มาทำความรู้จักพลาสติกรีไซเคิลชนิดต่าง ๆ พร้อมหลากวิธีเพิ่มประโยชน์จากการใช้ซ้ำ ลดการเกิดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน และไอเดีย “Upcycle” เทรนด์เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นของใช้สุดเจ๋ง การเดินทางของพลาสติกอย่างฉัน มีเรื่องที่เธออาจจะยังไม่เข้าใจอีกมากมาย แต่หลังจากที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตพลาสติกในอีกแง่มุมหนึ่งไปในตอนที่ 1 แล้ว (I Am Plastic : ความในใจของน้องพลาสติก) หลายคนคงเริ่มจะเข้าใจถึงประโยชน์ของการแยกขยะพลาสติกขึ้นมาบ้าง เพราะนอกจากเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณขยะได้แล้ว ยังง่ายต่อการนำไปรีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ นำฉันกลับมาใช้ซ้ำ ๆ วนไปได้อีกไม่รู้จบ เอาล่ะ… คงได้เวลาที่ต้องออกเดินทางไปท่องโลกของพลาสติกตอนที่ 2 กันแล้ว ฉันจะพาไปทำความรู้จักการรีไซเคิลขยะให้ลึกกว่าเดิม แล้วเธอจะยิ่งกระจ่างชัดมากขึ้นว่า ขยะพลาสติกรีไซเคิลมีกี่ชนิด และมีวิธีกำจัดอย่างไรให้เกิดประโยน์มากที่สุด เรามาออกสตาร์ตไปพร้อม ๆ กันเลย ณ บัดนาวอยู่ที่บริเวณด้านล่างของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ บางผลิตภัณฑ์จะอยู่ตรงฉลากด้านหลังของ Packaging ใกล้ ๆ กับบาร์โค้ด สัญลักษณ์ทั้ง 7 กลุ่มนี้ ถูกกำหนดขึ้นมาโดยสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกแห่งสหรัฐฯ (The Society of the Plastics Industry, Inc.) เพื่อใช้ในการคัดแยกก่อนนำไปแปรสภาพนั่นเอง แค่เธอใส่ใจสัญลักษณ์เหล่านี้ก่อนทิ้ง ก็ป้องกันไม่ให้ฉันกลับไปทำลายสิ่งแวดล้อมได้แล้ว แถมยังสร้างประโยชน์ใหม่ได้อีกครั้ง ส่วนวิธีการที่จะนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำมีอะไรบ้าง เดี๋ยวจะพาไปทำความรู้จักนะ “ใช้ซ้ำ = ช่วยโลก” เปลี่ยนขยะให้กลับมามีประโยชน์ รียูสเป็นการนำขยะพลาสติกที่ยังสามารถใช้งานได้ตามหน้าที่เดิม กลับมาใช้ซ้ำวนไปแบบง่าย ๆ ทำได้ด้วยตัวเอง ไม่ต้องผ่านกระบวนการแปรสภาพใด ๆการนำถุงพลาสติกมาใช้ซ้ำเป็นถุงใส่ขยะ หรือการนำขวดน้ำใช้แล้วมาตัดแต่งเอาไว้ใส่ไม้ประดับ รีไซเคิลเป็นวิธีการนำขยะพลาสติกที่ใช้ซ้ำไม่ได้แล้ว อาจจะแตกหักหรือชำรุด ใช้งานตามหน้าที่เดิมไม่ได้แล้ว ไปเข้ากระบวนการทางเคมีหรือเครื่องจักรเพื่อหลอมและทำเป็นวัตถุดิบตั้งต้นอย่างเม็ดพลาสติก เพื่อนำไปผลิตเป็นพลาสติกชิ้นใหม่ ที่คุณภาพอาจด้อยลง และสามารถนำกลับมารีไซเคิลซ้ำได้อีก Upcycle หรือ Upcycling เป็นวิธีการดัดแปลงขยะพลาสติกเหลือใช้ หรือไม่สามารถใช้งานตามหน้าที่เดิมได้แล้ว มาออกแบบเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพและมีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเน้นขายไอเดียและความคิดสร้างสรรค์มีความเก๋ในตัวเอง สามารถนำไปขายและสร้างรายได้กลายเป็นเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ใช้ทุนต่ำแต่กำไรคุ้มค่า และกำลังเป็นเทรนด์ของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ในขณะนี้ รองเท้าแตะนันยางคอลเล็กชั่นพิเศษคู่นี้ ผลิตจากขยะทะเลกว่า 5 