อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผย กระเบนนก สัตว์ทะเลหายากเทียบเท่าเต่ามะเฟือง ต้องตายฟรี เหตุเพราะกฎหมายไทยยังไม่คุ้มครอง ข้องใจ MasterChef หามาจากไหน เพราะส่วนใหญ่พบได้ในพื้นที่คุ้มครอง พร้อมวิงวอนประชาชนไม่ควรทำตาม ล่าสัตว์ใกล้สูญพันธุ์มารับประทาน
จากกรณี ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นหลังจากที่รายการ MasterChef Thailand ใช้ปลากระเบนนก สัตว์หายากของทะเลไทย ที่นักอนุรักษ์กำลังผลักดันให้เป็นสัตว์คุ้มครอง มาทำอาหาร พร้อมแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะนำสัตว์หายากมาใช้ถ่ายทำเพียงเพราะว่าไม่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเวลานี้ที่ผู้คนเริ่มตื่นตัวในการอนุรักษ์ทะเล ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น (อ่านข่าว : ดร.ธรณ์ ไม่เห็นด้วย MasterChef ใช้ปลากระเบนเป็นวัตถุดิบ ขอให้รักทะเลไทยบ้าง)
ล่าสุด (4 มีนาคม 2562) ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบันการนำกระเบนนกมาทำอาหาร ไม่สามารถเอาผิดในแง่กฎหมายได้ เพราะแม้ว่ากระเบนนก จะเป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ของโลก แต่ในไทยยังไม่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์คุ้มครอง พร้อมยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบความรู้สึกของคนที่ดู และอาจเสียภาพลักษณ์ประเทศไทย นอกจากนี้อาจเกิดการเลียนแบบและมีการล่ากระเบน หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะถูกนำเสนอว่าบริโภคแล้วอร่อย
ทั้งนี้ อยากเตือนว่า หากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการล่าสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์มารับประทาน เพราะขณะนี้มีสัตว์ทะเลหลายชนิดที่มีผู้นิยมบริโภค และมีการรณรงค์ให้ยกเลิกค่านิยมผิด ๆ เช่นการกินหูฉลาม จึงอยากขอความร่วมมือประชาชน รวมทั้งผู้ทำรายการประเภทอาหาร ไม่ควรนำสัตว์ป่าหรือสัตว์หายากมาทำแบบนี้ เพราะสัตว์จะถูกรุกรานมากขึ้นจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และหากเป็นไปได้อยากให้ทางรายการออกมาชี้แจงที่มาของกระเบนนกว่ามาจากที่ไหน เพราะท้องทะเลไทย กระเบนนก จะพบได้ในพื้นคุ้มครอง และไม่พบเจอตัวได้ง่าย ๆ
ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กระเบนนก เป็นชื่อเรียกของกระเบนในกลุ่มนี้ ชนิดที่ปรากฏในภาพ บางคนบอกว่าเป็น A. ocellatus พบในน่านน้ำไทยและรอบด้าน บางคนบอกว่าเป็น A.narinari พบเฉพาะในแอตแลนติก แต่ชนิดหลังนี้ กรมประมงห้ามนำเข้า ซึ่งส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะไม่ว่าชนิดไหนก็ถูกจัดอยู่ในบัญชีแดง (Red List) ที่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) ขึ้นสถานะ VU คือ มีความเสี่ยงมากที่จะสูญพันธุ์ และทั้ง 2 ชนิดจัดอยู่ในสัตว์ที่มีปริมาณลดน้อยลง นักดำน้ำไม่ค่อยเจอตัวได้ง่าย ๆ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเอามาจากที่ไหน การนำสัตว์ที่มีสถานะการอนุรักษ์ใน Red List มาใช้เพื่อทำอาหารโชว์ในรายการก็ถือว่าไม่เหมาะสมในสายตาของประชาคมโลก ที่ต้องการอนุรักษ์สัตว์สายพันธุ์นี้ให้อยู่รอด ซึ่งน่าเสียดายว่ากฎหมายไทยยังไม่มีการคุ้มครองกระเบนนก พร้อมอยากถามว่าต้องรอให้สัตว์สูญพันธุ์ก่อนหรือไม่ถึงจะมีการออกกฎหมายคุ้มครอง เหมือนกับปลาฉนากของไทย เพิ่งมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ในท้องทะเลหาไม่เจอแล้ว
ขณะเดียวกัน ในโลกโซเชียลได้หยิบกรณีของกระเบนนก มาพูดคุยในวงกว้าง เพจเฟซบุ๊ก siamensis.org ก็มีสมาชิกจำนวนมาก เข้ามาแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ว่า ปลากระเบนก็ไม่ต่างอะไรจากปลาฉลามที่มีการให้ลูกจำนวนน้อยมาก ยิ่งในกลุ่มฉลามกับกระเบนแล้ว บางสายพันธุ์ออกลูกและไข่ปีละแค่ 10 ตัว หรือไข่ปีละ 1 ถึง 3 ฟองเท่านั้น แต่เราเองจับมาเอาครีบมาทำอาหารปีละหลายแสนหลายล้านตัว ดังนั้น ปลาฉลามกับกระเบนเอง จึงลดลงมาก และไม่สามารถฟื้นได้ง่าย ๆ พร้อมเรียกร้องให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ ไม่จับมารับประทานเพราะเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
