
ปภ. แนะประชาชนเรียนรู้.....รับมือภัยพิบัติแผ่นดินไหว (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย)
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุประเทศไทยมีรอยเลื่อนที่ทรงพลังในการเคลื่อนตัวรวม 13 จุด พาดผ่าน 22 จังหวัด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันตก พร้อมแนะประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา ในขณะเกิดเหตุให้หลบบริเวณใต้โต๊ะหรือจุดที่มีโครงสร้างแข็งแรง ไม่อยู่ใต้คานหรือใกล้เสา อยู่ให้ห่างจากประตู หน้าต่างที่เป็นกระจกและเฟอร์นิเจอร์ขนาดใหญ่ที่สามารถล้มลงมาได้
นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ตั้งอยู่บนศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่โดยตรง แต่มีรอยเลื่อนที่มีพลังในการเคลื่อนตัวรวม 13 จุด พาดผ่าน 22 จังหวัด แยกเป็น ภาคเหนือ 11 จังหวัด ภาคใต้ 6 จังหวัด ภาคตะวันตก 3 จังหวัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด ดังนี้













อีกทั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาประเทศเพื่อนบ้านของไทยเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงบ่อยครั้งมากขึ้น ซึ่งโดยรอบประเทศไทยมีแนวรอยเลื่อนที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ รวม 3 จุด ได้แก่ รอยเลื่อนสะแกง พาดผ่านตอนกลางประเทศพม่า รอยเลื่อนซุนดา อยู่บริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินโดนีเซีย รอยเลื่อนฟิลิปปินส์ ตั้งอยู่ทางตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์
นายวิบูลย์ กล่าวต่อไปว่า เพื่อความปลอดภัย ขอแนะประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมพร้อมรับมือและเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนอย่างปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ดังนี้
ก่อนเกิดเหตุ ตรวจสอบบ้านเรือนและเครื่องใช้ต่าง ๆ ภายในบ้านให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง ยึดติดอุปกรณ์และเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ กับพื้นหรือผนังบ้านอย่างแน่นหนา ไม่วางสิ่งของที่มีน้ำหนักมากไว้บนหลังตู้หรือที่สูง
ระหว่างเกิดเหตุ



หลังเกิดเหตุ รีบออกจากอาคารโดยเร็วที่สุด ไม่กลับเข้าไปในอาคารที่ได้รับความเสียหาย เพราะหากเกิดอาฟเตอร์ช็อค อาคารอาจพังถล่มลงมา และอย่าหลงเชื่อข่าวลือ ให้ติดตามรับฟังสถานการณ์ พร้อมปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยอย่างเคร่งครัด ตลอดจนหลีกเลี่ยงการก่อประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วไหลในพื้นที่ใกล้เคียง ทำให้เกิดการระเบิดขึ้นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย