x close

โลกร้อนฝนเปลี่ยน วิกฤติทั้งน้ำท่วม-แล้ง

เกาะสมุย


          ระหว่างวันที่ 4-9 พฤศจิกายน น้ำจะท่วมจังหวัดริมตลิ่ง อ่างทอง ชัยนาท สุพรรณบุรี อุทัยธานี อยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ไล่ลงมาถึงกรุงเทพฯ 

         ณ วันที่ 4 พฤศจิกายน น้ำเหนือ ที่กรมชลประทานปล่อยลงมา มีปริมาณอยู่ที่ 2,596 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ขณะที่มีน้ำทะเลหนุนสูง 1.3 เมตร ส่งผลให้ระดับน้ำเจ้าพระยาสูงไม่เกิน 2.10 เมตร...ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ สถานการณ์น้ำท่วมกรุงเทพฯ ไม่น่ากลัวเท่าวันที่ 18 ตุลาคมที่ผ่านมา วันที่น้ำทะเลหนุนสูงสุด 

          "กรุงเทพมหานครมีคันกั้นน้ำ รับน้ำได้สูง 2.5 เมตร สามารถควบคุม ป้องกันได้ ไม่น่าจะมีผลทำให้น้ำท่วม พื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน" สมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัด กทม. กล่าว 

          โอกาสที่น้ำจะท่วมคือพื้นที่ริมสองฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยานอกแนวกั้นน้ำ อาทิ บริเวณสะพานพระราม 6 คลองบางเขนเก่า ในเขตบางซื่อ ชุมชนเทวราชกุญชร เขียวไข่กา ซอยสีคราม-บ้านมิตรครามเขตดุสิต บริเวณท่าช้าง ท่าเตียน แต่...อย่า ชะล่าใจจนเกินไป ปริมาณฝน คือ ตัวแปรสำคัญในการเพิ่มปริมาณน้ำ ต้องติดตาม อย่างใกล้ชิด

          กลุ่มภูมิอากาศ สำนักพัฒนาอุตุนิยม วิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศ เดือนพฤศจิกายน ประเทศไทย ตอนบน มีมวลอากาศเย็นจากจีนแผ่ลงมาปกคลุมเป็นช่วงๆ และมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือหรือลมหนาวพัดตลอดเดือน 

          ระยะแรกจะมีฝนฟ้าคะนอง ลม กระโชกแรงบางพื้นที่ โดยเฉพาะภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอากาศหนาว เย็นกับหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิเฉลี่ย ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย มีปริมาณฝนใกล้เคียง ค่าปกติ    

          ค่าปกติ หมายถึง ค่าเฉลี่ยปริมาณฝน 30 ปี ช่วงปี 2514-2543 ช่วงเดือนนี้ อาจมีหย่อมความกด อากาศต่ำกำลังแรงก่อตัวในทะเล จีนใต้ ตอนล่าง...ทวีกำลังเป็นพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ประเทศไทย ทำให้ฝนตกชุกเพิ่มขึ้น เข้าเดือนธันวาคม อาจมีคลื่น กระแสลมตะวันตกเคลื่อนจากพม่าผ่านประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนตกฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง


          ส่วนอ่าวไทยตอน ล่างอาจมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงก่อตัว เคลื่อนผ่านภาคใต้ ทำให้มีฝนตก เพิ่มขึ้น มีเค้าว่าจะเกิดพายุซัดฝั่ง ยาวไปถึงเดือนมกราคม ปี 2551 อิทธิพลคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านพม่า ประเทศไทยตอนบนผนวกกับมวล อากาศเย็นจากจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีฝนฟ้าคะนอง ลม กระโชกแรงบางพื้นที่ อาจมีลูกเห็บตกมาด้วย 

          สรุปปริมาณน้ำฝนภาคกลาง... เดือนพฤศจิกายน เฉลี่ย 30-50 มิลลิเมตร ...เดือนธันวาคม น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร...เดือนมกราคม 2552 น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร

