x close

กรุงเทพฯ สดใส ปลอดภัยมากขึ้นเมื่อสายไฟลงใต้ดิน แล้วเสาไฟฟ้าที่ถอนออกไปล่ะ เอาไปทำอะไร ?

โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          หากช่วงนี้เดินทางไปไหนมาไหนในกรุงเทพฯ แล้วรู้สึกว่าวิวทิวทัศน์รอบตัวดูสวยงามมากขึ้น ก็ไม่ต้องแปลกใจ เพราะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินที่ดำเนินการโดยการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน. เพื่อเตรียมการแปลงโฉมระบบไฟฟ้าเมืองกรุงสู่มหานครแห่งโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid)
 

         หลังจากที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2527 ปัจจุบัน กฟน. ก็สามารถเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินบนถนนทั่วเมืองกรุง เสร็จสิ้นไปแล้วหลายสาย ทั้งถนนสีลม ถนนพญาไท ถนนพระราม 1 ถนนพระราม 4 ถนนเพลินจิต ถนนราชดำริ ถนนพระราม 6 ถนนศรีอยุธยา ถนนราชวิถี ถนนสวรรคโลก ถนนสุโขทัย ถนนพิชัย ถนนอู่ทองใน ถนนราชดำเนินนอก ถนนพิษณุโลก ถนนนครสวรรค์ ถนนพหลโยธิน ถนนประดิพัทธ์ ถนนโยธี ถนนเพชรบุรี ถนนสุขุมวิท และถนนราชปรารภ
 

         แม้ระหว่างการก่อสร้างจะมีอุปสรรคหลาย ๆ ด้าน ไม่ว่าจะกระบวนการที่ซับซ้อน การจำกัดเวลาในการทำงานเฉพาะช่วงกลางวัน เพื่อไม่ให้กระทบกับการจราจรในตอนกลางคืน แต่ กฟน. ก็สานต่อจนสำเร็จและได้รับการตอบรับอย่างดีจากประชาชน เพราะนอกจากจะทำให้เกิดวิวทิวทัศน์ที่สวยงามแล้ว การเปลี่ยนระบบสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดินในครั้งนี้ ยังทำให้คนที่ใช้รถใช้ถนนรู้สึกมีความปลอดภัยมากขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าจะเกิดอุบัติเหตุจากไฟรั่วหรือไฟช็อตในช่วงฝนฟ้าคะนองแบบนี้ด้วย และนี่คือเสียงสะท้อนจากคนกรุงในวันที่เมืองหลวงถูกแปลงโฉมสู่มหานครแห่งโครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Metro Grid) ณ โครงการพหลโยธิน และโครงการสุขุมวิท ค่ะ
 

         จากความเห็นของประชาชนผู้สัญจรบนถนนพหลโยธิน ไม่ว่าจะเป็นผู้คนบนทางเท้าที่เดินไป-มา แม่ค้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ ต่างก็ยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า การเปลี่ยนเป็นระบบสายไฟฟ้าใต้ดินเป็นโครงการที่ดี นอกจากจะช่วยปรับภูมิทัศน์ให้ดูดีสะอาดตาสมกับเป็นเมืองหลวงที่มีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทุกคนรู้สึกเหมือนกันก็คือ ไม่ต้องหวาดระแวงอันตรายที่อาจจะเกิดจากสายไฟชำรุด หรือมีสายไฟฟ้าเกะกะกีดขวางการจราจรขณะเดินทางอีกต่อไป
 

โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          "หากยังใช้ระบบเดิมก็อาจจะมีสายไฟฟ้าชำรุดหล่นลงมา ทำให้ทัศนวิสัยไม่ดี แต่หลังจากที่ใช้ระบบไฟฟ้าใต้ดินก็ทำให้วิวทิวทัศน์สวยงามมากขึ้น"
 
โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          "รู้สึกชอบระบบนี้และเข้าใจว่าการพัฒนาต้องใช้เวลา เพราะทำให้บ้านเมืองสวยงามและส่งผลดีกับการท่องเที่ยวของไทยด้วย"
 
          ในขณะที่ผู้คนสองข้างทางทั้งนักเรียนและคนทำงาน ต่างก็ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การเปลี่ยนระบบในครั้งนี้ ช่วยยกระดับภาพลักษณ์ของถนนสุขุมวิทให้สวยงาม ไม่มีสายไฟฟ้าระโยงระยางเต็มสองข้างทางเหมือนก่อนหน้า แถมยังทำให้มีวิสัยทัศน์ในการมองดีขึ้น มองเห็นวิวทัศน์ได้กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ผู้คน และอาคารต่าง ๆ อีกทั้งยังทำให้รู้สึกว่าสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยมากกว่าที่เคยเป็นมาด้วย
 
โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          "ช่วงที่ยังใช้สายไฟฟ้าอากาศ ทำให้ขาดวิสัยทัศน์ในการมองเห็น และเสี่ยงอันตรายจากสายไฟฟ้า แต่หลังจากนำสายไฟฟ้าลงดินวิสัยทัศน์ในการมองเห็นของคนเดินทางเท้า และภาพลักษณ์ของถนนก็ดูดีขึ้น และลดอันตรายที่เกิดจากสายไฟฟ้า"
 
โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          "เมืองน่าอยู่มากขึ้น ดูดีขึ้น เข้าใจว่าการลงทุนค่อนข้างสูง แต่คิดว่าคุ้มค่ากับการลงทุน เพราะไม่ได้ทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้นเท่านั้น แต่ยังทำให้ภาพลักษณ์ประเทศไทยไทยดูดีในสายตาของต่างชาติ สมกับเป็นเมืองท่องเที่ยวอีกด้วย"
 
          จากความสำเร็จดังกล่าว กฟน. ก็ไม่หยุดที่จะพัฒนา พร้อมต่อยอดการแปลงโฉมเมืองในครั้งนี้ ด้วยโครงการ Smart Metro Poles for Thailand’s Coast Protection โดยการส่งมอบเสาไฟฟ้าที่ถูกรื้อถอนให้กับกรุงเทพมหานครและกองทัพเรือจำนวน 15,000 ต้น เพื่อนำไปใช้สร้างแนวกั้นชายฝั่งป้องกันคลื่นทะเลกัดเซาะ ณ ริมชายฝั่งทะเล เขตบางขุนเทียน และชายฝั่งทะเลบริเวณป้อมพระจุลจอมเกล้า จังหวัดสมุทรปราการ
 
โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

          คุณสมบัติเสาไฟฟ้าของ กฟน. มีลักษณะเป็นแท่งคอนกรีต ที่เหมาะสมแข็งแรง ใช้งานได้นานกว่า 30 ปี และมีอายุการใช้งานมากกว่าเสาไม้ทั่วไปกว่า 30 เท่า อีกทั้งยังมีความยืดหยุ่นจากโครงสร้างลวดเหล็กภายในเสาไฟฟ้า ทำให้สามารถรับแรงดัดได้มากถึง 3.5 นิวตันเมตร หรือหักโค้งได้ประมาณ 7-8 เซนติเมตร สามารถลดความแรงของกระแสน้ำได้ดี พร้อมทั้งทำให้มีปริมาณการสะสมของตะกอนหลังเขื่อน ส่งผลให้มีต้นกล้าและลูกไม้ที่อยู่หลังแนวป้องกันมีปริมาณหนาแน่นขึ้น มีการกลับมาอาศัยของสัตว์น้ำนานาพันธุ์และนกนานาชนิด ช่วยฟื้นฟูธรรมชาติให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกด้วย

          จากความคิดสร้างสรรค์และวิสัยทัศน์ที่ดี โครงการ Smart Metro Poles for Thailand’s Coast Protection นอกจากจะเป็นโครงการที่มีประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมและใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าแล้ว ยังทำให้ กฟน. ได้รับรางวัล Asia Responsible Entrepreneurship Awards 2018 สาขา Green Leadership ในสาขา Green Leadership ณ Manila Marriott Hotel กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ และเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลในครั้งนั้นด้วย
 

          การเปลี่ยนระบบจากสายไฟฟ้าอากาศเป็นสายไฟฟ้าใต้ดิน ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่สร้างสรรค์โดย กฟน. ซึ่งนอกจากจะทำให้ถนนหนทางในกรุงเทพฯ ดูดี สะอาดตา มีวิวทิวทัศน์สวยงามสมกับเป็นเมืองการท่องเที่ยวแล้ว การต่อยอดโครงการด้วยการนำเสาไฟฟ้าเหลือใช้สร้างแนวกั้นชายฝั่งป้องกันคลื่นทะเลเซาะ ก็ยังช่วยฟื้นฟูธรรมชาติของไทยให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้งหนึ่งด้วย
 

โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

โครงข่ายระบบไฟฟ้าอัจฉริยะ  Smart Metro Grid

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
กรุงเทพฯ สดใส ปลอดภัยมากขึ้นเมื่อสายไฟลงใต้ดิน แล้วเสาไฟฟ้าที่ถอนออกไปล่ะ เอาไปทำอะไร ? อัปเดตล่าสุด 19 กรกฎาคม 2562 เวลา 14:35:49 17,439 อ่าน
TOP