นายกรัฐมนตรีรัสเซีย นำคณะรัฐบาลลาออกยกทีม เปิดทางวลาดีมีร์ ปูติน ปฏิรูปรัฐธรรมนูญ เพื่อให้อยู่ในอำนาจยาว ก่อนก้าวลงจากตำแหน่ง

ภาพจาก Mikhail Klimentyev / SPUTNIK / AFP

ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน พบนายกรัฐมนตรี ดมิทรี เมดเวเดฟ ในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563
ภาพจาก Alexey NIKOLSKY / Sputnik / AFP
วันที่ 15 มกราคม 2563 บีบีซี รายงานว่า คณะรัฐบาลรัสเซีย ประกาศลาออกจากตำแหน่ง เพียงไม่กี่ชั่วโมงภายหลังจากที่ วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวแถลงการณ์เกี่ยวกับข้อเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยหากข้อเสนอดังกล่าวได้รับการยอมรับจากการลงประชามติ จะเป็นการเปลี่ยนโอนอำนาจจากประธานาธิบดี เข้าสู่รัฐสภา
โดยหากการดำเนินการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามขั้นตอน จะมีผลให้ปูตินอยู่ในอำนาจได้ต่อไป จากเดิมที่มีกำหนดลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2567 เมื่อการครองตำแหน่ง 4 สมัยสิ้นสุดลง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปูตินจะสามารถหาบทบาทใหม่ หรือยึดครองอำนาจอยู่เบื้องหลังได้ต่อ
ภายหลังจากการกล่าวแถลงการณ์ปฏิรูปรัฐธรรมนูญของปูติน
ได้เกิดการเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิด นายดมิทรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีรัสเซีย
ประกาศจะนำคณะรัฐมนตรีลาออก
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
ขณะที่แหล่งข้อมูลของรัฐบาลรัสเซียรายหนึ่ง เผยกับบีบีซี ว่า
ทางรัฐมนตรีไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องการลาออกของรัฐบาล จนกระทั่งมีการประกาศ พร้อมระบุว่า มันเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจอย่างยิ่ง
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ได้รวมถึงการให้สภาดูมา (Duma) สภาล่างของสหพันธรัฐแห่งรัสเซีย เข้ามามีบทบาทความรับผิดชอบมากขึ้น ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสภาดูมา อนุมัติการตัดสินใจ
นอกจากนี้ ปูตินยังได้เสนอบทบาทที่เพิ่มขึ้นสำหรับหน่วยงานที่ปรึกษา ที่ใช้ชื่อเรียกว่า สภาแห่งรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีปูตินเป็นประธานสภา ประกอบด้วยหัวหน้าของแต่ละภูมิภาคในประเทศรัสเซีย โดย ปูติน กล่าวว่า การปฏิรูปดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าจะส่งให้การบริหารประเทศมีประสิทธิภาพสูง
อ่านข่าว : วลาดีมีร์ ปูติน ไม่กลัวหมดวาระ แย้มกำลังวางแผนอยู่ในอำนาจต่อไป แบบไม่มีสิ้นสุด

ภาพจาก Mikhail Klimentyev / SPUTNIK / AFP

ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน พบนายกรัฐมนตรี ดมิทรี เมดเวเดฟ ในกรุงมอสโก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563
ภาพจาก Alexey NIKOLSKY / Sputnik / AFP
โดยหากการดำเนินการปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จตามขั้นตอน จะมีผลให้ปูตินอยู่ในอำนาจได้ต่อไป จากเดิมที่มีกำหนดลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2567 เมื่อการครองตำแหน่ง 4 สมัยสิ้นสุดลง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า ปูตินจะสามารถหาบทบาทใหม่ หรือยึดครองอำนาจอยู่เบื้องหลังได้ต่อ
การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ ได้รวมถึงการให้สภาดูมา (Duma) สภาล่างของสหพันธรัฐแห่งรัสเซีย เข้ามามีบทบาทความรับผิดชอบมากขึ้น ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ซึ่งปัจจุบันประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และสภาดูมา อนุมัติการตัดสินใจ
นอกจากนี้ ปูตินยังได้เสนอบทบาทที่เพิ่มขึ้นสำหรับหน่วยงานที่ปรึกษา ที่ใช้ชื่อเรียกว่า สภาแห่งรัฐ ซึ่งปัจจุบันมีปูตินเป็นประธานสภา ประกอบด้วยหัวหน้าของแต่ละภูมิภาคในประเทศรัสเซีย โดย ปูติน กล่าวว่า การปฏิรูปดังกล่าวได้พิสูจน์แล้วว่าจะส่งให้การบริหารประเทศมีประสิทธิภาพสูง
อ่านข่าว : วลาดีมีร์ ปูติน ไม่กลัวหมดวาระ แย้มกำลังวางแผนอยู่ในอำนาจต่อไป แบบไม่มีสิ้นสุด