x close

เบื้องหลัง จัดโผคณะรัฐมนตรี สมชาย 1



          เบื้องหน้าเบื้องหลัง จัดโผ "ครม.สมชาย 1" ไขปริศนา ทำไม "บิ๊กจิ๋ว" คัมแบล็กนั่งรองนายกฯ หวังสลายกำลังของกลุ่ม "เพื่อนเนวิน" เตรียมรับมือ ยุบพรรคพลังประชาชน เผยวังบัวบานจัดโผได้ 15 เก้าอี้ กลุ่มต้าน"สมัคร" -ช่วย "ทักษิณ" ได้ดีเป็นแถว "เพื่อนเนวิน" หงอยถูกหั่นเหลือแค่ 3 


          เมื่อวานนี้ (24 กันยายน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราช โองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรีในรัฐบาล นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี จำนวน 36 คน โดยอาศัยตามอำนาจตามความในมาตรา 171 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน มีนายสมชายในฐานะนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

สำหรับรายชื่อคณะรัฐมนตี (ครม.) มีดังนี้  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพราะต้องการไม่ให้เกิดปัญหาภายในกองทัพ เนื่องจากปัญหาเรื่องรุ่น ซึ่งนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีเคยทำได้ผลมาแล้ว

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 2. พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี เป็น รองนายกรัฐมนตรี โดยได้รับการผลักดันจากแกนนำกลุ่มวังบัวบาน ที่นำโดยนางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ และวังทองหลางของ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ซึ่งเป็นไปได้ว่า การเข้ามาของ พล.อ.ชวลิต เพื่อปฏิบัติภารกิจพิเศษ และใช้ชื่อสร้างพื้นที่ภาคอีสานให้กับ ส.ส.กลุ่มวังบัวบาน เพื่อเป็นการสลายกำลังของกลุ่มเพื่อนเนวิน ของนายเนวิน ชิดชอบ อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ที่สำคัญคือ พล.อ.ชวลิตเป็นนักการเมืองอาวุโส ที่อาจจะต้องเข้ามาช่วงพยุงพรรคพลังประชาชน (พปช.) หลังถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 3. นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งโยกมาจากกระทรวงยุติธรรม เพราะเห็นว่านายสมพงษ์เคยเป็นอดีตผู้แทนการค้าไทย เป็นไปได้ว่า อาจจะต้องจัดการเกี่ยวกับคดีความของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 4. นายชวรัตน์ ชาญวีรกูลถูกแกนนำพรรคโยกมาแขวนไว้ที่ตำแหน่ง รองนายกรัฐมนตรี เนื่องจากช่วงหลัง นายอนุทิน ชาญวีรกูล อดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย ใกล้ชิดกลุ่มเพื่อนเนวิน

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 5. นายโอฬาร ไชยประวัติ เป็น รองนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยงานด้านเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่จะทำให้มีปัญหาเรื่องการคาบเกี่ยวกับบริษัทเอกชน

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 6. พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นโควต้าเดิมของพรรคชาติไทย  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 7. นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ครั้งแรก รับหน้าที่ดูแลด้านกฎหมาย ซึ่งเป็นการสลับกันรับตำแหน่งกับ นายชูศักดิ์ ศิรินิล  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 8. นายสุพล ฟองงาม เป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ถูกโยกจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในโควต้าของกลุ่มเพื่อนเนวิน โดยนายสุพลได้แยกตัวออกมาจากกลุ่มเพื่อนเนวินแล้วไปใกล้ชิดกับ พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี จนได้รับการผลักดันให้กลับมารับตำแหน่งอีกครั้ง

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 9. นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยได้รับการผลักดันจาก นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรัฐมตรีว่าการการกระทรวงคลัง เนื่องจากไม่มีใครยอมเข้ามารับตำแหน่งนี้ เนื่องจากอาจจะมีปัญหาทางกฎหมายและธุรกิจครอบครัว 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 10. นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในโควต้าของพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 11. ร.ต.(หญิง) ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี กลับเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังอีกครั้ง ภายใต้การผลักดันของ ว่าที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี แกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 12. นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามโควต้าเดิมของพรรคชาติไทย  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 13. นายอุดมเดช รัตนเสถียร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็น ส.ส.นนทบุรี แต่ใกล้ชิดคุณหญิงสุดารัตน์  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 14. นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โควต้าเดิมของพรรคชาติไทย 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 15. นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โควต้าเดิมของพรรคชาติไทย 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 16. นายธีระชัย แสนแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวินเพียงคนเดียวที่ยังเหนียวแน่นอยู่ในตำแหน่ง

