สรุปเหตุการณ์ ฮาคีม อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน ถูกรวบขณะมาเที่ยวไทยกับภรรยา ท่ามกลางเสียงค้านจากองค์กรสิทธิระดับโลก ก่อนถึงวันชี้ชะตาถูกส่งตัวกลับไปรับโทษที่บาห์เรนหรือไม่
ภาพจาก สปริงนิวส์
จากกรณี "นายฮาคีม" อดีตนักฟุตบอลทีมชาติบาห์เรน
ถูกกักตัวโดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองสุวรรณภูมิหลังเดินทางจากประเทศออสเตรเลียตาม
พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522
และเป็นการดำเนินการตอบสนองต่อการแจ้งหมายแดงจากสำนักงานกลางตำรวจสากลแห่งชาติออสเตรเลีย
(Interpol National Central Bureau)
และคำร้องขออย่างเป็นทางการจากรัฐบาลบาห์เรน เพื่อจับกุมและขอส่งผู้ร้ายข้ามแดน
เนื่องจากเป็นที่ต้องการของทางการบาห์เรนในฐานะผู้หลบหนีคำพิพากษาในคดีอาญาตามกฎหมายของบาห์เรน
โดยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 อัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา
ขอขังตัว "นายฮาคีม" ไว้ชั่วคราว เป็นเวลา 60 วัน
ระหว่างรอคำร้องขอให้ส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนจากบาห์เรน
ขณะที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรสิทธิต่าง ๆ ก็ออกมาเรียกร้องให้ประเทศไทยปล่อยตัว "นายฮาคีม" โดยด่วน เนื่องจากเจ้าตัวแค่เคยประท้วงเผด็จการบาห์เรนจนถูกรัฐบาลไล่ล่า จนถึงขั้นต้องหนีออกจากประเทศ และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากประเทศออสเตรเลีย จนเกิดเป็นกระแส #SaveHakeem ขึ้นในโลกออนไลน์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าว เวิร์คพอยท์ ได้รายงานลำดับเหตุการณ์ สรุปเรื่อง #SaveHakeem ตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่องสมัยยังเป็นนักเตะเยาวชนทีมชาติบาห์เรน ดังนี้
ภาพจาก เวิร์คพอยท์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก ทวิตเตอร์ Learner
ภาพจาก สปริงนิวส์
ขณะที่หลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรสิทธิต่าง ๆ ก็ออกมาเรียกร้องให้ประเทศไทยปล่อยตัว "นายฮาคีม" โดยด่วน เนื่องจากเจ้าตัวแค่เคยประท้วงเผด็จการบาห์เรนจนถูกรัฐบาลไล่ล่า จนถึงขั้นต้องหนีออกจากประเทศ และได้รับสถานะผู้ลี้ภัยจากประเทศออสเตรเลีย จนเกิดเป็นกระแส #SaveHakeem ขึ้นในโลกออนไลน์
เกี่ยวกับเรื่องนี้ (4 กุมภาพันธ์ 2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าว เวิร์คพอยท์ ได้รายงานลำดับเหตุการณ์ สรุปเรื่อง #SaveHakeem ตั้งแต่ก่อนเกิดเรื่องสมัยยังเป็นนักเตะเยาวชนทีมชาติบาห์เรน ดังนี้
- จากเหตุการณ์ อาหรับสปริง ที่ประเทศในแอฟริกาและตะวันออกกลาง มีความพยายามในการโค่นล้มรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ รวมไปถึงบาห์เรน ที่มีการเรียกร้องให้ พระราชาฮาหมัด สละราชสมบัติ และเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ แต่ผู้ชุมนุมกลับถูกรัฐบาลปราบปราม กดดันให้ตกงาน และมีบางคนถูกริบสัญชาติ
