1. The Great Conjunction 2020
2. จันทรุปราคาเงามัว และสุริยุปราคาบางส่วนเหนือฟ้าเมืองไทย
อุปราคาในปี 2563 ที่สามารถสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยมี 4 ครั้ง ได้แก่
• จันทรุปราคาเงามัว วันที่ 11 มกราคม / 6 มิถุนายน / 30 พฤศจิกายน 2563
จันทรุปราคาแบบเงามัว เกิดจากดวงจันทร์โคจรเข้าไปในเงามัวของโลกบางส่วน ไม่ได้ผ่านเข้าไปในบริเวณเงามืดของโลก ดวงจันทร์จึงไม่เว้าแหว่ง ยังคงเห็นเป็นดวงจันทร์เต็มดวงแต่ความสว่างลดลง
• สุริยุปราคาบางส่วน วันที่ 21 มิถุนายน 2563
3. ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้-ไกลโลกที่สุดในรอบปี
- ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี หรือ Super Full Moon ที่ระยะห่าง 357,022 กิโลเมตร (วันที่ 8 เมษายน 2563) คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
- ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปี หรือ Micro Full Moon ที่ระยะห่าง 406,153 กิโลเมตร (วันที่ 31 ตุลาคม 2563) คืนดังกล่าวจะสังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดปรากฏเล็กกว่าปกติเล็กน้อย
4. ดาวเคราะห์ใกล้โลก
- ดาวพฤหัสบดีใกล้โลก (วันที่ 14 กรกฎาคม 2563) ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดี เรียงอยู่ในแนวเดียวกันมีโลกอยู่ตรงกลาง ส่งผลให้ดาวพฤหัสบดีอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างประมาณ 619 ล้านกิโลเมตร ปรากฏเด่นชัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
- ดาวเสาร์ใกล้โลก (วันที่ 21 กรกฎาคม 2563) ดวงอาทิตย์ โลก และดาวเสาร์ เรียงอยู่ในแนวเดียวกันมีโลกอยู่ตรงกลางส่งผลให้ดาวเสาร์อยู่ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างประมาณ 1,346 ล้านกิโลเมตร ปรากฏเด่นชัดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หลังจากดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า
- ดาวอังคารใกล้โลก (วันที่ 6-14 ตุลาคม 2563) โดยวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างประมาณ 62.07 ล้านกิโลเมตร หลังจากนั้นในวันที่ 14 ตุลาคม 2563 จะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (ดวงอาทิตย์ โลก และดาวอังคาร เรียงอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง) ห่างจากโลกประมาณ 62.70 ล้านกิโลเมตร ช่วงเวลาดังกล่าวดาวอังคารจะส่องสว่างสุกใส เปล่งประกายสีส้มแดงโดดเด่นบนท้องฟ้าทางทิศตะวันออก
5. ฝนดาวตก
- ฝนดาวตกควอดรานติดส์ วันที่ 3-4 มกราคม (เฉลี่ย 120 ดวงต่อชั่วโมง)
- ฝนดาวตกลีโอนิดส์ วันที่ 17-18 พฤศจิกายน (เฉลี่ย 15 ดวงต่อชั่วโมง)
- ฝนดาวตกเจมินิดส์ วันที่ 13-14 ธันวาคม (เฉลี่ย 150 ดวงต่อชั่วโมง)
6. NASA ส่งยาน MARS 2020 มุ่งสู่ดาวอังคาร
7. อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร แหล่งเรียนรู้ดาราศาสตร์ครบวงจรแห่งใหม่ของไทย
อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เป็นศูนย์ความเป็นเลิศด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและพัฒนาทางดาราศาสตร์ของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมศิลปวิทยาการ เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เป็นแหล่งค้นคว้า ศึกษาวิจัย บ่มเพาะและสร้างนักวิจัยดาราศาสตร์ เป็นศูนย์บริการข้อมูล ฝึกอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีดาราศาสตร์ จัดกิจกรรมทางดาราศาสตร์ รวมถึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวิชาการที่สำคัญของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
8. ติดตั้งจานรับสัญญาณกล้องโทรทรรศน์วิทยุ ณ หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ
9. ปักหมุดหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบ แห่งที่ 4 ของไทย
10. การพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ "ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีดาราศาสตร์ขั้นสูง"
นอกจากภารกิจค้นคว้าวิจัย ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางดาราศาสตร์สู่ประชาชนแล้ว สดร. ยังให้ความสำคัญกับการออกแบบและสร้างอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการวิจัย และมุ่งใช้ดาราศาสตร์ เป็นส่วนสำคัญเพื่อพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาคน ยกระดับงานวิจัยและวิศวกรรม ให้สามารถเป็นผู้ออกแบบและสร้างอุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ระดับสูงด้วยตัวเอง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยี จากต่างประเทศ ความรู้ความเชี่ยวชาญที่เกิดขึ้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะงานด้านดาราศาสตร์เท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปต่อยอดประยุกต์ในสาขาอื่น ๆ ได้อีกด้วย
ปัจจุบัน สดร. มีห้องปฏิบัติการเทคโนโลยี ดาราศาสตร์ขั้นสูง 5 ด้าน ได้แก่
1) เทคโนโลยีทางทัศนศาสตร์และโฟโตนิกส์ (Optics and Photonics)
2) เทคโนโลยีด้านความถี่ในช่วงคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Technology)
3) เทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics)
4) เทคโนโลยีขึ้นรูปชิ้นงานความละเอียดสูง (High Precision Machining)
5) เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงและวิทยาศาสตร์ข้อมูล (High Performance Computing and Data Science)
ดร. ศรัณย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอเชิญชวนทุกท่านติดตาม 10 เรื่องดาราศาสตร์ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า และขอเชิญชวนทุกคนให้มาเยี่ยมชม เสริมสร้างแรงบันดาลใจทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เรียนรู้เรื่องราวดาราศาสตร์ ผ่านท้องฟ้าจำลอง นิทรรศการดาราศาสตร์ และหอดูดาวภายในอุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนกุมภาพันธ์ ปีหน้าด้วย
ข้อมูลและภาพจาก
สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page