รุ้งกินน้ำเกิดจากอะไร ปรากฏการณ์ธรรมชาติแต้มสีสันบนท้องฟ้า
รุ้งกินน้ำเกิดจากอะไร เกิดในช่วงเวลาไหน และมีกี่สี กี่ประเภท มีประโยชน์อะไรบ้าง รวมทั้งมีความเชื่ออะไรบ้าง ถ้าหากอยากรู้ตามมาดูกันค่ะ
หลายคนอาจเคยเห็น
รุ้งกินน้ำบนท้องฟ้าแล้วอาจสงสัยว่า เส้นโค้งหลากสีแบบนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงเห็นหลายสี เกิดตอนไหนบ้าง เรามีคำตอบค่ะ
ที่มาของคำว่ารุ้งกินน้ำ
รุ้งกินน้ำ ภาษาอังกฤษเรียกว่า "Rainbow" ซึ่งมาจากคำย่อย 2 คำ คือ Rain + bow ซึ่งสื่อถึง “โค้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝน” และมาจากภาษาละตินคำว่า “arcus pluvius” ซึ่งแปลว่า “ฝนโค้ง” หรือ “ซุ้มประตูโค้งที่มีฝนตก”
รุ้งกินน้ำเกิดจากอะไรและมีกี่สี
การเกิดรุ้งกินน้ำเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติพบเห็นช่วงหลังฝนตกและมีแดดออก ทั้งนี้ยังเกิดขึ้นได้ในบริเวณน้ำตกหรือน้ำพุ โดยเกิดขึ้นจากแสงอาทิตย์ส่องผ่านละอองน้ำหรือหยดน้ำในอากาศ แล้วเกิดการหักเหขึ้นเข้าสู่แนวสายตาเป็นมุมประมาณ 40-42 องศา ทำให้เราเห็นแถบเส้นโค้งสีรุ้งขึ้นบนท้องฟ้า และแสงแต่ละสีจะหักเหไปด้วยมุมต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับความยาวคลื่น โดยที่แสงสีแดงมีความยาวคลื่นมากที่สุดแต่จะหักเหด้วยมุมน้อยที่สุด ขณะที่แสงสีม่วงมีความยาวคลื่นสั้นที่สุดจะหักเหมากที่สุด ทั้งนี้แสงสีแดงจะอยู่บนสุดและสีม่วงจะอยู่ล่างสุด โดยจะมีสีจากล่างขึ้นบนเรียงตามลำดับ คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง ซึ่งรุ้งกินน้ำจะอยู่ด้านตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ และอยู่ด้านเดียวกับละอองน้ำ (ละอองฝน) ดังนั้น เวลาจะมองหารุ้งกินน้ำให้หันหลังให้ดวงอาทิตย์เสมอ
รุ้งกินน้ำมีกี่ประเภท
รุ้งกินน้ำมี 2 ชนิดคือ รุ้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ คืออะไร
1. รุ้งปฐมภูมิ คือ รุ้งกินน้ำสีแดง ตัวแรกที่อยู่ด้านล่างสุด เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำทางด้านบน เกิดการหักเห 2 ครั้ง สะท้อนกลับหมด 1 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กัน
2. รุ้งทุติยภูมิ คือ รุ้งกินน้ำตัวที่สองจะอยู่ด้านบนสุดจะเรียงลำดับสีกลับกัน แถบสีม่วงอยู่บนสุด โดยรุ้งกินน้ำทุติยภูมิเกิดจากการหักเหแสงภายในหยดน้ำ 2 ครั้ง สะท้อนกลับหมด 2 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กัน
ประโยชน์ของรุ้งกินน้ำ
1. สามารถนำเรื่องการหักเหของแสงประยุกต์ใช้ประโยชน์กับใยแก้วนำแสง ไม่ว่าจะเป็นทางการสื่อสารโดยใช้ใยแก้วนำแสงในการส่งข้อมูล เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต หรือในทางการแพทย์ที่ใช้ใยแก้วส่องอวัยวะภายในของผู้ป่วย เป็นต้น
2. สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเครื่องมือวิเคราะห์ด้วยสเปกตรัมแทบทุกชนิด
เป็นอย่างไรบ้างคะกับปรากฏการณ์รุ้งกินน้ำ อาจคลายความสงสัยของเพื่อน ๆ ว่าทำไมเราถึงเห็นรุ้งกินน้ำมีหลายสี และมีลักษณะเป็นเส้นโค้ง รวมทั้งมีเรื่องน่ารู้อื่น ๆ อีกเพียบ เอาล่ะ… ถ้าใครอยากทักทายรุ้งกินน้ำ รอหลังฝนหยุดตกแล้วมองขึ้นไปบนท้องฟ้ากันนะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
ศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ และ
คลังความรู้ SciMath