ผู้บริหาร แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ชี้แจง ดราม่าราวกั้นสเตนเลส ยืนยันปลอดภัย พร้อมให้ตรวจสอบทุกขั้นตอน เผย รูปแบบคล้ายที่ติดตั้งบนชานชาลารถไฟชินคันเซ็น ประเทศญี่ปุ่น
จากกรณีโลกออนไลน์เผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสส์บนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ถึงเรื่องความคุ้มค่าและปลอดภัยกับงบประมาณกว่า 13 ล้านบาท นั้น (อ่านข่าว : ชาวเน็ตแขวะ แผงกั้นแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ งบ 13 ล้าน ไหงเป็นราวสเตนเลสแบบนี้)
ล่าสุด (19 ตุลาคม 2561) Workpoint News รายงานว่า นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว ว่า ก่อนหน้านี้ รฟฟท. มีแผนจะติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน (Platform Screen Door : PSD) ใน 7 สถานี (ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ) งบประมาณ 200 ล้านบาท แต่ต้องยกเลิก เนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว
ประกอบกับมีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ที่จะได้ผู้ชนะการประมูลภายในสิ้นปีนี้ และรูปแบบสถานีของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะต้องเปลี่ยนไปรองรับโครงการดังกล่าว ซึ่งมีขนาดความกว้างของตัวรถไฟฟ้ามากกว่าด้วย
ดังนั้น ช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน รฟฟท. จึงปรับแผนใหม่เป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลส คล้ายรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในต่างประเทศ แต่ได้ปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานี ยืนยันตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาทั้ง 7 สถานี (ลาดกระบัง-พญาไท) จะเสร็จในเดือนปี 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก


ภาพจาก เฟซบุ๊ก AirportLink ที่รัก
จากกรณีโลกออนไลน์เผยแพร่ภาพการติดตั้งราวกั้นสเตนเลสส์บนชั้นชานชาลาของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ถึงเรื่องความคุ้มค่าและปลอดภัยกับงบประมาณกว่า 13 ล้านบาท นั้น (อ่านข่าว : ชาวเน็ตแขวะ แผงกั้นแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ งบ 13 ล้าน ไหงเป็นราวสเตนเลสแบบนี้)
ล่าสุด (19 ตุลาคม 2561) Workpoint News รายงานว่า นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (รฟฟท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ได้ออกมาชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าว ว่า ก่อนหน้านี้ รฟฟท. มีแผนจะติดตั้งระบบประตูกั้นชานชาลาแบบสูงครึ่งบาน (Platform Screen Door : PSD) ใน 7 สถานี (ยกเว้นสถานีสุวรรณภูมิ) งบประมาณ 200 ล้านบาท แต่ต้องยกเลิก เนื่องจากมีผู้ผ่านประมูลรายเดียว

ภาพจาก Workpoint News
ดังนั้น ช่วงระหว่างเปลี่ยนผ่านสู่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร และเป็นการประหยัดงบประมาณแผ่นดิน รฟฟท. จึงปรับแผนใหม่เป็นการติดตั้งราวกั้นชานชาลา หรือราวกั้นแบบราวสเตนเลส คล้ายรถไฟชินคันเซ็นของประเทศญี่ปุ่น และสถานีรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในต่างประเทศ แต่ได้ปรับปรุงรูปแบบให้เหมาะสมกับสถานี ยืนยันตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน โดยราวกั้นสเตนเลสบนชั้นชานชาลาทั้ง 7 สถานี (ลาดกระบัง-พญาไท) จะเสร็จในเดือนปี 2562
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
