
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โร่แจงปมเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระบุ ไม่ได้เวนคืนพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางในรัศมีข้างละ 200 เมตร ย้ำจะเวนคืนเท่าที่จำเป็น วอนประชาชนอย่าตื่นตระหนก
จากกรณีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ เพื่อดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยพื้นที่ที่ถูกระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา คือ ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพฯ และ อ.บางพลี อ.มืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ [อ่านข่าว ประกาศเวนคืนที่ดิน ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) คลิก]
ทั้งนี้ หลังจากข่าวเรื่องเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองถูกแพร่ออกไป ก็ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเกิดความกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากพักอาศัยอยู่ในแนวเวนคืนตลอดแนวเส้นทางในรัศมีข้างละ 200 เมตร ตามที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
จากกรณีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินในพื้นที่กรุงเทพฯ-สมุทรปราการ เพื่อดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยพื้นที่ที่ถูกระบุไว้ในพระราชกฤษฎีกา คือ ในท้องที่เขตจตุจักร เขตห้วยขวาง เขตวังทองหลาง เขตบางกะปิ เขตสวนหลวง เขตประเวศ เขตบางนา กรุงเทพฯ และ อ.บางพลี อ.มืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ [อ่านข่าว ประกาศเวนคืนที่ดิน ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) คลิก]
ทั้งนี้ หลังจากข่าวเรื่องเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองถูกแพร่ออกไป ก็ทำให้ประชาชนจำนวนหนึ่งเกิดความกังวลว่าจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากพักอาศัยอยู่ในแนวเวนคืนตลอดแนวเส้นทางในรัศมีข้างละ 200 เมตร ตามที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ล่าสุด วันที่ 7 ตุลาคม 2558 การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เพื่อชี้แจงเรื่องการเวนคืนที่ดินสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ระบุว่า...
1. การเวนคืนจะดำเนินการเฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อการดำเนินงานเท่านั้น ไม่ได้เวนคืนพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางในรัศมีข้างละ 200 เมตร ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้พื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทางขึ้นลงสถานีทั้ง 23 แห่ง (ทั้ง 4 ขา) อาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงเท่านั้น ซึ่งพื้นที่เวนคืนเกือบทั้งหมดยังเป็นไปตามที่เคยจัดประชุมรับความคิดเห็น และให้ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ต้องเวนคืนแต่ละแห่ง จะมีการลงสำรวจของเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต่อไป ดังหมายเหตุแนบท้ายราชกิจจานุเบกษา
2. การประกาศพื้นที่เวนคืนในราชกิจานุเบกษาจะไม่กระทำเป็นรายแปลง แต่จะประกาศเป็นพื้นที่ในรัศมีของแนวเส้นทาง เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติจริงในพื้นที่ หลังจากประกาศจะมีการสำรวจพื้นที่จริงตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุของราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้
1. การเวนคืนจะดำเนินการเฉพาะส่วนที่จำเป็นต่อการดำเนินงานเท่านั้น ไม่ได้เวนคืนพื้นที่ตลอดแนวเส้นทางในรัศมีข้างละ 200 เมตร ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้พื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ทางขึ้นลงสถานีทั้ง 23 แห่ง (ทั้ง 4 ขา) อาคารจอดแล้วจร และศูนย์ซ่อมบำรุงเท่านั้น ซึ่งพื้นที่เวนคืนเกือบทั้งหมดยังเป็นไปตามที่เคยจัดประชุมรับความคิดเห็น และให้ข้อมูลกับประชาชนในพื้นที่
ทั้งนี้ ในพื้นที่ที่ต้องเวนคืนแต่ละแห่ง จะมีการลงสำรวจของเจ้าหน้าที่หรือผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต่อไป ดังหมายเหตุแนบท้ายราชกิจจานุเบกษา
2. การประกาศพื้นที่เวนคืนในราชกิจานุเบกษาจะไม่กระทำเป็นรายแปลง แต่จะประกาศเป็นพื้นที่ในรัศมีของแนวเส้นทาง เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติจริงในพื้นที่ หลังจากประกาศจะมีการสำรวจพื้นที่จริงตามที่ระบุไว้ในหมายเหตุของราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้


ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้ บีอีซี-เทโร, เฟซบุ๊ก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง