x close

เตรียมยกระดับ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย เพิ่มโทษทางกฎหมายช่วยควบคุมโรค

          สาธารณสุข เตรียมยกระดับ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย บังคับใช้กฎหมายช่วยควบคุม ป้องกันโรค ย้ำยังไม่มีนโยบายกักตัวหรือห้ามเดินทาง


ไวรัสโคโรนา
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 แนวหน้า รายงานว่า นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค พร้อมด้วยนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ว่า กรณีมีข้อกังวลของผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดของโรค ยืนยันว่าไม่มีนโยบายกักตัวหรือห้ามการเดินทางไปพื้นที่ซึ่งมีการระบาดของโรค แต่ยังคงเข้มงวดเรื่องการคัดกรองที่ด่านควบคุมโรค หากถูกพบว่ามีไข้ ไอ มีน้ำมูก หรือมีอาการเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังโรค ที่ด่านควบคุมโรคจะส่งตัวไปตรวจเพิ่มที่โรงพยาบาล ซึ่งขอแนะนำให้เฝ้าระวังสังเกตอาการตนเอง ถ้าป่วยมีไข้ ไอ มีน้ำมูก ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติการเดินทาง

          ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ นี้ จะมีการทำร่างประกาศเสนอต่อคณะกรรมการโรคติดต่อ ให้ประกาศว่า ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย จากนี้จะมีกฎหมายบังคับใช้ในกรณีที่มีผู้ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เช่น ที่สิงคโปร์ก็มีกฎหมายกำหนดให้พักในบ้าน 14 วัน กรณีกลับจากบางประเทศ โดยต้องเข้าสู่มาตรการควบคุมเฝ้าระวังเพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งหลายประเทศยกระดับความสำคัญของโรคนี้สูงกว่าระดับโรคติดต่อทั่วไปมาก่อนหน้าประเทศไทยแล้ว

          สถานการณ์ประเทศไทยวันนี้ (20 กุมภาพันธ์) มีผู้ป่วยคงที่จำนวน 35 ราย กลับบ้านแล้ว 17 ราย มีผู้ป่วยต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด 2 ราย ส่วนผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม - 19 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,052 ราย แยกเป็นคัดกรองจากสนามบิน 58 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 994 ราย และอนุญาตให้กลับบ้านได้แล้ว 861 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 191 ราย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
เตรียมยกระดับ โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย เพิ่มโทษทางกฎหมายช่วยควบคุมโรค อัปเดตล่าสุด 21 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 14:49:52 14,194 อ่าน
TOP