จากกรณี ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์แสดงความคิดเห็นหลังจากที่รายการ MasterChef Thailand ใช้ปลากระเบนนก สัตว์หายากของทะเลไทย ที่นักอนุรักษ์กำลังผลักดันให้เป็นสัตว์คุ้มครอง มาทำอาหาร พร้อมแสดงความไม่เห็นด้วยที่จะนำสัตว์หายากมาใช้ถ่ายทำเพียงเพราะว่าไม่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยเวลานี้ที่ผู้คนเริ่มตื่นตัวในการอนุรักษ์ทะเล ตามที่ได้มีการนำเสนอข่าวไปแล้วนั้น (อ่านข่าว : ดร.ธรณ์ ไม่เห็นด้วย MasterChef ใช้ปลากระเบนเป็นวัตถุดิบ ขอให้รักทะเลไทยบ้าง)
ล่าสุด (4 มีนาคม 2562) ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) เปิดเผยถึงกรณีดังกล่าวว่า ปัจจุบันการนำกระเบนนกมาทำอาหาร ไม่สามารถเอาผิดในแง่กฎหมายได้ เพราะแม้ว่ากระเบนนก จะเป็นสัตว์ทะเลหายากใกล้สูญพันธุ์ของโลก แต่ในไทยยังไม่ได้รับการประกาศเป็นสัตว์คุ้มครอง พร้อมยอมรับว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบความรู้สึกของคนที่ดู และอาจเสียภาพลักษณ์ประเทศไทย นอกจากนี้อาจเกิดการเลียนแบบและมีการล่ากระเบน หรือสัตว์ชนิดอื่น ๆ เพราะถูกนำเสนอว่าบริโภคแล้วอร่อย
ทั้งนี้ อยากเตือนว่า หากเป็นไปได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการล่าสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์มารับประทาน เพราะขณะนี้มีสัตว์ทะเลหลายชนิดที่มีผู้นิยมบริโภค และมีการรณรงค์ให้ยกเลิกค่านิยมผิด ๆ เช่นการกินหูฉลาม จึงอยากขอความร่วมมือประชาชน รวมทั้งผู้ทำรายการประเภทอาหาร ไม่ควรนำสัตว์ป่าหรือสัตว์หายากมาทำแบบนี้ เพราะสัตว์จะถูกรุกรานมากขึ้นจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และหากเป็นไปได้อยากให้ทางรายการออกมาชี้แจงที่มาของกระเบนนกว่ามาจากที่ไหน เพราะท้องทะเลไทย กระเบนนก จะพบได้ในพื้นคุ้มครอง และไม่พบเจอตัวได้ง่าย ๆ
ด้าน ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า กระเบนนก เป็นชื่อเรียกของกระเบนในกลุ่มนี้ ชนิดที่ปรากฏในภาพ บางคนบอกว่าเป็น A. ocellatus พบในน่านน้ำไทยและรอบด้าน บางคนบอกว่าเป็น A.narinari พบเฉพาะในแอตแลนติก แต่ชนิดหลังนี้ กรมประมงห้ามนำเข้า ซึ่งส่วนตัวไม่คิดว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะไม่ว่าชนิดไหนก็ถูกจัดอยู่ในบัญชีแดง (Red List) ที่องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ไอยูซีเอ็น) ขึ้นสถานะ VU คือ มีความเสี่ยงมากที่จะสูญพันธุ์ และทั้ง 2 ชนิดจัดอยู่ในสัตว์ที่มีปริมาณลดน้อยลง นักดำน้ำไม่ค่อยเจอตัวได้ง่าย ๆ
ดังนั้น ไม่ว่าจะเอามาจากที่ไหน การนำสัตว์ที่มีสถานะการอนุรักษ์ใน Red List มาใช้เพื่อทำอาหารโชว์ในรายการก็ถือว่าไม่เหมาะสมในสายตาของประชาคมโลก ที่ต้องการอนุรักษ์สัตว์สายพันธุ์นี้ให้อยู่รอด ซึ่งน่าเสียดายว่ากฎหมายไทยยังไม่มีการคุ้มครองกระเบนนก พร้อมอยากถามว่าต้องรอให้สัตว์สูญพันธุ์ก่อนหรือไม่ถึงจะมีการออกกฎหมายคุ้มครอง เหมือนกับปลาฉนากของไทย เพิ่งมีกฎหมายคุ้มครอง แต่ในท้องทะเลหาไม่เจอแล้ว
ขณะเดียวกัน ในโลกโซเชียลได้หยิบกรณีของกระเบนนก มาพูดคุยในวงกว้าง เพจเฟซบุ๊ก siamensis.org ก็มีสมาชิกจำนวนมาก เข้ามาแสดงความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ว่า ปลากระเบนก็ไม่ต่างอะไรจากปลาฉลามที่มีการให้ลูกจำนวนน้อยมาก ยิ่งในกลุ่มฉลามกับกระเบนแล้ว บางสายพันธุ์ออกลูกและไข่ปีละแค่ 10 ตัว หรือไข่ปีละ 1 ถึง 3 ฟองเท่านั้น แต่เราเองจับมาเอาครีบมาทำอาหารปีละหลายแสนหลายล้านตัว ดังนั้น ปลาฉลามกับกระเบนเอง จึงลดลงมาก และไม่สามารถฟื้นได้ง่าย ๆ พร้อมเรียกร้องให้คนไทยช่วยกันอนุรักษ์ ไม่จับมารับประทานเพราะเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก