พล.ต.อ. ศรีวราห์ เผยพบมีการทำผิดกฎหมายเลือกตั้งแล้วกว่า 20 คดี ยันหลังปิดหีบห้ามมีการชุมนุมเด็ดขาด ชี้ผิด พ.ร.บ.การชุมนุมฯ - เตรียมที่รองรับจุได้ 1,000 คน หากพบมีการฝ่าฝืน

ภาพจาก สำนักข่าว INN
คืบหน้าเลือกตั้ง 2562 วันนี้ (24 มีนาคม 2562) มีรายงานว่า พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบภาพรวมการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง พบมีการกระทำผิดแล้วกว่า 20 คดี อาทิ มีการฉีกบัตรลงคะแนน 7 คดี แต่ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุเป็นคนมีอาการทางจิต มึนเมาสุรา และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งไม่มีเจตนาทำลายการเลือกตั้ง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.อุบลราชธานี และมีกรณีตำรวจวางตัวไม่เป็นกลางที่ จ.นครราชสีมา แต่เป็นการร้องเรียนโดยอาศัยสถานการณ์ทางการเมืองร้องเรียนตำรวจด้วยกันเอง ตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง
ในส่วนของการถ่ายภาพเซลฟี่กับบัตรลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งและโพสต์ลงในโซเชียล รวมถึงการโพสต์ติดแฮชแท็กในลักษณะหมิ่นเหม่ เบื้องต้นยังไม่พบการกระทำผิด เช่นเดียวกับการพนันทายผลการเลือกตั้งออนไลน์ ก็ยังไม่พบเช่นกัน
ด้านเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ใช้กำลังตำรวจกว่า 30,000 นาย และได้เตรียมชุดหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์ยังปกติ
ทั้งนี้ ยืนยันว่าหลังการปิดลงคะแนนแล้ว หากมีประชาชนที่ไม่พอใจผลการเลือกตั้งออกมาชุมนุม
ตำรวจจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด
โดยได้เตรียมสถานที่และพื้นที่คุมขังสำหรับผู้ที่ทำผิดรองรับได้ไม่ต่ำกว่า
1,000 คน พร้อมย้ำว่า หากประชาชนออกมารวมตัวกันเพื่อให้กำลังใจ สามารถทำได้
แต่หากมีการประท้วงคัดค้าน จะมีความผิดเข้าข่ายตามความผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN

ภาพจาก สำนักข่าว INN
คืบหน้าเลือกตั้ง 2562 วันนี้ (24 มีนาคม 2562) มีรายงานว่า พล.ต.อ. ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะประธานศูนย์อำนวยการรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยการจัดการเลือกตั้ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบภาพรวมการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง พบมีการกระทำผิดแล้วกว่า 20 คดี อาทิ มีการฉีกบัตรลงคะแนน 7 คดี แต่ส่วนใหญ่ผู้ก่อเหตุเป็นคนมีอาการทางจิต มึนเมาสุรา และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งไม่มีเจตนาทำลายการเลือกตั้ง มีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงในพื้นที่ จ.สงขลา และ จ.อุบลราชธานี และมีกรณีตำรวจวางตัวไม่เป็นกลางที่ จ.นครราชสีมา แต่เป็นการร้องเรียนโดยอาศัยสถานการณ์ทางการเมืองร้องเรียนตำรวจด้วยกันเอง ตอนนี้อยู่ระหว่างการสอบสวนข้อเท็จจริง
ในส่วนของการถ่ายภาพเซลฟี่กับบัตรลงคะแนนในคูหาเลือกตั้งและโพสต์ลงในโซเชียล รวมถึงการโพสต์ติดแฮชแท็กในลักษณะหมิ่นเหม่ เบื้องต้นยังไม่พบการกระทำผิด เช่นเดียวกับการพนันทายผลการเลือกตั้งออนไลน์ ก็ยังไม่พบเช่นกัน
ด้านเหตุการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้ใช้กำลังตำรวจกว่า 30,000 นาย และได้เตรียมชุดหน่วยเคลื่อนที่เร็วเพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลความปลอดภัยหากเกิดกรณีฉุกเฉิน ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์ยังปกติ
ข้อมูลจาก สำนักข่าว INN