เฉพาะกรุงเทพมหานครและ ปริมณฑล...เดือนพฤศจิกายน 40-60 มิลลิเมตร...เดือนธันวาคม น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร...เดือนมกราคม 2552 น้อยกว่า 10 มิลลิเมตร ทุกรอบเดือน ปริมาณน้ำฝนใกล้เคียงค่าปกติ  

          ย้อนอดีตน้ำท่วมปี 2545 ใน ช่วงฤดูฝน เดือนที่มีฝนตกมากที่สุด คือ เดือนตุลาคม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 281 มิลลิเมตร วันที่ฝนตกหนักที่สุดและน้ำท่วมมากที่สุด คือ วันที่ 7 ตุลาคม 2545 บริเวณน้ำท่วมสูงที่สุด คือ ถนนศรี นครินทร์ เขตประเวศ เกิดน้ำท่วมสูงประมาณ 40-50 เซนติเมตร ใช้เวลา ระบายน้ำประมาณ 7 ชั่วโมง บริเวณที่น้ำท่วม นานที่สุด ถนนสุขุมวิท ช่วงสะพานพระโขนง ถึงแยกบางนา เขตพระโขนง และบางนา น้ำท่วมสูง 30 -40 เซนติเมตร ใช้เวลาระบายน้ำ 14 ชั่วโมง


          สภาพน้ำท่วมกรุงเทพมหานคร เนื่องจากน้ำฝนโดยรวม ถือว่ายังไม่รุนแรง แก้ไขให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติในระยะ เวลาไม่นาน...มีถนนที่เกิดน้ำท่วมจำนวน 53 สาย ในพื้นที่ 22 เขต มี จำนวนวันที่เกิดน้ำท่วม 12 วัน ปกติแล้ว เหตุการณ์ที่มีปริมาณน้ำ ในแม่น้ำเจ้าพระยามาก และน้ำทะเลหนุนสูงมักเกิดพร้อมกันในช่วงปลายฤดูฝน คือ เดือนกันยายน ถึง เดือนพฤศจิกายน 

          ปี 2545 ฝนตกหนักในพื้นที่ ทางตอนบนของประเทศ มีน้ำท่วมหนักในหลายจังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มภาคกลาง เป็นผลให้เขื่อนต่างๆ ระบายน้ำออกและไหลลงตามแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อระบายลงสู่ ทะเล กรุงเทพมหานคร ได้รับอิทธิพลโดยตรง ตุลาคมปีนั้น ปริมาณน้ำสูงสุดที่ไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา 4,326 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

          ปริมาณน้ำมากกว่าความสามารถ ของแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วงที่ผ่านกรุงเทพมหานครจะรับได้...อยู่ที่ 2,500- 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ประกอบกับระดับน้ำทะเลหนุนสูงสุดในเดือน พฤศจิกายน เท่ากับ 1.36 เมตร ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง เอ่อล้น  
        
          น้ำเหนือบ่า น้ำ ทะเลหนุนสูง ฝนตกหนัก คือปัจจัยจาก 3 น้ำที่น่ากังวล สำหรับปลายปีนี้ ถ้าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่เกินระดับ ฝนไม่ตกซ้ำหนัก คน กรุงเทพฯก็ไม่ต้องกลัวว่าน้ำจะท่วมหนัก 

         
แม่น้ำเจ้าพระยา ในกรุงเทพฯ รับน้ำได้ 3,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยที่น้ำแค่ปริ่มๆ ไม่บ่า ท่วม น้ำมาแค่ 3,500...ก็ยังไม่ท่วม แต่ถ้ามาจากนครสวรรค์ 4,000 แล้วระบายน้ำ ออกไปทางแก้มลิง หรือแยกน้ำให้ไปท่วมพื้นที่อื่นไม่ได้...น้ำจึงจะท่วม กรุงเทพฯ 

          หากน้ำมามากเกินไป...แน่ นอนว่า ต้องใช้พื้นที่ริมเส้นทางน้ำก่อนถึงกรุงเทพฯ เป็นที่รับน้ำ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ การเกษตร รับไปมีความเสียหายน้อยกว่ากรุงเทพฯ...น้ำที่เหลือกรุงเทพฯก็รับ ได้สบายๆ

