x close

พูดคุยกับอธิบดี พช. ที่จะมาชวนเที่ยว "ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี"

             บทสนทนาข้างชาวบ้านของอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ถึงการชวนเที่ยวชุมชน OTOP นวัตวิถี ที่บอกเรื่องราวความสวยงามของธรรมชาติผ่านผู้คน สถานที่ และความเป็นตัวตนอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

             "เรามีนักท่องเที่ยวมากกว่า 35 ล้านคน รายได้มากกว่า 3 ล้านล้านบาท คำถามคือทุกวันนี้... ชุมชนชาวบ้านได้ประโยชน์อะไร" ท่านนิสิต จันทร์สมวงศ์อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ตั้งคำถามขึ้น ในฐานะอธิบดีกรมพัฒนาชุมชน แน่นอนว่าบทบาทหน้าที่สำคัญก็คือ การพัฒนาชุมชน แต่ในขณะที่ประเทศไทยมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยว แบ่งเป็นชาวต่างชาติมากกว่า 35 ล้านคน ส่วนคนไทยอยู่ที่ราว 60 ล้านคน ซึ่งกระจุกอยู่แหล่งท่องเที่ยวเมืองหลัก

             เราเห็นคนโพสต์รูปสถานที่สวยงามมากมายลงบนโซเชียลมีเดีย เราทะเลหมอกสีขาวที่ยากจะจับต้อง เราเห็นท้องทะเลสีฟ้ากลางอันดามัน การสร้างจิตภาพรูปแบบโรมานซ์ โดยลืมไปแล้วว่า ยังมีความสวยงามของชุมชนโดยรอบโอบล้อมเบื้องหลังภาพถ่ายเหล่านั้น

             ทั้งหมดนั้นกลายเป็นโจทย์ที่ตามมาก็คือ จะทำอย่างไรให้เกิดการกระจายรายได้ขยายการท่องเที่ยวไปสู่เมืองรอง สู่หมู่บ้าน สู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยในท้องถิ่นตำบลต่าง ๆ

             "คำตอบ คือ การท่องเที่ยวเชิง OTOP นวัตวิถี"

             บทเรียนจากอ่าวมาหยา สู่โจทย์สุดท้าทายแก้ปัญหากระจายรายได้ฐานราก ด้วยการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี วันนี้เรามีนัดพูดคุยกับหัวเรือใหญ่ของโครงการ OTOP นวัตวิถี

             วันนี้เรามีนัดพูดคุยกับหัวเรือใหญ่ของโครงการ OTOP นวัตวิถี ท่านนิสิต จันทร์สมวงศ์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนเพื่อบอกเล่าเรื่องราวของเหรียญที่สวยงาม แต่ยังไม่มีใครได้สัมผัส เมื่อเบื้องหลังธรรมชาติยอดนิยมยังมีวิถีชุมชนที่เต็มไปด้วยเรื่องเล่า วัฒนธรรม โดยเฉพาะความเป็นธรรมชาติที่ไม่เคยถูกถ่ายทอด

             ปัญหาที่ผ่านมาคืออะไร ?

             "เมืองไทยมีสิ่งที่สวยงามทั้งทางธรรมชาติ ทางวัฒนธรรม และอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่น (อยู่มาก) แต่ยังไม่มีใครรู้" ท่านอธิบดีบอกถึงปัญหาจากการท่องเที่ยวที่ผ่านมา จากการที่ทางรัฐบาลเจอ แน่นอนว่าที่ผ่านมาเรามักเห็นนักท่องเที่ยวแห่ไปที่อ่าวมาหยาหรือหาดป่าตอง การท่องเที่ยวอันแออัด เกินกว่ากำลังชุมชนและธรรมชาติจะรับไหว

ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

             ทางแก้ปัญหาจากการท่องเที่ยวจึงไม่ใช่การไล่นักท่องเที่ยวเสียทีเดียว แต่ต้องสร้างการรับรู้ให้พวกเขาเข้าใจ รู้จัก เราเรียกสถานที่เหล่านั้นกันว่า 'แอ่งเล็ก' ไม่ได้หมายถึงสถานที่เล็ก แต่เป็นสถานที่ที่ยังไม่ค่อยมีคนรู้จัก ส่วนสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมเราเรียก 'แอ่งใหญ่'

             ประเทศไทยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวน่ารักธรรมชาติอันสมบูรณ์ อย่างชุมชนท่องเที่ยวเขาผิงกันทางรัฐบาลก็อาศัยการท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้การท่องเที่ยวแอ่งใหญ่ มานำเสนอความงามและกระจายสถานที่ท่องเที่ยวแหล่งใหม่ให้คนได้รู้จักมากขึ้น

การท่องเที่ยวเชิง OTOP นวัตวิถี

             การท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยต้นทุนทางวัฒนธรรมและต้นทุนทางวิถีชีวิต?