- นายฮาคิม อัล-อาไรบี นักฟุตบอลของบาห์เรน ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุม นายฮาคีมถูกตั้ง 4 ข้อหาคือ 1. ลอบวางเพลิง 2. ชุมนุมโดยผิดกฎหมาย 3. ครอบครองวัตถุไวไฟ 4. ทำให้รถยนต์ผู้อื่นเสียหาย ทว่า นายฮาคีมได้ปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่า ในขณะที่เกิดเหตุนั้น เขากำลังทำการแข่งขันฟุตบอลที่มีการถ่ายทอดสดไปทั่ว มีผู้ชมทางโทรทัศน์เห็น แล้วเขาจะไปก่อเหตุได้อย่างไร
- นายฮาคีมอ้างว่า ถูกเจ้าหน้าที่ทรมาน รัฐบาลต้องการเล่นงานเขา และกดดันให้เขารับสารภาพ เนื่องจากน้องชายเขาเป็นคนไปประท้วงรัฐบาลในช่วงอาหรับสปริง ไม่ใช่เขา และนายฮาคีมก็ยืนยันที่จะไม่รับผิด
- ในช่วงปี 2014 นายฮาคีมหนีออกจากบาห์เรนไปอยู่ออสเตรเลีย และศาลบาห์เรนได้มีการพิจารณา ลงโทษนายฮาคีมกว่า 10 ปี เมื่อไปถึงออสเตรเลีย นายฮาคีมได้เล่นฟุตบอลในดิวิชั่นรอง จนกระทั่งปี 2017 นายฮาคีมได้รับสถานะผู้ลี้ภัย และผู้พำนักระยะยาวในออสเตรเลีย
- นายฮาคีมมีแผนจะไปฮันนีมูนกับภรรยา เขาจึงไปขอวีซ่าไทย ในขณะเดียวกัน ทางการบาห์เรนทราบความเคลื่อนไหวของนายฮาคีม จึงส่งหมายแดงให้อินเตอร์โพล (องค์กรตำรวจระหว่างประเทศ) และเมื่อนายฮาคีมจะออกมาจากออสเตรเลียเพื่อมาไทย ก็เป็นทางการออสเตรเลียที่เป็นคนบอกทางการไทยว่า จะมีผู้ร้ายตามหมายแดงของอินเตอร์โพลเดินทางมา ให้เตรียมตัวเอาไว้
ภาพจาก เวิร์คพอยท
- เมื่อนายฮาคีมมาถึงเมืองไทย ทำให้เขาเองถูกจับกุมตัวตามหมายแดงของอินเตอร์โพลทันที ซึ่งตอนนั้น ทางการออสเตรเลียในฝ่ายผู้ลี้ภัย ได้เริ่มยื่นเรื่องแล้วว่า นายฮาคีมไม่ใช่ผู้ร้าย หากแต่เป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง การทำงานของอินเตอร์โพลมีข้อผิดพลาด จึงทำให้ทางอินเตอร์โพลยกเลิกหมายแดง ตอนนั้นมีเอกสารออกมาว่า ทางการไทยเตรียมปล่อยตัวนายฮาคีมกลับออสเตรเลียแล้ว แต่ไม่ทันกาล เพราะทางรัฐบาลบาห์เรนทราบความเคลื่อนไหวของนายฮาคีม ทราบว่านายฮาคีมถือพาสปอร์ตบาห์เรน และทำเรื่องให้ไทยส่งตัวนายฮาคีมกลับไปรับโทษที่บาห์เรน แม้จะไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ นายฮาคีม ปรากฏตัวในชุดนักโทษ และมีตรวนที่ข้อเท้า อันเป็นภาพที่สร้างความโกรธเคืองให้กับผู้ที่สนับสนุนเขาเป็นอย่างมาก แฮชแท็ก #SaveHakeem รวมไปถึง #BoycottThailand อีกด้วย อย่างไรก็ตาม นายฮาคีมได้เบิกความต่อศาลว่า ไม่อยากกลับไปบาห์เรน และกำหนดให้มีการส่งคำคัดค้านในวันที่ 5 เมษายน และศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 เมษายน เวลา 09.00 น.
- วันที่ 4 กุมภาพันธ์ นายฮาคีม ปรากฏตัวในชุดนักโทษ และมีตรวนที่ข้อเท้า อันเป็นภาพที่สร้างความโกรธเคืองให้กับผู้ที่สนับสนุนเขาเป็นอย่างมาก แฮชแท็ก #SaveHakeem รวมไปถึง #BoycottThailand อีกด้วย อย่างไรก็ตาม นายฮาคีมได้เบิกความต่อศาลว่า ไม่อยากกลับไปบาห์เรน และกำหนดให้มีการส่งคำคัดค้านในวันที่ 5 เมษายน และศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 เมษายน เวลา 09.00 น.
ภาพจาก เวิร์คพอยท์