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 17. นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังอยู่ในตำแหน่งเดิม หลังมีข่าวเดินสายเคลียร์ใจกับแกนนำพรรค กรณีปันใจไปอยู่กับกลุ่มเพื่อนเนวิน  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 18. นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เข้ามารับตำแหน่งแทน นายทรงศักดิ์ ทองศรี แกนนำกลุ่มเพื่อนเนวิน เพื่อกระจาย ส.ส. ลดการเป็นเป้าทางการเมือง  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 19. นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รับการผลักดันจากนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย ผู้เป็นพ่อ ให้เข้ามารับตำแหน่งแทนนายอนุรักษ์ จุรีมาศ 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 20. นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามโควต้าเดิมของพรรคมัชฌิมาธิปไตย 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 21. นายมั่น พัธโนทัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ที่เหนียวแน่นกับเก้าอี้นับจากรัฐบาล "สมัคร 1" กระทั่งปัจจุบัน เนื่องจากเป็นมือขวาของนายวัฒนา อัศวเหม อดีตประธานพรรคเพื่อแผ่นดิน

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 22. นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซึ่งได้รับแรงผลักดันจากนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ คู่เขย ให้เข้ารับตำแหน่งแทน พล.ท.(หญิง) พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ ภริยานายสุวัจน์ ที่ขอพัก โดย นพ.วรรณรัตน์เป็น ส.ส.นครราชสีมา 5 สมัย และล่าสุด เป็นประธานกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 23. นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ยังมั่นคงที่เก้าอี้ตัวเดิม หลังเคยหลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยรัฐบาล "สมัคร"   

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 24. นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยได้รับปูนบำเหน็จจากการเป็นหัวหอกล่ารายชื่อ ส.ส.พปช. เพื่อให้นายสมัครชี้แจงกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ออกมาหมายจับ พ.ต.ท.ทักษิณ และยังเป็นหัวแรงใหญ่ในการตั้งพรรคเพื่อไทย พรรคสำรองของ พปช.  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 25. พ.ต.ท.บรรยิน ตั้งภากรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ จากพรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่ยังเหนียวแน่นกับเก้าอี้ตัวเดิม

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 26. พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ แม้จะถูกถอดออกจากตำแหน่งรองนายกฯ แต่ยังมั่นคงที่เก้าอี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 27. นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส เลย พปช. กลุ่มอีสานพัฒนา พปช. ได้สัมผัสเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยสมใจเป็นหนแรก  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 28. นายประสงค์ โฆษิตานนท์ ยังไม่หลุดจากเก้าอี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเป็นนายทุนใหญ่พรรคเพื่อแผ่นดิน โดยเฉพาะกลุ่มวังพญานาค 

          //image.kapook.com/images/w_02.gif 29.
นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เลื่อนชั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เนื่องจากเป็นลูกอีสานที่แปรพักตร์มาเป็นลูกก๊วน "เพื่อนยงยุทธ" 

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 30. นางอุไรวรรณ เทียนทอง เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน สมัยที่ 3 ในโควต้าพรรคประชาราช  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 31. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุลส.ส. แพร่ กลุ่มวังบัวบาน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 32. นายวุฒิพงศ์ ฉายแสง น้องชายนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 33. นายศรีเมือง เจริญศิริ เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพราะความที่เป็นสายตรงของ นายใหญ่ เคยมีชื่อติดโผรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาล "สมัคร" มาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ติดขัดที่พ้นตำแหน่ง ส.ว.ไม่ครบ 2 ปี และโดยกระทรวงศึกษาธิการไม่มีรัฐมนตรีช่วยแม้แต่คนเดียว ต่างจากรัฐบาล"สมัคร" ที่มีรัฐมนตรีช่วยถึง 2 คน

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 34. ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่ร่วมรบขบวนการต้านนายสมัคร ไม่ให้เป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 2  

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 35. นายวิชาญ มีนชัยนันท์ เป็น รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ตามโควต้าต่อไป

         //image.kapook.com/images/w_02.gif 36. พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมแบบส้มหล่นที่สุด เนื่องจากแกนนำ พปช. และส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดิน ขวางนายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดินไม่ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี "ปรีชา"รับโบนัสล้มแก๊งออฟโฟร์