             "แน่นอนว่า แหล่งท่องเที่ยวพวกนี้ยังไม่เคยถูกพบ บางพื้นที่มีธรรมชาติที่สวยงาม เช่น บ้านบ่อเจ็ดลูก บ้านตะโล๊ะใส จังหวัดสตูล บางพื้นที่มีอุทยานธรณีวิทยาโลก เช่น บ้านพระบาทห้วยต้ม บางพื้นที่มีสะพานข้ามการเวลา อย่างชาวเผ่าปกาเกอะญอ" หากหาข้อมูลเพิ่มเติมจะพบว่า เผ่า 'ปกาเกอะญอ' เป็นคนท้องถิ่นที่อยู่กับธรรมชาติกลางหุบเขาสลับซับซ้อนในสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ พวกซ่อนตัวอย่างสันโดษแต่เต็มไปด้วยจิตวิญญาณแห่งการรักษาป่าไม้ ทั้งหมดเป็นความงามทางวัฒนธรรมของไทยที่รอทุกคนไปเรียนรู้

             ชุมชนทั้งหมดมีความแตกต่างกันไปแล้วแต่ชุมชน นอกจากนี้บางชุมชนก็เป็นตลาด เช่น ชุมชนนวัตวิถีที่พุแค ตลาดหัวปลี เป็นตลาดแห่งการท่องเที่ยวค้าขาย "เห็นไหมว่า ชุมชนมีทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางเศษฐกิจ ทุนทางวิถีชีวิต นักท่องเที่ยวก็ได้วิถีการท่องเที่ยวแห่งใหม่"

ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

             เปลี่ยนจากคำว่าสินค้าชุมชน OTOP ธรรมดา มาเป็นการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี?

            ใช่ครับ เราพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนนวัตวิถี จากคำว่าสินค้าชุมชน OTOP ธรรมดา มาเป็นโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีโดยสินค้า OTOP เป็นตัวส่งเสริมให้การท่องเที่ยวชุมชนมีเสน่ห์มากขึ้น ซึ่งเป็นการกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำของคนในท้องถิ่นทำให้คนในชุมชนได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยว

            รัฐบาลพยายามขับเคลื่อนการท่องเที่ยวผ่านภูมิปัญญาวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ชุมชน เพื่อให้คนท้องถิ่นได้รับประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการค้าขาย ผลิตภัณฑ์ชุมชน การนอนพักโฮมสเตย์ การจำหน่ายอาหาร การแสดงทางวัฒนธรรมต่างๆ เป็นแพ็คเก็จทัวร์ครบวงจรในชุมชน โดยก่อนหน้านั้นจะมีการส่งเสริมให้คนในชุมชน มีความรู้ทักษะดูแลนักท่องเที่ยว ในการที่จะจัดการการชุมชนเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว พร้อมแผนการท่องเที่ยวมีข้อปฏิบัติจะพัฒนาชุมชนได้อย่างไร อีกทั้งยังสร้างความร่วมมือกับทั้งราชการและเอกชน ให้ความรู้ชุมชนที่ไม่เคยมีความรู้ในการท่องเที่ยวให้มีความรู้ในการรับมือได้ และทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมาแล้วสะดวกสบายและปลอดภัย

            "รัฐบาลจะช่วยตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำของแหล่งท่องเที่ยว วันนี้เราต้องเชื่อมโยงเป็นมิติการท่องเที่ยวพื้นที่ใหญ่ไปสู่การท่องเที่ยวพื้นที่เล็ก อย่างเช่น จังหวัดเชียงรายไปวัดร่องขุนแล้วก็ไปแวะดื่มกาแฟ ของหมู่บ้านชาวอาข่าที่ปลูกกันบนดอย เราต้องเชื่อมโยงกันแบบนี้ หรือแม้แต่ไปเที่ยวอุทยานทางธรณีวิทยาโลกก่อนลงเรือเราก็ไปแวะที่บ้านตะโล๊ะใส เป็นชุมชนที่ทำแบรนด์ปาลิโอ เป็นลายฟอสซิล สร้างการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวแอ่งเล็กไปแอ่งใหญ่หรือแอ่งใหญ่ไปแอ่งเล็ก" จะเชื่อมโยงได้นักท่องเที่ยวต้องรู้จัก

            กรมพัฒนาชุมชนจึงมานั่งคุยกับทุกคนอยู่ตรงนี้ มาประชาสัมพันธ์เผยความงามของชุมชนว่าแต่ละชุมชนทั้ง 3,273 แห่ง มีเสน่ห์อย่างไร โดยคนที่อยู่ในชุมชนต้องมีความสุขมากขึ้น

            โครงการ OTOP นวัตวิถีเชื่อมโยงภูมิปัญญา วิถีชุมชน

             ถูกขับเคลื่อนพัฒนาประเทศตามโครงการ "ไทยนิยม ยั่งยืน" จากการที่รัฐบาลปัจจุบัน มีนโยบายลดความเหลื่อมล้ำของสังคมที่มุ่งสร้างรายได้ และความเจริญความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง เพื่อสร้างรอยยิ้ม คืนความสุข เพื่อคนไทยทุกคนโดยให้ภาคเอกชนและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการร่วมกันภาครัฐ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๔


เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พูดคุยกับอธิบดี พช. ที่จะมาชวนเที่ยว "ชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี" อัปเดตล่าสุด 13 ธันวาคม 2561 เวลา 16:47:00 1,441 อ่าน
TOP