ญี่ปุ่น ผ่านกฎหมายจ่ายเงินชดเชยแก่เหยื่อถูกบังคับทำหมัน สร้างความทุกข์ทรมานแก่เหยื่อกว่า 25,000 ราย พรากโอกาสให้กำเนิดลูก เพราะกลัวจะคลอดเด็กที่ด้อยคุณภาพ
ภายใต้กฎหมายใหม่ ผู้ที่ต้องทำหมันในช่วงเวลาดังกล่าว และยังมีชีวิตอยู่จนถึงขณะนี้ จะมีสิทธิ์เรียกร้องเงินชดเชยจากรัฐได้คนละ 3.2 ล้านเยน (ราว 9.1 แสนบาท) ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ โดยเชื่อว่ามีประชาชนอย่างน้อย 25,000 คน ที่เข้ารับการทำหมันในช่วงเวลาดังกล่าว ในจำนวนนี้มีไม่น้อยกว่า 16,500 คน ที่ต้องทำหมันทั้งที่ไม่ได้ยินยอม
ด้านนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ได้กล่าวขอโทษประชาชนสำหรับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับ โดยระบุว่า ในช่วงเวลาที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ประชาชนจำนวนมากถูกบังคับให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อไม่ให้มีบุตรได้ เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มีภาวะความพิการหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเหตุให้พวกเขาได้รับความทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง ในฐานะรัฐบาล เราต้องขออภัยพวกเขาเหล่านั้นจากก้นบึ้งหัวใจ
สำหรับกฎหมายปกป้องพันธุกรรมของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ในปี 2491เป็นกฎหมายที่ถูกออกมาขณะที่ญี่ปุ่นพยายามฟื้นฟูประเทศขึ้นใหม่ ภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลซึ่งถูกวินิจฉัยว่ามีความพิการด้านร่างกายหรือสติปัญญา มีปัญหาด้านพฤติกรรม มีอาการป่วยทางจิต ตลอดจนเป็นโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเรื้อน จะต้องเข้ารับการทำหมัน เพื่อป้องกันการให้กำเนิดทายาทที่ด้อยคุณภาพ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อจากกฎหมายดังกล่าวราว 20 คน ที่อยู่ระหว่างยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาล ซึ่งจะมีการพิจารณาคดีครั้งแรกในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่หญิงไม่เผยชื่อคนหนึ่ง เผยว่าเธอถูกบังคับให้ทำหมันในปี 2515 ขณะมีอายุเพียงแค่ 15 ปีเท่านั้น หลังถูกวินิจฉัยว่ามีปัญหาทางสติปัญญาจากพันธุกรรม ซึ่งทำให้เธอต้องพบกับคืนวันที่เจ็บปวดอย่างยิ่ง
ภาพจาก LUDOVIC MARIN / AFP
วันที่ 24 เมษายน 2562 สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า ญี่ปุ่นอนุมัติผ่านกฎหมายเพื่อให้รัฐจ่ายเงินชดเชยแก่ประชาชนนับหมื่น ที่ตกเป็นเหยื่อถูกบังคับให้ทำหมัน ภายใต้กฎหมายปกป้องพันธุกรรมของญี่ปุ่น ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2491-2539 โดยพบว่าประชาชนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดทำหมันในช่วงเวลานั้น ส่วนมากยังอยู่ในวัยเด็กหรือเป็นเพียงวัยรุ่นเท่านั้น ภายใต้กฎหมายใหม่ ผู้ที่ต้องทำหมันในช่วงเวลาดังกล่าว และยังมีชีวิตอยู่จนถึงขณะนี้ จะมีสิทธิ์เรียกร้องเงินชดเชยจากรัฐได้คนละ 3.2 ล้านเยน (ราว 9.1 แสนบาท) ภายในระยะเวลา 5 ปีนับจากนี้ โดยเชื่อว่ามีประชาชนอย่างน้อย 25,000 คน ที่เข้ารับการทำหมันในช่วงเวลาดังกล่าว ในจำนวนนี้มีไม่น้อยกว่า 16,500 คน ที่ต้องทำหมันทั้งที่ไม่ได้ยินยอม
ด้านนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ได้กล่าวขอโทษประชาชนสำหรับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสที่พวกเขาเหล่านั้นได้รับ โดยระบุว่า ในช่วงเวลาที่กฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ ประชาชนจำนวนมากถูกบังคับให้เข้ารับการผ่าตัดเพื่อไม่ให้มีบุตรได้ เนื่องจากพวกเขาเหล่านี้มีภาวะความพิการหรือโรคเรื้อรังอื่น ๆ เป็นเหตุให้พวกเขาได้รับความทุกข์ทรมานอย่างยิ่ง ในฐานะรัฐบาล เราต้องขออภัยพวกเขาเหล่านั้นจากก้นบึ้งหัวใจ
สำหรับกฎหมายปกป้องพันธุกรรมของญี่ปุ่น มีผลบังคับใช้ในปี 2491เป็นกฎหมายที่ถูกออกมาขณะที่ญี่ปุ่นพยายามฟื้นฟูประเทศขึ้นใหม่ ภายหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 บุคคลซึ่งถูกวินิจฉัยว่ามีความพิการด้านร่างกายหรือสติปัญญา มีปัญหาด้านพฤติกรรม มีอาการป่วยทางจิต ตลอดจนเป็นโรคเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคเรื้อน จะต้องเข้ารับการทำหมัน เพื่อป้องกันการให้กำเนิดทายาทที่ด้อยคุณภาพ
ทั้งนี้ ปัจจุบันมีผู้ตกเป็นเหยื่อจากกฎหมายดังกล่าวราว 20 คน ที่อยู่ระหว่างยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐบาล ซึ่งจะมีการพิจารณาคดีครั้งแรกในปลายเดือนพฤษภาคมนี้ ขณะที่หญิงไม่เผยชื่อคนหนึ่ง เผยว่าเธอถูกบังคับให้ทำหมันในปี 2515 ขณะมีอายุเพียงแค่ 15 ปีเท่านั้น หลังถูกวินิจฉัยว่ามีปัญหาทางสติปัญญาจากพันธุกรรม ซึ่งทำให้เธอต้องพบกับคืนวันที่เจ็บปวดอย่างยิ่ง