          รายงานข่าวจากแกนนำ พปช. เปิดเผยถึงการแต่งตั้ง รมช.มหาดไทย ในโควต้าของ พปช.ว่า เดิมมีการวางตัวนายสุพล ฟองงาม ที่ได้รับแรงหนุนจาก พล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ให้อยู่ในตำแหน่ง รมช.ตามเดิม และให้ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข ส.ส.กลุ่มอีสานพัฒนา เป็น รมช.เกษตรฯ แต่สุดท้ายมีการเปลี่ยนแปลง โดย ส.ส.อีสานพัฒนา ได้นัดรับประทานอาหารที่ร้านอาหารย่าน สน.ดุสิต และ ส.ส.อาวุโสของกลุ่ม ได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายใหญ่ว่า อยากให้นายปรีชา เป็น รมช.มหาดไทย เพื่อตอบแทนที่กลุ่มอีสานพัฒนาล้มแก๊งออฟโฟร์ได้ ซึ่งนายใหญ่รับปากว่าจะดูแลให้ สุดท้ายนายปรีชาก็ได้เป็น รมช.มหาดไทย ขณะที่นายสุพลถูกโยกไปเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

//image.kapook.com/images/w_02.gif  "วังบัวบาน" ผงาด-กลุ่มเนวินหงอย

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับ ครม."สมชาย 1" แบ่งโควต้ารัฐมนตรีแบบแยกพรรค โดยพรรคชาติไทย 5 คน 5 ตำแหน่งพรรคเพื่อแผ่นดิน 4 คน 4 ตำแหน่งพรรคมัชฌิมาธิปไตย 2 คน 2 ตำแหน่งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา 2 คน 2 ตำแหน่ง และ พรรคประชาราช 1 คน 1 ตำแหน่ง

          สำหรับพรรคพลังประชาชนนั้น 22 คน 23 ตำแหน่ง ซึ่งจะแบ่งเป็น โควต้ากลางของพรรค และสายตรง พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่ง กลุ่มวังบัวบานเป็นผู้จัด ได้ถึง 5 ตำแหน่งคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (นายสมชาย) รองนายกฯ (พล.อ.ชวลิต และนายโอฬาร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง (นายสุชาติ) และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุขุมพงศ์) 

          สำหรับโควต้าภาคเหนือ ประกอบด้วย กลุ่มพิจิตร และกลุ่มวังบัวบาน และชากังราว รวม 6 ตำแหน่ง ซึ่งปรากฏว่า ครั้งนี้แม้กลุ่มชากังราวไม่ได้ตำแหน่ง แต่ก็ได้โควต้าเพิ่มขึ้นเป็น 7 ตำแหน่ง คือ รองนายกฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ (นายสมพงษ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นายศรีเมือง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสันติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสมศักดิ์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายวรวัจน์) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายปรีชา)

          ซึ่งเท่ากับว่า กลุ่มวังบัวบาน ที่เป็นผู้จัดโควต้ากลางและภาคเหนือได้ไปถึง 12 ตำแหน่ง รวมทั้ง กลุ่มวังทองหลาง ของภาค กทม. ที่เดิมมีอยู่ 1 รมช.สาธารณสุข แต่ครั้งนี้ได้ไปถึง 3 ตำแหน่ง คือ รมว.ยุติธรรม รมว.พัฒนาสังคมและ รมช.สาธารณสุข ต่างจาก กลุ่มเพื่อนเนวิน ที่โควต้าเดิมมี 4 รมช. และโบนัสจากเก้าอี้ รมว.มหาดไทย ของ พล.ต.อ.โกวิท แต่ครั้งนี้เหลือเพียง 3 ตำแหน่ง คือ รมว.มหาดไทย รมช.คมนาคม (นายโสภณ) และ รมช.เกษตรฯ (นายธีระชัย)

          แต่กลับเกิดกลุ่มใหม่คือ "กลุ่มอุบล" ของ พล.ต.อ.ชิดชัย ที่มี 1 ตำแหน่งของ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุพล) ซึ่งเท่ากับ กลุ่มนครปฐม ที่มี 1 ตำแหน่ง ของ รมว.พาณิชย์ รวมไปถึง กลุ่มภาคกลาง 1 ตำแหน่ง รมว.วิทยาศาสตร์ฯ (ส่วนกลุ่มราชบุรี ของ นายสรอรรถ กลิ่นประทุม กลับถูกตัดไป) ที่เหลือเป็นโควต้านายทุนพรรค 2 ตำแหน่ง คือ รมช.พาณิชย์ (นายสงคราม) และ รองนายกฯ (นายชวรัตน์)




ขอขอบคุณข้อมูลจาก

ภาพประกอบจาก พรรคพลังประชาชน  

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เบื้องหลัง จัดโผคณะรัฐมนตรี สมชาย 1 อัปเดตล่าสุด 26 กันยายน 2551 เวลา 16:08:57 9,772 อ่าน
TOP