เพจ Drama-addict สู้ไม่ถอยกรณี บอส อยู่วิทยา ตำรวจชี้พบ Benzoylecgonine กับ Cocaethylene จริง แต่อาจจะเกิดจากยาปฏิชีวนะ
ทำออนไลน์ลุกเป็นไฟ ถ้าเจอสารนี้คือมันตรวจระดับโมเลกุล
ไม่มีทางที่ผลจะออกมาเป็นอย่างอื่น
![วรยุทธ อยู่วิทยา วรยุทธ อยู่วิทยา](http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/settawoot/2020/new2020/aug2020/a3_1.jpg)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Vorayuth Yoovidhya
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 พล.ต.อ. ศตวรรษ หิรัญบูรณะ
ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการประชุมวันที่ 3
ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงคดีที่ นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส
อยู่วิทยา ขับรถชน ด.ต. วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิตเมื่อปี 2555 ว่า
ยืนยันว่าได้รับผลการตรวจเลือดของ บอส อยู่วิทยา เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม
2555 โดยแพทย์จากโรงพยาบาลรามาธิบดี และนิติเวช โรงพยาบาลตำรวจ
![วรยุทธ อยู่วิทยา วรยุทธ อยู่วิทยา](http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/settawoot/2020/new2020/aug2020/a2_2.jpg)
ภาพจาก สำนักข่าว INN
ตำรวจชี้ พบสารต้องสงสัย 2 ชนิด คล้ายโคเคน คาดอาจเป็นผลลวงที่เกิดจากยาปฏิชีวนะ
วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 พล.ต.อ. ศตวรรษ หิรัญบูรณะ ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดเผยถึงผลการประชุมวันที่ 3 ของคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงคดีที่ นายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือ บอส อยู่วิทยา ขับรถชน ด.ต. วิเชียร กลั่นประเสริฐ เสียชีวิตเมื่อปี 2555 ว่า พบสารในร่างกาย 4 ชนิด ได้แก่
1. อัลปราโซแลม หรือยานอนหลับ
2. คาเฟอีน เกิดจากการดื่มกาแฟ
3. Benzoylecgonine คือ สารที่เกิดจากการย่อยสลายโคเคน
4. Cocaethylene คือ สารที่เกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์
โดยตำรวจได้เรียกแพทย์ที่ทำการรักษาบอส อยู่วิทยา มาให้ข้อมูล ซึ่งแพทย์ยืนยันว่าได้ให้ยาบรรเทาอาการอักเสบ ไม่มีส่วนผสมของสารเสพติดกับบอส จากนั้นตำรวจได้นำผลการตรวจดังกล่าวไปสอบสวนแพทย์ทั้ง 2 โรงพยาบาลอีกครั้ง เพื่อยืนยันว่าเป็นสารเสพติดหรือไม่ ซึ่งแพทย์ให้ความเห็นว่าผลการตรวจดังกล่าวอาจเกิดจากยาปฏิชีวนะ ที่อาจส่งผลลวงต่อการตรวจหรือเป็นสารเสพติดจริง
เพจ Drama-addict ไม่ยอม บอกตรวจเจอโคเคนระดับโมเลกุล ไม่มีทางที่จะเป็นผลลวง
ด้านเพจ Drama-addict ได้ออกมาเผยว่า หากตรวจเจอสาร Benzoylecgonine คือ สารที่เกิดจากการย่อยสลายโคเคน ไม่มีทางที่ผลจะเป็นผลลวง หรือ False Positive ได้ เนื่องจาก Benzoylecgonine เป็นสารจำเพาะที่เกิดจากโคเคน และเทคนิคการตรวจด้วยการยืนยันอัตลักษณ์ GCMS เป็นการยืนยันถึงระดับโมเลกุล
ส่วนสาร Cocaethylene หรือสารที่เกิดจากการเสพโคเคนร่วมกับแอลกอฮอล์ และจะเจอสารนี้ที่ตับได้ ยิ่งเป็นการพิสูจน์ว่าเรื่องนี้ไม่มีทางเป็นอื่นใด นอกจากการเสพโคเคนในร่างกาย
![วรยุทธ อยู่วิทยา วรยุทธ อยู่วิทยา](http://hilight.kapook.com/img_cms2/user/settawoot/2020/new2020/aug2020/a1_2.jpg)
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Drama-addict
ด้าน ทันตแพทยสภา เผยว่า ในต่างประเทศก็เคยมีกรณีคล้าย ๆ กัน คือ ผู้ต้องหารายหนึ่ง ถูกตำรวจจับกุมและตรวจพบสารโคเคนในร่างกาย ผู้ต้องหาอ้างว่าเป็นลิโดเคน จากยาชาที่หมอฟันฉีดให้ นักวิทยาศาสตร์จึงได้ทำการวิจัยเพื่อหาข้อเท็จจริง พบว่าโครงสร้างของลิโดเคน แตกต่างจากโคเคนมาก และได้ตรวจหาสารโคเคนจากคนไข้ที่ได้รับยาชา ซึ่งไม่สามารถตรวจพบโคเคนในกระแสเลือดของคนไข้เลย
ด้านทันตแพทย์ผู้ที่ทำฟันให้บอส ได้ติดต่อมายัง ทพ.สัณห์ชัย จิรชาญชัย กรรมการทันตแพทยสภา โดยได้ให้ข้อมูลกับทันตแพทยสภา ว่าได้ทำฟันให้บอสวันที่ 29 สิงหาคม ก่อนเกิดเหตุ 5 วัน เป็นการรักษาเหงือก โดยมีการฉีดยาชาเมพิวาเคนให้ ซึ่งเป็นยาชากลุ่มเดียวกับลิโดเคน ร่วมกับจ่ายยาอะม็อกซีซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ให้เท่านั้น เบื้องต้น ทันตแพทย์ท่านนั้นแจ้งว่ายังไม่สะดวกเปิดเผยตัวตน แต่พร้อมเข้าพบ กมธ.กฎหมายฯ เพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
เพจ หมอยาเล่าเรื่อง Pharma-Story แปะแผนผังชัด ๆ เส้นทางการย่อยสลายของโคเคน ไม่มีทางเป็นยาปฏิชีวนะ
ด้าน เพจหมอยาเล่าเรื่อง Pharma-Story แปะแผนผังให้ดูแบบชัด ๆ ถึงเส้นทางการย่อยสลายของโคเคน ว่าหากเสพโดยสูดดม หรือเสพโดยการเผา จะย่อยสลายอย่างไร หรือถ้าหากเสพเข้าไปแล้ว ไปเจอกับสารอื่น ๆ ในร่างกาย จะออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งผลปรากฏว่าไม่มีทางที่ยาปฏิชีวนะอย่าง อะม็อกซีซิลลิน จะพบในเส้นทางการย่อยสลายของโคเคนได้