กิโลกรัม ผ่านการรีไซเคิลและออกแบบใหม่ให้มีลวดลายเก๋ ๆ ผ่านความคิดสร้างสรรค์ของนันยางและทะเลจร จากถุงช้อปปิ้งใส่ของในอิเกียธรรมดา ๆ สู่การเป็นกระเป๋าแฟชั่นสุดคูล ถูกออกแบบและตัดเย็บอย่างมีไอเดีย ทั้งกระเป๋าสะพายข้าง เป้สะพายหลัง หรือกระเป๋าคาดอกหลากสไตล์ ผลงานการออกแบบที่มีชื่อว่า Illusionist ผ่านการตัดเย็บด้วยผ้าที่ทอมาจากเส้นใยพลาสติกรีไซเคิลร่วมกับเส้นใยธรรมชาติ เป็นกระเป๋าถือที่มีลวดลายสวยงามเป็นเอกลักษณ์จากลายผ้า ภาพจากบริษัทในกลุ่ม ปตท. โดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กระเป๋าดีไซน์เก๋คอลเล็กชั่นนี้ทำมาจากขยะขวดน้ำพลาสติกแปรรูปเป็นเส้นใยรีไซเคิลแล้วนำไปทอเป็นผ้าที่แข็งแรงทนทาน จากนั้นก็ออกแบบตัดเย็บให้ดูเท่ มีสไตล์ และใช้งานได้จริง จากขยะขวดน้ำพลาสติกชนิด PET จำนวนมาก ถูกนำไปแปรรูปให้เป็นเส้นใยรีไซเคิลแล้วนำไปทอผสมกับฝ้าย ออกแบบและตัดเย็บใหม่จนกลายเป็นเสื้อยืดแขนสั้นสวมใส่สบาย แผ่นไม้ที่นำมาประกอบเป็นเก้าอี้ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล แต่มีความทนทาน ทนแดด ทนฝน ดูแลรักษาง่าย มีหลายขนาดให้เลือก นำมาประกอบเป็นเก้าอี้ม้านั่งได้อย่างมีดีไซน์และใช้ประโยชน์ได้จริง ร้านกาแฟ Café Amazon แห่งนี้เป็นคาเฟ่รักษ์โลกภายใต้คอนเซ็ปต์ “Circular Living” ใช้เฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งร้านที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล เช่น Eco-Board ตกแต่งร้านหลังเคาน์เตอร์ จากถุงบรรจุเมล็ดกาแฟที่ใช้แล้วมารีไซเคิลกว่า 7,200 ถุง Upcycling Decorative Wall ผนังตกแต่งร้านรูปนกมาคอว์ จากการรีไซเคิลแก้วกาแฟพลาสติกโพลีโพรพิลีน (PP) กว่า 5,000 ใบ Upcycling Armchair ชุดเก้าอี้และโซฟา ทำด้วยผ้าที่ทอด้วยเส้นใยสังเคราะห์รีไซเคิลจากขวดน้ำดื่ม PET 1,200 ขวด Upcycling Vertical Garden กระถางสวนแนวตั้ง จากแกลลอนนมพลาสติกใช้แล้วรีไซเคิลกว่า 6,300 ขวด ยังมีข้าวของเครื่องใช้อีกหลายอย่างภายในร้านที่แปรรูปมาจากขยะรีไซเคิล ใครผ่านไปผ่านมาก็อย่าลืมแวะเข้าไปเยี่ยมชมกันดูนะ ฉันขอเถอะนะ… ขอให้เธอช่วยใช้ฉันซ้ำ ๆ หรือทิ้งฉันให้ถูกวิธี เพียงแค่พวกเธอมองเห็นประโยชน์ของขยะพลาสติก นำมาใช้ใหม่ ฉันก็จะกลับมาสร้างประโยชน์ และเพิ่มมูลค่าได้อีกมหาศาล แล้วพบกันตอนต่อไปกับ Circular Economy ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทางรอดของปัญหาขยะล้นโลก ขอบคุณข้อมูลจาก pttgcgroup.com, mahidol.ac.th, great-pet.com, blisby.com, gccircularlivingshop.com, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม, healthyliving.in.th, Park Ventures ปตท. และมูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนโครงการมื้อเช้าเพื่อน้องท้องอิ่ม โดยผู้บริจาคจะได้รับกระเป๋าผ้าผลิตจากเส้นใยพลาสติกรีไซเคิล จากขวดพลาสติกที่รวบรวมโดยพนักงาน กลุ่ม ปตท. และออกแบบลวดลายโดยคุณหยาดทิพย์ ราชปาล ผู้ที่สใจสามารถติดต่อได้ที่ Email : info@worldvision.or.th หรือ Line : @worldvision-thai ระบุว่า "สั่งซื้อกระเป๋าจาก PTT Plastic Circular Economy"
แสดงความคิดเห็น