ 10 นาที



ข้อมูลจาก

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต
ประจำวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2551
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สร้างความฉลาดทางอารมณ์ ...สู่ความสำเร็จ โพสต์เมื่อ 16 เมษายน 2551 เวลา 14:26:17 16,649 อ่าน
TOP