          พื้นที่ระบายน้ำที่ทำกันมา ได้แก่ ทุ่ง เสลี่ยง ทุ่งอยุธยา ทุ่งรังสิต พื้นที่เหล่านี้น้ำก็ท่วมแทบทุกปี...แม้ว่าจะมีความเสีย หาย แต่ก็ไม่มีทางเลี่ยงอื่น 

          ตั้งรับสถานการณ์น้ำท่วมของแต่ละจังหวัด

เส้นทางเดินน้ำไหลมาถึงภาค กลาง...จากลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน เจ้าพระยา สะแกกรัง ท่าจีน ป่าสัก ก็จะไหลมา รวมกันที่พื้นที่ลุ่มภาคกลาง 

          น้ำท่วมภาคกลางมักจะตรงกับเดือน กันยายน ตุลาคม...ของทุกปี ภาคกลาง...ภาคเหนือ มีปัญหาน้ำท่วมไม่หนัก หนา เพราะมีอ่างเก็บน้ำมาก 

          ภาคกลาง แม้ว่ามี แม่น้ำหลายสายมารวมกันเยอะ แต่แทนที่น้ำจะไหลมารวมกันทั้งหมด ก็ถูกดักเก็บไว้ โดยเขื่อน...น้ำที่เหลือ ไหลลงพื้นที่ได้ไม่เท่าไหร่ 

          ธนวัฒน์ จารุพงษ์ สกุล นักวิชาการหน่วยศึกษาภัยพิบัติและข้อสนเทศเชิงพื้นที่ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า ภาวะโลกร้อนทำให้รูปแบบฝน เปลี่ยนไปจากอดีต พายุก็เข้ามาถี่ขึ้น โดยเฉพาะแถบเวียดนาม ทำให้การบริหาร จัดการน้ำลำบากมากขึ้น


          "ข้อมูลการบริหารจัดการน้ำใน อดีตเริ่มต้นเก็บรวบรวมข้อมูลมาจาก 40 ปีก่อน เมื่อปริมาณน้ำฝนเปลี่ยนแปลง มากขึ้น บางทีในปีเดียว...ประเทศไทยอาจจะต้องเจอกับภัยแล้ง น้ำท่วม แผ่น ดินถล่มไปพร้อมๆกัน...เพียงแต่ต่างพื้นที่"

          การบริหารจัดการน้ำ ไม่ใช่เพียงว่า เก็บน้ำไว้ พอน้ำเกินก็ปล่อยน้ำออกมา ต้องเตือนภัยเป็นระดับว่า...เท่าไหร่พอ เท่าไหร่จะปล่อยน้ำ อาจไม่ต้องเก็บน้ำถึง 70 เปอร์เซ็นต์ "ที่ทำกันแบบ เดิม...ยังทำแบบแยกส่วน การปล่อยน้ำถือเป็นการผลักภาระ ง่ายที่สุดคือปล่อย น้ำไปอยู่กับคนที่ไม่มีฐานเสียงหรือว่าเสียงดังน้อย คือ...ชาว นา"

          ธนวัฒน์ บอกว่า "เกษตรกรเป็นบุคคลที่น่าสงสาร ในอนาคตจะมี ปรากฏการณ์แย่งน้ำเวลาขาด...ขจัดน้ำเวลาน้ำมามากกันมากขึ้น แน่นอนว่า การบริหารทั้งระบบจะต้องทำอย่างละเอียดมากกว่าที่เป็นอยู่"

          ปีนี้...หลาย คนอาจสัมผัสได้ว่า ฝนตกยืดเยื้อ น้ำท่วมหนัก ดินถล่มซ้ำๆหลายระลอก โลกร้อนทำ ให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลง มนุษย์ก็ต้องปรับวิธีรับมือ ปัญหาจะได้ไม่เกิดซ้ำๆซากๆ เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง




ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก
 
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
โลกร้อนฝนเปลี่ยน วิกฤติทั้งน้ำท่วม-แล้ง อัปเดตล่าสุด 8 พฤศจิกายน 2551 เวลา 13:56:29 7,538 อ่าน
TOP